ในสังคมรอบตัวๆนักเรียนมีประเด็น
หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบหรือเกี่ยวข้อง
กับตัวเขา
โจทย์สำคัญที่ครูสอนศิลปะคือ
“จะทำอย่างไรให้นักเรียนสามารถมองเห็น
สืบเสาะ และแสดงออกทางความคิด ความรู้
เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านศิลปะได้?”
.
3 สิ่งที่ครูจำเป็นต้องส่งเสริมให้นักเรียนมีลักษณะคือ:
1.มุมมองทางสังคม มองเห็นและตั้งคำถามปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นรอบตัว
ทั้งในระดับเล็กจนถึงระดับสังคมโลกในมิติต่างๆ
เช่น เพศ ชนชั้น เชื้อชาติ สีผิว สิ่งแวดล้อม
ความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น
.
2.มุมมองความสร้างสรรค์ มองเห็นว่างานศิลปะ
ในรูปแบบต่างๆ มีวิธีคิดในการนำเสนอบอกเล่าอย่างไร แล้วส่งผลต่อความคิดและความรู้สึกของผู้ชม
ในแง่ใดบ้าง
.
3.ลงมือสร้างสรรค์ไอเดีย
สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะจากความคิด
ความรู้สึกต่อประเด็นปัญหาทางสังคมที่ตนรับรู้
ด้วยมุมมองสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีขึ้นกว่าเดิม
.
โดยทั้งหมดการเรียนรู้ต้องวางอยู่บนการมีพื้นที่ให้นักเรียนมีความปลอดภัย ได้จิตนาการ เกิดความสงสัย กล้าที่จะคิดต่อยอด หรือมองต่างออกไปจากเดิม
.
สืบเสาะประเด็นทางสังคม
ครูหยิบยกประเด็นทางสังคมมา 1 เหตุการณ์
(หรือนักเรียนเป็นคนเสนอขึ้นมา)
จากนั้นแลกเปลี่ยนถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
การเข้าถึงการรักษาพยาบาล เป็นต้น
.
ผ่าน 4 คำถามสำคัญ
สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องนักเรียนในแง่ไหนบ้าง
สาเหตุที่เกิดขึ้นมาจากจากอะไร
แล้วส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง เกิดขึ้น
แล้วเราจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ได้อย่างไร
.
ค้นหาไอเดีย
ครูอาจนำงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ
ที่แสดงออกถึงปัญหาทางสังคมต่างๆ
(หรือให้นักเรียนไปค้นคว้า) มาแสดงให้นักเรียนชม
จากนั้นแลกเปลี่ยนกัน ผ่านคำถาม
1) จากงานแต่ละชิ้นเห็นหรือรู้สึกอะไรบ้าง
2)ทำไมเขาถึงเลือกใช้วิธีการนำเสนอแบบนี้
3) งานแต่ละชิ้นกำลังสื่ออะไร
.
สร้างสรรค์ไอเดีย
โจทย์สำคัญคือว่าหากต้องถ่ายทอดสิ่งที่คิด
จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น
1) อะไรคือแนวคิดหลักที่ต้องการจะสื่อ
2) แล้ววิธีการหรือไอเดียแบบใดที่นักเรียนจะนำมาใช้
.
*ครูอาจช่วยแนะนำหรือสอนนักเรียน
เกี่ยวเทคนิควิธีการที่นักเรียนกำลังจะเลือกใช้
ลงมือสร้างสรรค์ ให้นักเรียนได้มีเวลาสร้างสรรค์
ผลงานของตัวเอง หลังจากเสร็จสิ้น อาจมีการนำมา
แลกเปลี่ยนระหว่างกัน
.
ครูนำงานศิลปะที่สะท้อนประเด็นปัญหาทางสังคม
มา 1 ชิ้นงาน จากนั้นพานักเรียนแลกเปลี่ยนผ่าน
2 ประเด็นหลัก ได้แก่
ถอดรหัสนัยะความหมาย เช่น ครูอาจเลือกภาพถ่าย street art ที่บอกเล่าความเหลื่อมล้ำ
ในสังคมเมือง มาชวนแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามเช่น
1) จากภาพเราเห็นและรู้สึกอย่างไรบ้าง
2) ภาพนี้เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของนักเรียน
ในแง่ใดบ้าง
3) อะไรเป็นสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นบ้าง
4) แล้วเราจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ได้อย่างไร
.
ถอดรหัสความคิดจากงานศิลปะ เช่น
1) องค์ประกอบหลักอะไรบ้าง ที่ทำให้ภาพนี้น่าสนใจ
2) ทำไมเขาเลือกใช้เทควิธีการแบบ street art
ในการนำเสนอ
3) ทำไมเขาถึงใช้………….. สื่อความหมายถึง
ความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น
ใช้งานศิลปะในการแลกเปลี่ยนถึง พฤติกรรม
คำพูด ระเบียบกฎหมาย ที่มีการคุกคาม กดขี่
หรือเลือกปฏิบัติต่อคนดำในอเมริกา ผ่านคำถามสำคัญ
.
ตัวอย่างคำถามเช่น
มีใครบ้างในงานชิ้นนี้
คิดดว่าน่าจะเกิดอะไรขึ้น
รู้สึกอย่างไรบ้าง
งานชิ้นนี้ต้องการสื่อถึงอะไร
คนในภาพคือใคร
.
ในภาพใช้องค์ประกอบหรือหลักการใด
ในการนำเสนอการกดขี่ แบ่งแยก
ใช้ภาพถ่ายเล่าเรื่อง
.
หลังจากนักเรียนได้เรียนรู้เรื่องความเหลื่อมล้ำ
และความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น ครูอาจให้โจทย์
สำรวจและบอกเล่าความเหลื่อมล้ำ
ที่เกิดขึ้นในสังคมของนักเรียน
.
ด้วยการใช้ภาพถ่ายเป็นตัวนำเสนอ
ก่อนที่จะไปสำรวจ ให้นักเรียนดูไอเดียภาพถ่าย
จากหลากหลายแบบ เพื่อให้นักเรียนมองเห็น
เทคนิควิธีการที่จะนำไปใช้
.
ดูเพิ่มเติมได้ที่:
จากห้องเรียนล้ำเส้นของครูพล https://web.facebook.com/Autthapon12/posts/2302143526532219
.
Human ร้าย Human, Human Wrong: ศิลปะที่สื่อสารความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม
https://web.facebook.com/HumanRightHumanWrong
.
Uninspired by current events
https://web.facebook.com/uninspiredbycurrentevents
.
Sa-ard สะอาด
การ์ตูนสะท้อนระบบการศึกษาและสังคม
https://web.facebook.com/saartanis
.
นอกจากนี้ โปสเตอร์ ภาพถ่าย
ภาพงานจัดแสดง ฉากหนังภาพยนตร์ ก็สามารถเป็นตัวเลือกที่ครูสามารถนำไปใช้ได้เช่นกัน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!