icon
giftClose
profile

Contemporary World Events

18091
ภาพประกอบไอเดีย Contemporary World Events

เรื่อง ความขัดแย้งและความร่วมมือในโลกร่วมสมัย รายวิชา ประวัติศาสตร์สากล ชั้น ม.6 โดย นายอภิสิทธิ์ เครือสา ครู โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี

จุดประสงค์ของกิจกรรมนี้ ด้วยความที่เป็นการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 จึงมีการปรับรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมทั้งกรอบเนื้อหาและเวลา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรม โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมครั้งนี้ ประการแรก กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมรวบยอดของเทอมปลายในรายวิชา ที่จะให้ผู้เรียนนำทักษะที่ได้รับการพัฒนาตลอดการเรียนในรายวิชามานำเสนอในรูปของผลการศึกษาค้นคว้า ประการที่สอง กิจกรรมนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กำหนดประเด็นในโลกร่วมสมัยที่ตนเองสนใจเพื่อให้ได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าอย่างลุ่มลึกและเข้าใจที่มาที่ไปของปัญหาอย่างแท้จริง และประการที่สาม กิจกรรมนี้ฝึกนักเรียนด้านกระบวนการทำงานโดยเฉพาะกระบวนการในการศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ

  1. เริ่มต้นในคาบแรก ครูผู้สอนอธิบายขอบเขตของงานให้ผู้เรียนทราบ โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5-6 คน จากนั้นให้กำหนดประเด็นที่จะทำการศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งและความร่วมมือในโลกร่วมสมัยซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามเย็นเป็นต้นมา โดยให้กำหนดหัวข้อตามกรอบความขัดแย้ง 4 ลักษณะ ได้แก่ 1.การเมือง 2.เศรษฐกิจ 3. สังคมและวัฒนธรรม และ 4.ชาติพันธุ์ จากนั้นผู้สอนมอบหมายให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อกำหนดหัวข้อในการศึกษา ซึ่งมีกรอบของคำถามที่จะนำไปสู่การกำหนดหัวข้อได้แก่ 1. ประเภทของหัวข้อที่ศึกษา 2. ประเด็นสำคัญที่สนใจศึกษา และ 3.ขอบเขตพื้นที่ศึกษา จากนั้นเมื่อได้หัวข้อและพูดคุยกับผู้สอนแล้วจึงเริ่มทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป
  2. ในคาบต่อมาจะเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการวางโครงร่างการศึกษา โดยผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะต้องเขียนโครร่าง (Outline) ของเรื่องที่จะศึกษา โดยมีหัวข้อหลักในการค้นคว้า ได้แก่ 1. สาเหตุ/ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ 2. ลักษณะสภาพการณ์หรือรายละเอียดของเหตุการณ์ 3. ผลกระทบของเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อโลก 4. แนวโน้มของสถานการณ์ในอนาคต และ 5. แนวทางการสร้างความร่วมมือและสันติภาพ จากนั้นผู้เรียนแต่ละกลุ่มเริ่มดำเนินการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และนำมาเขียนโครงร่างในการนำเสนอคร่าว ๆ ว่าจะนำเสนอในประเด็นใด อย่างไร โดยผู้สอนได้ทำการแยกห้อง Meet แต่ละกลุ่มและเข้าไปให้คำปรึกษา พูดคุย เสนอแนะแนวทางส่วนตัวกับแต่ละกลุ่มเพื่อให้การศึกษาตรงประเด็นตามเป้าหมายของการศึกษามากขึ้น *ในขั้นที่ 2 นี้ผู้สอนทิ้งระยะเวลาประมาณ 3-4 คาบ โดยให้เข้าชั้นเรียนและติดตามงานเป็นระยะเพื่อดูพัฒนาการและช่วยดูทิศทางการดำเเนินงานของนักเรียน เป็นการลดการทำงานนอกเวลาเรียนและจะทำให้นักเรียนทำงานได่ดียิ่งขึ้น
  3. ในคาบสุดท้ายจะเป็นขั้นตอนของการนำเสนอผลการศึกษา โดยผู้เรียนจะนำเสนอข้อมูล 2 ลักษณะ คือ 1.PowerPoint นำเสนอในชั้นเรียน และ Infographic สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 1 แผ่น สำหรับการจัดนิทรรศการความรู้ออนไลน์ ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้สอนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มได้มัโอกาสซักถาม ซึ่งผลการจัดกิจกรรมพบว่า นักเรียนสามารถนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ มีการเลือก ทำความเข้าใจ และสื่อสารในการนำเสนอได้อย่างดี

ผลการจัดกิจกรรมและการสอบถามพูดคุยกับนักเรียนในภาพรวมพบว่า ในส่วนของกระบวนการนักเรียนรู้สึกกังวลบ้างในขั้นของการศึกษาค้นคว้าเนื่องจากไม่ทราบทิศทางของการศึกษาในแต่ละเรื่อง แต่การที่ผู้สอนเข้าไปพูดคุยแบ่งแยกกลุ่ม (เพราะนักเรียนบางคนอาย ไม่กล้าพูดกับเพื่อนทั้งห้อง) ก็ช่วยให้การทำงานง่ายและมีทิศทางมากขึ้น รวมทั้งในการนำเสนอ ผู้เรียนรู้สึกว่าการที่ได้คลุกอยู่กับงาน ได้พูดคุย ได้ปรึกษา และฟังข้อเสนอหรือมุมมองใหม่ ๆ ที่กว้างออกไป ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมั่นใจและกล้าที่จะนำเสนอข้อมูลที่ตนได้รับมากขึ้น ในส่วนของเนื้อหาสาระรายวิชา ผู้เรียนได้ทราบและเข้าใจปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น ตลอดจนร่วมกันหาวิธีการรับมือ รักษาสันติภาพ และการสร้างความร่วมมือระหว่างในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและปฏิเสธไม่ได้ว่าส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกในในฐานะส่วนหนึ่งของโลก

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 46

ชื่อไฟล์​: messageImage_1633487318954.jpg

ดาวน์โหลดแล้ว 8 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(1)