icon
giftClose
profile

สอนวรรณคดีผ่านแว่นวิพากย์

12121
ภาพประกอบไอเดีย สอนวรรณคดีผ่านแว่นวิพากย์

สอนวรรณคดีอย่างไรที่ไม่ใช่แค่ให้นักเรียนจดจำเนื้อเรื่องได้ แต่ช่วยฝึกนักเรียนให้วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีได้อย่างสร้างสรรค์และเชื่อมโยงกับโลกแห่งความเป็นจริงได้ด้วย

วรรณคดีคงเป็นยาขมหม้อใหญ่สำหรับใครหลาย ๆ คนทั้งตัวครูและนักเรียน ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมาจากการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนต้องจดจำเนื้อหาเพื่อไปสอบทำให้นักเรียนหลายคนมองว่าวรรณคดีเป็นเรื่องไกลตัวและใช้ไม่ได้ในชีวิตจริง


จะดีกว่าหรือไม่อยากครูเปลี่ยนวิธีสอนวรรณคดีที่เน้นการจดจำเนื้อหามากมาย ให้กลายเป็นการย่อโลกจริงให้อยู่ในโลกวรรณคดี ให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ และสะท้อนคิดสู่ชีวิตของนักเรียน


ห้องเรียนเชิงวิพากย์ คือห้องเรียนที่ยอมรับความแตกต่างทางความคิด เชื่อมโยงชีวิตเข้าสู่เนื้อหา และพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียน ทุกคำตอบของนักเรียนจะไม่ถูกเพิกเฉย แต่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนที่ทำให้ทุกคำตอบมีความหมาย


ซึ่งครูสามารถสอนวรรณคดีเชิงวิพากย์ด้วยแนวคิด ดังนี้

  1. ครูเล่าเรื่องย่อของวรรณคดี เน้นเล่าและคอยเช็กอินความรู้สึกนักเรียน ถามตอบตลอดเรื่องเพื่อตรจสอบความเข้าใจของนักเรียน
  2. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าวรรณคดีที่ครูเล่ามีประเด็นใดที่นักเรียนสังเกตเห็นหรือจับใจความได้บ้าง เช่น
  3. ความรักของนางวันทองที่มีต่อลูก
  4. ความเสียสละของพระอภัยมณี
  5. ความทุกข์ของนางมัทนา
  6. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าเพราะอะไรนักเรียนถึงคิดว่าวรรณคดีที่ครูเล่ามีประเด็นตามที่นักเรียนกยตัวอย่างมา แล้วเป็นไปได้หรือไม่ที่ทุกคำตอบของทุกคนจะเป็นประเด็นสำคัญที่ปรากฏในเรื่อง (คำตอบไม่ตายตัว ขึ้นกับการให้เห็นผลของนักเรียน)
  7. นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5-6 คนร่วมกันตอบคำถามว่า ประเด็นดังกล่าวเกิดจากอะไร จะแก้ไขอย่างไร แล้วผลจะเป็นอย่างไร เช่น
  8. ความทุกข์ของนางมัทนาเกิดจาก...
  9. เราสามารถแก้ไขความทุกข์ของนางมัทนาได้ด้วยการ...
  10. แล้วนางมัทนาจะ....
  11. ครูอาจตั้งคำถามที่เชื่อมโยงกับชีวิตของนักเรียนมากขึ้น เช่น หากเพื่อนของนักเรียนต้องเจอเหตุการณ์เดียวกันกับนางมัทนานักเรียนจะจัดการปัญหานั้นอย่างไร เพราะอะไร
  12. เมื่อครบทุกคำถามหรือครบกำหนดเวลา ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอวากลุ่มของตนมีแนวทางหรือคำตอบอย่างไรบ้าง
  13. นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้และสะท้อนคิด โดยครูอาจใช้คำตอบเพื่อกระตุ้นจินตนาการของนักเรียน เช่น แล้วถ้าปัญหานั้นเกิดขึ้นกับตัวเองนักเรียนจะทำอย่างไรต่อไป


เพียงเท่านี้ห้องเรียนก็จะกลายเป็นห้องเรียนแห่งการถกถาม โดยครูสามารถนำกิจกรรมนี้ไปปรับใช้ได้กับวรรณคดีทุกเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกคิดและฝึกหาคำตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล ครูอาจปรับแนวทางเป็นการเขียนคำตอบลงในกระดาษ เขียนใส่ในสมุดหรือใบงานเพื่อประเมินการเขียนไปควบคู่กับการคิดได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามครูควรปลูกฝังการยอมรับความคิดของผู้อื่นให้แก่นักเรียนก่อนการทำกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกและไม่ตัดสินคำตอบของผู้อื่น

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(3)