๑ หลักการของรูปแบบ
รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้จะช่วยให้ครูได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถการพูดโน้มน้าวใจโดยใช้สินค้า (OTOP) ในท้องถิ่นเป็นฐานโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายมีความสามารถในการพูดโน้มน้าวใจโดยใช้สินค้า (OTOP) ในท้องถิ่นเป็นฐานสามารถนำความรู้ไปในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือผลงานสร้างสรรค์
๒ วัตถุประสงค์
รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถการพูดการโน้มน้าวใจโดยใช้สินค้า (OTOP) ในท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้ (I2CR Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ ๔ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้หลักการโน้มน้าวใจโดยใช้สินค้า (OTOP) ในท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้
๒. เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการการพูดการโน้มน้าวใจโดยใช้สินค้า (OTOP) ในท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้
๓ เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เนื้อหาในการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔- ๖
มาตรฐานการเรียนรู้
ตัวชี้วัด
เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1
ม.๔-๖ ท ๒.๑/๑ เขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ ภาษาเรียบเรียงถูกต้อง มีข้อมูล และสาระส าคัญชัดเจน
การเขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ- หลักการเขียนโน้มน้าว-กลวิธีการเขียนโน้มน้าวใจ
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท 3.1
ม.๔-๖ ท ๓.๑/๕พูดในโอกาสต่าง ๆ พูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ และเสนอแนวคิดใหม่ด้วยภาษาถูกต้อง
เหมาะสม
การพูดในโอกาสต่าง ๆ หลักการพูดโน้มน้าวใจเทคนิคการพูดโน้มน้าวใจ
ม.๔-๖ ท ๓.๑/๖ มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
มารยาทในการพูด
๔ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของรูปแบบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถการพูดการโน้มน้าวใจโดยใช้สินค้า (OTOP) ในท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้ (I2CR Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ ๔ ประกอบด้วยขั้นตอน ๔ ขั้น ซึ่งครูผู้สอนต้องสอนไปทีละขั้นตอนมีแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายละเอียดดังต่อไปนี้
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
บทบาทของครู
บทบทของนักเรียน
ขั้นที่ ๑.สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration : I )
ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่ใช้กระตุ้น ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนที่เกิดขึ้นด้วยกิจกรรม หรือสถานการณ์ที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมใน การปฏิบัติด้วยตนเองและได้เลือกตามความสนใจ
๑. ครูควรเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้นความสนใจ และสร้างแรงบันดาลใจด้วยการให้ค้นหาคลิปวีดิโอการพูดขายสินค้า หรือรีวิวสินค้าที่ตนเองชอบ บอกเหตุผล
๒. ครูให้นักเรียนช่วยกันแนะนำพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ที่ตนเองชื่นชอบ
๓. ครูใช้กรณีศึกษาพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ
๑. นักเรียนร่วมกิจกรรมตอบคำถามจากกรณีศึกษาและค้นหาคลิปการขายสินค้าออนไลน์ที่สร้างแรงบันดาลใจของตนเอง
๒. นักเรียนทำใบกิจกรรม พ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ในใจของฉัน
ขั้นที่ ๒ สืบค้นสร้างความรู้ (construct : C)
ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้สืบค้น วิเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ผ่านการจัดกิจกรรมกลุ่มโดยใช้แผนผังความคิดร่วมกันและนำเสนอความรู้แลกเปลี่ยนกับกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน
๑. ครูควรกระตุ้นใหนักเรียนได้ตั้งคำถาม เพื่อให้นักเรียนค้นหา ข้อมูลวิเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง
๒.ครูให้นักเรียนเล่าเรื่องจากการทำกิจกรรมพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ในใจของฉัน
๑.นักเรียนและกลุ่มช่วยกันสรุปองค์ความรู้จากใบกิจกรรมกิจกรรม พ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ในใจของฉัน
๒. นักเรียนนำเสนอองค์ความรู้ที่กลุ่มตนเองค้นพบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
ขั้นที่ ๓ สร้างสรรค์งาน (Creation : C)
ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้สร้างสรรค์ผลงาน ได้ฝึกวางแผนและลงมือปฏิบัติ ถ่ายคลิปวิดิโอและออกแบบโปสเตอร์เพื่อนำเสนอสินค้าในท้องถิ่น
๑. ครูควรให้คำแนะนำและให้กำลังใจนักเรียนระหว่างทำกิจกรรม
๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนได้ประเมินผลงานระหว่างทำงานและปรับปรุงแก้ไข
นักเรียนร่วมกันวางแผนสร้างสรรค์ผลงานของกลุ่ม
๒. นักเรียนประเมินผลงานของกลุ่มตนเองระหว่างร่วมกันทำงานเพื่อปรับปรุง
ขั้นที่ ๔ สะท้อนคิดและประเมินผล (Reflective and Evaluation : R )
ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนสะท้อนคิดและประเมินผลเป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้เล่าเรื่องประสบการณ์ และถอดบทเรียนจากการทำงาน สะท้อนผลการปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรค การแก้ปัญหา สรุปองค์ความรู้ใหม่ที่นักเรียนได้รับ และประเมินผลความสำเร็จของตนเอง
๑. ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ถ่ายทอดประสบการณ์จาการทำงานร่วมกับเพื่อน
๒. ครูกระตุ้นด้วยการตั้งคำถามความสำเร็จของผลงานเกิดจากปัจจัยใดบ้าง
๑.นักเรียนเขียนสะท้อนผลของตนเองผ่านคำถาม ๔ ข้อ คือI Like I learn I wish I wonder
๒.นักเรียนเล่าประสบการณ์การทำงานกลุ่มและผลการสะท้อนคิดให้เพื่อนฟัง
ข้อเสนอแนะ
๑. การนำกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปสร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ควรมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ บริบทของโรงเรียน และระดับชั้นของนักเรียน
๒. ก่อนเริ่มเข้าสู่บทเรียนใหม่แต่ละครั้ง ควรมีการทบทวนความรู้ กิจกรรม ผลการทำกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมา ก่อนเสมอ
๓. มีการเสริมแรงนักเรียนเป็นระยะ ด้วยการชื่นชม ให้กำลังใจ
๔. ไม่ควรเปรียบเทียบผลงานของนักเรียนกับเพื่อน แต่ครูควรชี้ให้เห็นครูค่าที่ทุกคนมีเท่ากัน แม้การแสดงผลงานและความสามารถจะต่างกัน
๕. การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลในการจัดกิจกรรมการเรียรู้ตามรู้ปแบบนี้ ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้งก่อนเรียน ระว่างเรียน และหลังเรียน ตามขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
วัตถุประสงค์การประเมิน
เครื่องมือ
การนำผลไปใช้
ก่อนเรียน
เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานเรื่องหลักการพูดโน้มน้าวใจ
แบบทดสอบ
เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการวิเคราะห์นักเรียนและส่งเสริมนักเรียนในการจัดกลุ่มในการจัดการเรียนรู้ในขั้นที่ ๒
ระหว่างเรียน
เพื่อประเมินพัฒนาการความสามารถในการพูดโน้มน้าวใจ
แบบประเมินความสามารถการพูดโน้มน้าวใจ
เพื่อวัดพัฒนาการเรียนรู้และได้สะท้อนผลการเรียนรู้ของตนเอง ด้วยแบบสะท้อนการเรียนรู้ (นักเรียนเขียนสะท้อนการเรียนรู้)
หลังเรียน
เพื่อวัดความรู้และความสามารถในการพูดโน้มน้าวใจ
แบบทดสอบ
แบบประเมินความสามารถการพูดโน้มน้าวใจ
เพื่อสรุปผลการเรียนรู้และแก้ไขนักเรียนที่ยังบกพร่อง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!