icon
giftClose
profile

ปัจจัยการผลิต (Scenario-based learning)

67224
ภาพประกอบไอเดีย ปัจจัยการผลิต (Scenario-based learning)

มารื้อถอนบทเรียนเศรษฐศาสตร์ไทยกัน ผ่าน 2 กิจกรรมดังนี้ 1 กิจกรรม ทรัพยากรประเทศของฉัน ,2 กิจกรรม ร้านเบเกอรี

รายวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้สอนในเรื่องปัจจัยการผลิตที่ส่งผลต่อสินค้าและบริการ ในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภคเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้างเป็นสำคัญ

.

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

1. นักเรียนสามารถสังเคราะห์ความหมายของปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างถูกต้อง

ด้านทักษะกระบวนการ (P)

2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์การใช้ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างสมเหตุสมผล

เจตคติ (A)

3. นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

.

เพื่อให้นักเรียนรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับทรัพยากรมากขึ้น นำไปสู่ปัญหาและการตั้งคำถาม

กิจกรรม ทรัพยากรประเทศของฉัน กับ ร้านเบเกอรี่ นำมาใช้สอนในเรื่อง ปัจจัยการผลิต โดยปกติทั่วไปแล้ว เราอาจจะเคยเรียนกันแค่ความหมายเบื้องต้น ของกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วย ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ ถ้าเรารู้จักแค่ความหมายของมันจะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับตัวผู้เรียนเลย ดังนั้น วันนี้ได้ลองนำกิจกรรมการสอน 2 กิจกรรมมา ฝากกัน คือ #1 กิจกรรม ทรัพยากรประเทศของฉัน #2 กิจกรรม ร้านเบเกอรี่

กิจกรรมที่ 1 ทรัพยากรประเทศของฉัน

ตารางที่ 1

ตารางที่ 2


เมื่อนักเรียนรับรู้ข้อมูลทั้งหมดแล้วให้ตอบคำถาม 2 ข้อต่อไปนี้

#1) ใช้ข้อมูลในตารางคำนวณว่ามีความต้องการขั้นพื้นฐานในประเทศนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะสนับสนุนการดำรงชีวิตของทุกครอบครัว ?

แน่นอนว่าวิธีทำง่ายๆเลย คือ เอาจำนวนครอบครัว 500 ครอบครัวมาหารกับจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ (ตารางที่ 1) แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาเทียบกับ (ตารางที่ 2) จำนวนความต้องการขั้นพื้นฐาน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วก็ทราบว่าทรัพยากรที่เพียงต่อความต้องการ คือ น้ำ เท่านั้นอย่างอื่นคือ ไม่เพียงพอต่อความต้องการนั่นแปลว่า มันขาดแคลน

#2) หากประชากรจำนวน 100 คน บนเกาะแห่งนี้มีรายได้สูงกว่าประชากรที่เหลือมาก จะเกิดอะไรขึ้น ?

ซึ่งในข้อนี้นักเรียนให้เหตุผลไว้ว่า คนที่มีรายได้สูงกว่าจะมีการดำรงชีวิตที่ดีกว่าคนที่มีรายได้น้อย, ได้สิทธิประโยชน์มากกว่าผู้อื่น, เกิดความไม่เท่าเทียมกันและอาจจะเกิดความขัดแย้ง, เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม, ต้องมีคนอดอยาก และเกิดความขาดแคลนเพิ่มขึ้น


ใช้ตึกสูงกับตึกต่ำมาเปรียบเทียบกัน ให้ตึกสูงเป็นความต้องการของผู้บริโภค ให้ตึกต่ำเป็นสินค้าและบริการ ความสูงที่ไม่เท่ากันระหว่างทั้งสองตึก คือ ความขาดแคลนนั่นเอง




ค่าเสียโอกาส ยกตัวอย่างผ่านการเลือกปลูกพืชเพื่อทำการค้าได้เพียง 1 อย่าง ต่อปี หากเลือกกล้วยมูลค่าสูงสุดที่เสีย ก็คือ แครอท หากเลือกแครอทมูลค่าสูงสุดที่เสียก็คือ แอปเปิ้ลนั่นเอง คุณครูสามารถยกตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น การเลือกทำงานระหว่าง บริษัท 2 บริษัท คือ บริษัท A กับ B บริษัท A เงินเดือน 20,000 บาท กับ บริษัท B เงินเดือน 25,000 บาท หรืออีก 1 ตัวอย่าง ก็คือ การเลือกระหว่างกินข้าวกับแฟน กับ อ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ หากเลือกอ่านหนังสือก็ไม่ได้ไปกินข้าวกับแฟนแต่ได้คะแนนสอบเพิ่มขึ้น หากเลือกไปกินไปข้าวกับแฟนก็ไม่ได้อ่านหนังสือสอบแถมได้คะแนนสอบน้อย เพราะฉะนั้นค่าเสียโอกาส คือ มูลค่าสูงสุดที่เราเลือกไม่ได้ อธิบายง่ายๆก็คือ การได้อย่างเสียอย่างนั่นเอง


หลังจากที่นักเรียนรู้จักกับคำว่าปัจจัยการผลิต ความขาดแคลน ค่าเสียโอกาสแล้ว ให้นักเรียนทำกิจกรรมร้านเบเกอรี่ต่อโดยศึกษาผ่านสถานการณ์ต่อไปนี้ :


เมื่อนักเรียนอ่านเนื้อเรื่องสถานการณ์แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถามต่อไปนี้ 3 คำถาม

#1) ยกตัวอย่างปัจจัยการผลิตทั้งสี่ประการที่นิกี้จะต้องใช้ในธุรกิจใหม่ของเธอ ?

คำตอบโดยทั่วไปนักเรียนจะตอบว่า ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ หากเป็นเช่นนี้ให้บอกกับนักเรียนอีกครั้งเพื่อเป็นการทบทวน

-ที่ดิน คือสิ่งที่นิกี้อาจจะมีอยู่หรือหาเช่าได้เพื่อเปิดร้านของตัวเอง

-แรงงาน นิกี้จะมีลูกจ้างเป็นของตัวเองก็ได้หรือไม่มีก็ได้

-ทุน ได้จากเงินเก็บตอนเป็นลูกจ้างกับเงินที่ปู่ของนิกี้มอบให้

-ผู้ประกอบการ ก็คือ ตัวนิกี้เอง

#2) “ค่าเสียโอกาส” สำหรับนิกี้ในการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองคืออะไร ?

คำตอบที่ได้: นิกี้จะไม่ได้ทำงานในร้านเบเกอรี่เดิมอีกต่อไป เพราะต้องลาออกมาเปิดกิจการใหม่เป็นของตัวเอง

#3) ธุรกิจของนิกี้ตอบสนอง “ความต้องการ” ของผู้บริโภคหรือ หรือไม่ จงพิจารณาแล้วตอบคำถามนี้ ?

คำตอบที่ได้: มีความต้องการ เพราะผู้คนมีความสนใจ, นิยมบริโภค ในการซื้อขนมเบเกอรี และนิกี้ก็จะเริ่มทำเค้กในโอกาสวันพิเศษต่างๆ รวมไปถึงร้านเบเกอรีมีไม่มาก รสชาติก็ต่างกัน และต้องใช้มือทำเป็นทำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะขนมเค้ก หรือคำตอบอื่นๆ เช่น อาจจะมีความเสี่ยงในการลงทุนเปิดธุรกิจใหม่ครั้งนี้


.

สรุป กิจกรรมในวันนี้กิจกรรมช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในความหมายของคำว่าปัจจัยการผลิต ความขาดแคลนของทรัพยากร ค่าเสียโอกาส มากขึ้นผ่านสถานการณ์จำลองที่ครูได้เลือกมา อีกทั้งยังสามารถนำปรับใช้ในชีวิตประจำวันหากนักเรียนต้องการมีกิจการเป็นของตนเองในอนาคต รวมทางเลือกในการบริหารพัฒนาประเทศหรือชุมชนของตนเอง

.

กิจกรรมนี้คุณครูจะให้นักเรียนทำเป็นกลุ่ม 4-5 คนเพื่อระดมความคิดกัน หรือ ทำเดี่ยวเป็นรายบุคคลก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบกิจกรรมชั้นเรียนของครูผู้สอนเอง สำหรับการวัดประเมินผลสามารถประเมินผลได้จากกิจกรรมที่ 2.1 ประกอบไปด้วย 2 กิจกรรมคือ กิจกรรม 2.1.1 เรื่อง ทรัพยากรประเทศของฉัน กับ กิจกรรม 2.2.2 เรื่อง ร้านเบเกอรี่

.

อ้างอิงจาก Cambridge IGCSE Business Studie

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 2

ชื่อไฟล์​: กิจกรรม 2.1 ปัจจัยการผลิต สินค้าและบริการ.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 88 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(26)
เก็บไว้อ่าน
(26)