icon
giftClose
profile

เรียนรู้จากเหตุการณ์ #น้ำมันรั่วมาบตาพุด For kids

21224
ภาพประกอบไอเดีย เรียนรู้จากเหตุการณ์ #น้ำมันรั่วมาบตาพุด For kids

เหตุการณ์ #น้ำมันรั่วมาบตาพุด สอนอะไรเด็กอนุบาลได้บ้าง ในฐานะพลเมืองคนนึง

เหตุการณ์ #น้ำมันรั่วมาบตาพุด ที่เป็นข่าวอันโด่งดังในช่วงเวลาที่ผ่านมา จัดกิจกรรมอะไรกับเด็กอนุบาลได้บ้าง เหตุการณ์ที่ดูไกลตัวเด็กมากๆและผลกระทบทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น บอกอะไรกับเด็กได้บ้าง ในฐานะพลเมืองคนนึง ที่มีส่วนในการรับผลกระทบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น


อันดับแรก #น้ำมันรั่วมาบตาพุด คืออะไร? เริ่มต้นที่การดูข่าวอัปเดตเหตุการณ์ล่าสุดของเหตุการณ์ และดูรูปภาพเหตุการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้น และเริ่มยิงคำถามว่า เด็กๆคิดว่า #น้ำมันรั่ว เกิดจากอะไร? จากท่อแตกบ้าง จากเรือทำหกบ้าง และในข่าวบอกว่าอะไรบ้าง? ข่าวบอกว่ารั่วจากท่อ และคำถามต่อไปเด็กๆคิดว่า มันอันตรายมั้ย? "อันตรายสิมีเต่าหงายท้อง" "อันตรายน้ำมันติดไฟได้"(คือเราเคยจัดกิจกรรมตอน #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ แล้วใช้น้ำมันจุดไฟ ไฟแรงมาก เด็กค่อนข้างติดตา แหะๆ) คำถามต่อมา แล้วเราจะทำยังไงได้บ้าง ? แล้วคือมีคนตอบว่าไม่ต้องใช้น้ำมันให้เดินมาโรงเรียน หนูรูกกกก คือเดินไม่ไหวววว สรุปได้ว่าสิ่งที่พอทำได้ตอนนี้ก็คือ ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมทางอื่น เช่น ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ และปิดท้ายลงการลองทดลองว่าน้ำผสมกับน้ำมันจะเป็นยังไง

เห็นเต่าหงายท้องถึงกับเศร้าเลย สงสารเต่าโดนน้ำมัน

ดูภาพเปรียบเทียบก่อนหลังน้ำมันรั่วแล้วถึงกับร้อง โหหห กันเลย ทะเลเปลี่ยนไปมากกก

ทดลองเติมน้ำมันลงไปในน้ำและสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


เรียนรู้เรื่อง น้ำมันรั่วคือไรไปแล้ว แล้วจะขจัดมันไปยัไงได้บ้าง ? จะกรองก็ไม่ได้ทะเลใหญ่มากกกก ตัวอย่างวิธีที่ทำได้ที่ยกตัวอย่างมาก็คือ 1. ช่วยกันตักออกให้ได้เยอะที่สุด 2. ใช้ทุ่นหรือเส้นใยนการดักจับ 3. ใช้กระบวการทางเคมี แต่พูดแค่นี้เด็กๆนึกภาพไม่ออกแน่นอน งั้นทดลองกันเลย แบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่ม 1 ใช้ช้อนตักน้ำมันออกให้ได้มากที่สุด กลุ่ม 2 ใช้สำลีดักจับน้ำมัน และกลุ่ม 3 ใช้กระบวนการทางเคมีคือสบู่ผสมลงไปแล้วช้อนมันออกมาก และสุดท้ายมาสรุปผลที่ได้กัน

กลุ่มที่ 1 ใช้ช้อนในการตักน้ำมันออกมา


กลุ่ม 2 ใช้เส้นใยสำลีในการซับน้ำมันออกมา


กลุ่มที่ 3 กระบวนการทางเคมีโดยใช้สบู่เป็น กระบวนการอิมัลซิไฟเออร์ที่ดูธรรมดาในวิทยาศาสตร์ ม.ต้น แต่สำหรับเด็กอนุบาลอันว้าววววว


สรุปผล ได้การเปรียบเทียบ น้ำจากกลุ่มต่างๆเทียบกับน้ำธรรมดาที่ไม่ได้ผสมน้ำมัน โดยจากภาพเรียงจาก กลุ่ม 3-1 และน้ำปกติขวาสุด เมื่อเทียบกันแล้วทุกวิธีก็ยังเหลือคราบน้ำมันให้เห็น และไม่ได้ขจัดได้ 100% สรุปได้ว่าทางที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรทำให้เกิดน้ำมันรั่วมาตั้งแต่แรก


แล้วผลกระทบที่น้ำมันรั่วมีต่อสัตว์มีมากขนาดไหน ? เป็นภาพที่น่าสะเทือนใจต่อเด็กๆมากกกก เพราะวัยนี้เขากำลังสนใจในธรรมชาติ พอมาเจอภาพก็ถึงกับเงียบซึมกันเลย และคำถามต่อมาคือ ถ้าเราโนน้ำมันเหมือนสัตว์เหล่านี้เราจะทำยังไง ? "ก็อาบน้ำไง" แล้วสัตว์อาบน้ำเองได้มั้ย? คำตอบคือไม่ หมาบ้านผม ผมเป็นคนอาบให้มัน ใช่ มันอาบเองไม่ได้ งั้นเราก็ต้องช่วยกันใช่มั้ย วันนี้ตั้งใจไว้ว่าอยากให้เด็กๆได้เล่น Sensory play เลยจำลองทะเลที่โดนน้ำมันและมีภารกิจให้ทุกคนช่วยเหล่าสัตว์ทะเลที่น่าสงสาร

สัตว์ทะเลที่น่าสงสารโดนน้ำมันกันหมดดดดดด


มีผู้ช่วยมาช่วยแล้วววววว

ทั้งได้อาบน้ำให้สัตว์ต่างๆ ทั้งได้เล่นน้ำกันด้วย

Sensory table เปิดม่านน้ำได้ด้วย ธรรมดาซะที่ไหนนนนน



คำถามที่เราค้างคำตอบมาตั้งแต่วันแรกของการเริ่มต้นกิจกรรมนี้คือ ทำไมน้ำมันถึงลอยเหนือน้ำ ? กิจกรรมนี้มีคำตอบจ้า การอธิบายเรื่องความหนาแน่นผ่านการทดลองนี้เลย วิธีการก็ไม่ยาก เตรียมของเหลว 3 ชนิด ได้แค่ น้ำธรรมดา น้ำมัน และน้ำเชื่อม เทใส่ภาชนะ ถ้าจะให้เห็นภาพชัดกว่านี้ควรผสมสีน้ำสักหน่อยนะคะ และเตรียมสิ่งของต่างๆ ยกตัวอย่าง ก้อนหิน ลูกปัด ลูกปิงปอง ไม่ต้องตามนี้เอาตามที่หาได้เลยค่ะ

เททุกอย่างลงในภาชนะค่ะ แล้วมันจะแยกชั้นตามความหนาแน่นไปเองงงง


ใส่สิ่งของต่างๆลงไปและสังเกตการลอยจม ลอยในชั้นไหน จมที่ชั้นไหน แยกกันไปตามความหนาแน่น

ชั้นน้ำกับน้ำเชื่อมค่อนข้างดูยาก ถ้าใครลองทำอย่าลืมผสมสีให้สีต่างกันสักหน่อยนะคะ


สรุปผลการทดลองร่วมกัน และวันนี้ได้คำศัพธืเข้าคลังเพิ่มอีก1คำ คือ คำว่า ความหนาแน่น


หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนนะคะ

#ครูนกยูงอินดอนทับช้างss4

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(1)
เก็บไว้อ่าน
(2)