วันนี้พวกเราช่วยรวบรวมข้อมูล
กระบวนการคัดเลือกครูในประเทศต่าง ๆ
แคนาดา ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย จีน สิงคโปร์
กว่าจะได้เป็นครูในประเทศเหล่านี้
จะต้องผ่านการทดสอบอะไรบ้าง!
.
จะเหมือนกับสิ่งที่ครูไทยจะต้องเจอหรือเปล่า
ลองตามไปดูกันเลย!!
.
การคัดเลือกครูของฟินแลนด์เริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกรับนักศึกษาเข้าสู่มหาวิทยาลัยครู โดยผู้สมัครในสาขาวิชาประถมศึกษาจะต้องผ่านการทำแบบทดสอบที่ชื่อว่า “VAKAVA” ซึ่งจะมีลักษณะของการทดสอบดังนี้
.
- เป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยบทความวิจัยประมาณ 5-8 บทความ
- ผู้สมัครจะต้องทำการวิเคราะห์และตีความบทความวิจัยนั้น
- ใช้เวลาในการทำข้อสอบทั้งหมด 3 ชั่วโมง
- ผู้สมัครสามารถอ่านและวิเคราะห์บทความวิจัยดังกล่าวก่อนเข้ารับการทดสอบเป็นเวลา 6 สัปดาห์
.
เนื่องจากฟินแลนด์เน้นการพัฒนาการศึกษาที่มีฐานจากงานวิจัย ทำให้การคัดเลือกนักศึกษาครูของประเทศฟินแลนด์เน้นไปที่การวิเคราะห์บทความวิจัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของระบบการศึกษา
.
แต่ถึงจะยากขนาดนี้ ในปี 2016 ยังมีผู้สมัครถึง 20,000 คน ทั้ง ๆ ที่มีตำแหน่งว่างสำหรับเข้าศึกษาต่อเพียง 4,000 คน มีผู้ที่ได้รับเข้าศึกษาต่อเพียงแค่ 1 ใน 5 เท่านั้นเอง!
ผู้เข้าสมัครจะต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองมีทักษะที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางการศึกษาของวิทยาลัยครู โดยมีการทดสอบเชิงวิชาการ
.
และมีการพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ในระหว่างการสัมภาษณ์ว่ามีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นครูหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น เรียงความแสดงทัศนคติต่อวิชาชีพ ประสบการณ์ทำงานร่วมกับเยาวชน หรือหลักฐานแสดงถึงประสบการณ์การสอน ผ่านแฟ้มสะสมผลงาน
.
น่าสนใจว่าแคนาดาใช้การประเมินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประเมินจากความสามารถทางวิชาการ และประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการเป็นครู
.
แต่ก็แอบสงสัยว่าถ้าต้องการหลักฐานที่แสดงถึงประสบการณ์สอน ผู้สมัครเขาจะไปหาจากที่ไหนกันนะ เพราะก็เพิ่งมาสมัครวิทยาลัยครูนี่หน่า (ฮา)
.
ผู้จะเข้าสู่สถาบันผลิตครูได้นั้นจะต้องมีทักษะการอ่านออกเขียนได้และการคำนวณสูงที่สุดร้อยละ 30 (ต้องเป็น top 30 เท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์ได้เรียน)
.
ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ในประเทศอื่น ๆ แล้ว ออสเตรเลียนับว่ามีระบบคัดเลือกครูที่ตึงเครียดน้อยที่สุด แต่ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป เริ่มมีความละเอียดละออในการคัดเลือกครูมากยิ่งขึ้น ด้วยการร่วมมือการของหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
.
นอกจากความสามารถทางวิชาการแล้ว ออสเตรเลียหันมาใส่ใจกับความมุ่งมั่นในการเป็นครู และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเป็นครูอีกด้วย เช่น การปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ความใจกว้าง หรือการกำหนดเป้าหมาย
.
แม้ว่าจะมีเกณฑ์ที่ซับซ้อยน้อยกว่าประเทศอื่น ออสเตรเลียก็ยังมีระบบคัดเลือกครูที่แบ่งออกได้อย่างชัดเจนเป็น 2 ส่วน คือ ความสามารถทางวิชาการ และคุณสมบัติที่สำคัญต่อการเป็นครู
.
แสดงให้เห็นว่าการเป็นครูไม่สามารถมีแค่ความสามารถทางวิชาการ หรือความมุ่งมั่นที่จะเป็นครูเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง (ต้องเก่งและมีคุณสมบัติครบถ้วน!)
.
เช่นเดียวกับฟินแลนด์ การคัดเลือกครูของสิงคโปร์เริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกรับนักศึกษาเข้าสู่มหาวิทยาลัยครู โดยจะมีขั้นตอนหลัก ๆ ทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่
.
ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกผู้สมัครจากความสามารถทางวิชาการ - มีความสามารถทางวิชาการสูง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาราชการ ซึ่งถูกใช้ในการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
ขั้นตอนที่ 2 ถูกสัมภาษณ์โดยกลุ่มผู้บริหารจากทางโรงเรียน - ค้นหาผู้ที่มีทักษะในการสื่อสารดี มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นครู และมีศักยภาพที่เพียงพอต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนในอนาคต
ขั้นตอนที่ 3 ทดลองปฏิบัติงานในโรงเรียน - ทดลองจัดการเรียนรู้ภายใต้คำแนะนำของครูพี่เลี้ยงที่มีความเชี่ยวชาญสูงเป็นระยะเวลาไม่กี่เดือนจนถึงหนึ่งปี โดยจะได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 4 เข้าสู่หลักสูตรครูพร้อมกับได้รับการประเมิน - เข้าสู่การศึกษาในหลักสูตรครู เมื่อผ่านการประเมินจากการทดลองปฏิบัติงานในโรงเรียน และได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่องจนจบหลักสูตร
.
จะเห็นได้ว่าการคัดเลือกครูในสิงคโปร์นั่นก็มีความเข้มข้นไม่แพ้กัน แต่จุดที่น่าสนใจนั้นคือการได้ทดลองปฏิบัติงานในโรงเรียนก่อนที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตรครูด้วยซ้ำ
.
แถมยังได้รับค่าตอบแทนในช่วงของการทดลองปฏิบัติงาน ได้ทั้งประสบการณ์และค่าตอบแทนที่เหมาะสม ถือว่าเป็นกระบวนการที่น่าสนใจไม่เบาเลยนะ!
.
การคัดเลือกครูของจีนมีความคล้ายคลึงกับไทยสูงมาก ทั้งการเรียนในวิทยาลัยครูเป็นเวลา 4 ปี ต้องมีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และต้องขอใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ออกโดยกระทรวงศึกษาธิการ จึงจะสามารถเข้าทำงานในโรงเรียนได้ (คุ้น ๆ ไหมนะ)
.
โดยการจะได้มาซึ่งใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษานั้นจะต้องผ่านการทดสอบทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 สอบข้อเขียน
เกี่ยวกับศาสตร์การจัดการเรียนรู้
ส่วนที่ 2 สอบสัมภาษณ์
สาธิตการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เห็นถึงทักษะการจัดการเรียนรู้ อาจมีตอบคำถามจากคณะกรรมการ
ส่วนที่ 3 สอบภาษาจีนกลาง
โดยสอบทั้งการพูดและการฟัง
.
สังเกตได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบคัดเลือกครูคล้ายกับประเทศของเรามาก ๆ โดยเริ่มคัดเลือกอย่างจริงจังหลังจากที่บุคคลนั้นได้สิ้นสุดการเรียนในวิทยาลัยครูแล้ว มีทั้งการสอบใบประกอบวิชาชีพ และมีระยะเวลาในการเรียนและฝึกประสบการณ์วิชาชีพคล้ายคลึงกับประเทศของเราเลย
.
การคัดเลือกครูของไทยจะเริ่มต้นหลังจากสิ้นสุดการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย (คณะครุศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์) โดยจะมีการจัดสอบในระบบเดียวกับระบบข้าราชการ เนื่องจากครูเป็นอาชีพที่อยู่ภายในรัฐราชการ โดยจะแบ่งการสอบออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ สอบภาค ก สอบภาค ข และสอบภาค ค
.
ภาค ก (ความรู้ความสามารถทั่วไป)
- ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะภาษาอังกฤษ
- ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
ภาค ข (มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ)
- ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน (วิชาเอก)
- ความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน
- ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
ภาค ค (การสัมภาษณ์และการสาธิตการสอน)
- คุณลักษณะส่วนบุคคล
- การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
- ความสามารถด้านการสอน
.
โดยการสอบภาค ก และภาค ข จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม (120 คะแนน) จึงจะมีสิทธิ์ในการสอบภาค ค ซึ่งจะต้องถูกสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการและสาธิตการสอนเพื่อประเมินศักยภาพ
.
นอกจากการคัดเลือกในลักษณะนี้แล้ว ยังมีการคัดเลือกอีกหลายรูปแบบ เช่น โครงการครูคืนถิ่น หรือครูในสาขาวิชาที่กำลังขาดแคลน ซึ่งก็จะมีลักษณะการสอบคัดเลือกที่แตกต่างกันออกไป
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย