inskru
gift-close

The blood typing game เกมหมู่เลือด

0
0
ภาพประกอบไอเดีย The blood typing game เกมหมู่เลือด

Educational game จากเว็บไซต์ Nobel prize ที่จะพานักเรียนไปเรียนรู้และเข้าใจการทดสอบหมู่เลือด ที่แม้จะเป็นการสอนออนไลน์ก็ปังได้ !!!

จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้การทำปฏิบัติการในบทเรียนของระบบร่างกาย เกิดขึ้นได้อย่างยากลำบาก ปฏิบัติการการทดสอบหมู่เลือด ก็เป็นอีกปฏิบัติการที่ได้รับผลกระทบ การแก้ไขด้วยคลิปวิดิโอก็ไม่สามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้ หรือหากจะให้ผู้สอนทดสอบเองก็ไม่เกิดความหลากหลายของหมู่เลือดและคงจะสอนได้เพียงไม่กี่ห้องเท่านั้น (จิ้มจนนิ้วพรุนไปหมด)

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาจึงเป็นที่มาของการนำ Educational game จากเว็บไซต์ educationalgames.nobelprize.org/educational มาใช้เป็นสื่อการสอนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการเล่นเกม โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับห้องเรียนและสนุกกับการเรียนรู้มากขึ้นกว่าการสอนบรรยายหรือเปิดคลิปวิดิโอ


ขั้นตอนการใช้เกมในห้องเรียน

  1. สอนเนื้อหาจากในบทเรียนเรื่องหมู่เลือด ABO และ Rh
  2. ทำการทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่อง Antigen และ Antibody ของแต่ละหมู่เลือด
  3. เริ่มกด Play จากลิงก์ educationalgames.nobelprize.org/educational/medicine/bloodtypinggame/gamev3/fullscreen.html
  4. นักเรียนช่วยกันตั้งชื่อให้กับคนไข้และนำเข็มฉีดยาเก็บตัวอย่างเลือด
  5. นักเรียนตั้งสมมติฐานหมู่เลือดก่อนทำการทดสอบหมู่เลือด
  6. กดคลิกหลอดทดลองเพื่ออธิบายถึง Antibody ในแต่ละหลอด
  7. นักเรียนเชื่อมโยงสมมติฐานที่ตั้งหมู่เลือดไว้ แล้วคาดเดาการตกตะกอนของเลือด ก่อนจะทำการหยดหลอดเลือดลงในหลอดทดลอง
  8. นักเรียนช่วยกันดูผลลัพท์จากการทดสอบจากนั้นจึงอธิบายถึง Antigen ที่ทราบจากการทดสอบ
  9. นักเรียนเลือกตอบว่าหมู่เลือดดังกล่าวคือหมู่เลือดใด
  10. หากนักเรียนตอบถูกก็จะสามารถไปสู่ขั้นตอนถัดไปได้ หากตอบผิดก็สามารถตอบใหม่จนกว่าจะถูกต้อง
  11. นักเรียนทำการเลือกถุงเลือดที่สามารถให้กับผู้ป่วยได้ (สามารถเลือกผิดได้แค่ 3 ครั้งเท่านั้น)
  12. หากทำการเลือกได้ถูกต้องก็จะถือว่าทำภารกิจได้สำเร็จ


จากผลตอบรับภายในห้องพบว่าการใช้เกมช่วยในการทำความเข้าใจสามารถทำให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับหลักการให้และรับหมู่เลือด ABO และ Rh ได้ดีมากขึ้น ทั้งนี้อาจต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้และรับเลือดหมู่ Rh ที่ผู้ป่วย Rh- สามารถรับเลือดจาก Rh+ ได้ 1 ครั้ง หากเกิดความจำเป็นเร่งด่วน แตกต่างจากภายในเกมที่ไม่อนุญาตให้ได้รับเลย

ข้อดีของการใช้เกมในครั้งนี้คือนักเรียนสามารถนำเกมไปใช้ในการทบทวนความรู้นอกห้องเรียนในเมื่อไหร่หรือกี่ครั้งก็ได้ โดยที่ผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยตลอดเวลา แต่มีบทบาทเพียงการตอบข้อสงสัยของนักเรียนเพิ่มเติมเท่านั้น

นอกจากเกม The blood typing game แล้วในเว็บไซต์ของ educationalgames.nobelprize.org/educational ก็มีอีกหลายเกมที่น่าสนใจและสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้ หากมีโอกาสจะนำมาเขียนนำเสนอให้กับคุณครูทุกท่านในครั้งต่อไป


การให้และรับเลือดจะกลายเป็นเรื่องง่าย ถ้าถูกอธิบายผ่านเกม

สมส่วน

ชีววิทยาเกมและกิจกรรมระบบหมุนเวียนเลือดเทคโนโลยีการสอนLearningArena

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
Somsuan
ขอให้คาบเรียนทุกคาบเป็นคาบเรียนที่มีความหมาย 💕

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

ไอเดียน่าอ่านต่อ