icon
giftClose
profile

ดุลสมการรีดอกซ์ ด้วยบอร์ดเกม (BOARD GAME) กันเถอะ!

57449
ภาพประกอบไอเดีย ดุลสมการรีดอกซ์ ด้วยบอร์ดเกม (BOARD GAME) กันเถอะ!

BALANCING REDOX EQUATION'S BOARD GAME เป็นบอร์ดเกม (BOARD GAME) รูปแบบออนไลน์ ในรายวิชาเคมี เรื่อง การดุลสมการรีดอกซ์ (Balancing Redox Equation) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสอนแบบ Games-Based Learning เพื่อสร้างองค์ความรู้และความสนุกสนานในชั้นเรียนออนไลน์ไปพร้อม ๆ กัน

Balancing Redox Equation’s Board Game เป็นบอร์ดเกม (Board Game) รูปแบบออนไลน์ ที่ได้สร้างขึ้นในการสอนรายวิชาเคมี เรื่อง การดุลสมการรีดอกซ์ (Balancing Redox Equation) เพราะเนื่องจากจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน เป็นการเรียนออนไลน์ ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถพบปะกันได้ จึงได้คิดบอร์ดเกมชิ้นนี้ขึ้นมา เพื่อสร้างความสนุกสนานและสร้างความรู้ไปพร้อม ๆ กันด้วย


โดยในเล่นบอร์ดเกมออนไลน์นี้สามารถนำไปใช้ในการสร้างความสนใจหรือนำไปขยายความรู้หลังเรียนเนื้อหาจบ


องค์ประกอบของบอร์ดเกม

  1. การ์ด (CARDS) จะมี 20 ใบ โดยจะแสดงสัญลักษณ์ของธาตุ 4 ชนิดที่แตกต่างกัน คือ การ์ด Al, การ์ด Cu, การ์ด Zn และการ์ด Ag ซึ่งการ์ดแต่ละธาตุนั้น จะมีรูปร่างของ BLOCK ที่แตกต่างกัน 5 ใบ บนการ์ดทุกใบจะแสดงปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชันและค่าศักย์ไฟฟ้ามาตฐานของครึ่งเซลล์รีดักชัน (E0) (การ์ด : wordwall.net/th/resource/62027345)
  2. ตารางเกมกระดาน (GAME’S TABLE) เป็นตารางขนาด 8X8 ซึ่งภายในตาราง จะมีสัญลักษณ์ 2 แบบ คือ 1. ธงสีส้ม และ 2. หลอดไฟ
  3. ตารางบันทึกคะแนน (SCORE’S TABLE) จะใช้ในการบันทึกคะแนนในการเล่นแต่ละรอบ



วิธีการเล่น

  1. ในการเล่น BALANCING REDOX EQUATION BOARD GAME จะทำเล่นเกม 2 รอบ โดยแต่ละรอบจะต้องเลือกการ์ด เพื่อวาง BLOCK ลงในกระดาน 5 ครั้ง
  2. ในการเลือกการ์ดในแต่ละครั้งนั้น จะมีการ์ด 3 ใบ ผู้เล่นจะต้องเลือก 1 ใบ เพื่อวาง BLOCK ลงในกระดาน
  3. การวาง BLOCK ลงในกระดาน เมื่อเริ่มเกมจะต้องวางทับช่องธงสีส้ม อย่างน้อย 1 ช่องบนกระดาน
  4. การวาง BLOCK ลงบนกระดานนั้น สามารถพลิกรูปร่างของ BLOCK จากการ์ดได้ แต่ไม่สามารถแยกรูปร่างของ BLOCK ออกจากกันได้
  5. การวาง BLOCK ตัวต่อไป จะต้องวางให้ต่อกับ BLOCK ที่ได้เคยวางก่อนหน้าเท่านั้น
  6. เมื่อทำการเลือกการ์ดและวาง BLOCK ในรอบที่ 1 ครบ 5 ครั้งแล้ว จะทำการนับคะแนนรอบที่ 1 โดยการนับคะแนนจะไม่สามารถนำ BLOCK ที่ทำการคิดคะแนน มาคิดคะแนนอีกรอบได้ (ดูวิธีการนับคะแนน)
  7. เมื่อการนับคะแนนรอบที่ 1 เสร็จสิ้น จะเริ่มการเล่นรอบที่ 2 การเลือกการ์ดและการวาง BLOCK ตัวต่อไป จะต้องวางให้ต่อกับ BLOCK ที่ได้เคยวางก่อนหน้าเช่นเดียวกับการเล่นรอบที่ 1
  8. เมื่อทำการเลือกการ์ดและวาง BLOCK ในรอบที่ 2 ครบ 5 ครั้งแล้ว จะทำการนับคะแนนรอบที่ 2 โดยการนับคะแนนจะไม่สามารถนำ BLOCK ที่คิดคะแนนในรอบที่ 1 แล้ว มาคิดในรอบที่ 2 ต่อได้ (ดูวิธีการนับคะแนน)
  9. เมื่อจบการนับคะแนนในรอบที่ 2 แล้ว หากสามารถวาง BLOCK ล้อมหลอดไฟในลักษณะทิศทางบน ล่าง ซ้าย ขวา จะได้คะแนนโบนัส หลอดไฟละ 5 คะแนน **สามารถล้อมหลอดไฟด้วย BLOCK ของธาตุใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นธาตุชนิดเดียวกัน
  10. ผู้เล่นคนใดที่สามารถทำคะแนนรวมได้สูงที่สุด จะเป็นผู้ชนะ


วิธีการนับคะแนน

  1. ถ้าสามารถจับกลุ่ม Al 2 BLOCKS และ Zn 3 BLOCKS ที่ติดกันได้ จะได้ 6 คะแนน
  2. ถ้าสามารถจับกลุ่ม Al 2 BLOCKS และ Cu 3 BLOCKS ที่ติดกันได้ จะได้ 6 คะแนน
  3. ถ้าสามารถจับกลุ่ม Al 1 BLOCK และ Ag 3 BLOCKS ที่ติดกันได้ จะได้ 3 คะแนน
  4. ถ้าสามารถจับกลุ่ม Zn 1 BLOCK และ Cu 1 BLOCK ที่ติดกันได้ จะได้ 2 คะแนน
  5. ถ้าสามารถจับกลุ่ม Zn 1 BLOCK และ Ag 2 BLOCKS ที่ติดกันได้ จะได้ 2 คะแนน
  6. ถ้าสามารถจับกลุ่ม Zn 1 BLOCK และ Ag 2 BLOCKS ที่ติดกันได้ จะได้ 2 คะแนน
  7. หากสามารถวาง BLOCK ล้อมหลอดไฟในลักษณะทิศทางบน ล่าง ซ้าย ขวา จะได้คะแนนโบนัส หลอดไฟละ 5 คะแนน

โดยการนับคะแนนจะต้องเรียงการนับคะแนนตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 6 ส่วนข้อที่ 7 จะนับเมื่อทำการนับคะแนนในรอบที่ 2 เสร็จแล้ว



เมื่อจบเกมแล้ว ครูผู้สอนอาจจะให้นักเรียน uplode ตารางเกมกระดานลงใน padlet แล้วให้นักเรียนร่วมกันพูดคุยในการได้คะแนนจากการเล่นของตัวเอง ว่ามีหลักการวางหรือมีเทคนิคอย่างไร พร้อมทั้งเชื่อมโยงความรู้จากการทำกิจกรรมกับการเรียน เรื่อง การดุลสมการรีดอกซ์ (Balancing Redox Equation) ต่อไป



ผลหลังจากการเรียนโดยใช้บอร์ดเกม (Board Game) รูปแบบออนไลน์ เรื่อง การดุลสมการรีดอกซ์ (Balancing Redox Equation)



การเล่นบอร์ดเกมนั้น จะทำให้ครูผู้สอนและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และสร้างความสนุกสนานให้ห้องเรียนออนไลน์มีสีสันมากยิ่งขึ้น


หากคุณครูท่านใดสนใจ สามารถ inbox สอบถามกันได้นะครับ

Facebook : ภานุสรณ์ คีรีเพ็ชร์


การเรียนวิชาเคมีนั้นจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป มาลองแชร์ประสบการณ์ไปด้วยกันนะ


ขอบคุณครับ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: BOARD GAME'S TABLE.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 121 ครั้ง


แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(21)
เก็บไว้อ่าน
(16)