icon
giftClose
profile

เรียนรู้ SOGIESC ลด Bully สุขาต้องเป็นสุข

18672
ภาพประกอบไอเดีย เรียนรู้ SOGIESC ลด Bully สุขาต้องเป็นสุข

เจอเด้อละเอียดอ่อนแต่ไม่ซับซ้อนเกินจะเข้าใจ! กิจกรรมเรียนรู้ความหลากหลายทางเพศเพื่อทำความเข้าใจและลดการกลั่นแกล้งรังแกผ่าน Hand (ร่างกาย) Heart (อารมณ์) และHead (ความคิด) จากในห้องน้ำ อืมมม ใช่ จากในห้องน้ำ :)

การบูลลี่ด้วยเหตุแห่งเพศพบได้ตั้งแต่ในวัยอนุบาลไปจนจนถึงวัยมหาลัยต้นเหตุจริง ๆ คืออะไรกันแน่?


ครูมะปรางมองว่าการที่เด็กกลั่นแกล้งหรือล้อเลียนกัน ไม่ว่าจะในสังคมออฟไลน์หรือออนไลน์ เกิดขึ้นเพราะในสังคมไทยไม่ได้ให้คุณค่ากับความหลากหลายและมองว่าความแตกต่างคือความแปลกแยก ถ้าเราสามารถทำให้เขาเข้าใจได้ว่าความแตกต่างคือธรรมชาติของมนุษย์ ก็จะช่วยลดการเกิดพฤติกรรมที่เป็นการรังแกกันในกลุ่มเด็กๆ ได้ และสิ่งสำคัญการที่จะหยุดและไม่ส่งต่อความรุนแรงนี้ต้องให้เด็ก ๆ เข้าใจรูปแบบการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมเพื่อหยุดความรุนแรงที่เกิดขึ้นรอบตัวเขาได้


กิจกรรมนี้มีกิจกรรมย่อยที่ใช้เวลากิจกรรมละ 1 ชั่วโมง สามารถแบ่งทำกิจกรรมได้ทีละกิจกรรมต่อเนื่องกันไปเป็นลำดับ


กิจกรรมขั้นกระตุ้นความสนใจ “ณ ห้องน้ำแห่งหนึ่ง”



คุณครูชวนนักเรียนคิด


"นักเรียนคิดว่าการแบ่งห้องน้ำตามอวัยวะเพศของผู้ชายงานช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้จริงหรือ?"

"นักเรียนคิดว่าห้องน้ำสาธารณะในปัจจุบันมีความเท่าเทียมทางเพศหรือไม่? เพราะเหตุใด?"

"ห้องน้ำที่ดีควรเป็นอย่างไร?"

"เราจะออกแบบห้องน้ำสาธารณะให้ทุกเพศใช้งานได้อย่างได้เท่าเทียมได้อย่างไร?"




ก่อนจะตอบคำถามคุณครูชวนนักเรียนทุกคนไปเรียนรู้ความหลากหลายทางเพศเพื่อความเข้าใจในการออกแบบพื้นที่สาธารณะให้มีความเท่าเทียมด้วยโมเดล SOGIESC ที่จะช่วยอธิบายความละเอียดอ่อนของ Gender หรือ เพศสภาวะ ที่มีมากกว่าชายหญิง ผ่านแต่ละตัวอักษร


SO : sexual orientation เราดึงดูดกับเพศอะไร?

GI : gender identity เพศไหนที่เราคิดใช่ตัวเรามากที่สุด?

(G)E : gender expression เราอยากแสดงออกทางเพศแบบไหน?

SC : sex characteristics เพศที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดมีลักษณะอย่างไร?




กิจกรรมการเรียนรู้


กิจกรรมที่ 1 รู้จัก SO (อ่านว่า โซ)

จุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหลากหลายของรสนิยมทางเพศ

สื่อการเรียนรู้ / อุปกรณ์ 

  • รูปครอบครัวเพศหลากหลาย
  • โปสเตอร์สเปกตรัม
  • โพสอิส


คุณครูชวนดูรูปครอบครัวเพศหลากหลาย






คุณครูชวนคิดว่า

นักเรียนเคยพบคู่รักหรือครอบครัวที่ไม่ใช่คู่รักแบบชายหญิงหรือไม่ในหนังสือ ในทีวี ในภาพยนตร์?

นักเรียนคิดว่ารสนิยมทางเพศที่หลากหลายเกิดขึ้นเมื่อไร?


เด็ก ๆ อาจจะตอบว่าเมื่อ 10 ปี หรือ 100 ปี ให้คุณครูนำภาพหลักฐานขึ้นโชว์ที่ละภาพ


ย้อนกลับไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ปรากฏภาพการเล่นเพื่อนของคู่รักหญิงรักหญิง


ย้อนกลับไปเมื่อพันกว่าปีที่แล้ว โครงกระดูกอยู่ในท่านอนจับมือกัน


จากนั้นชวนนักเรียนเรียนรู้ความหลากหลายของรสนิยมทางเพศด้วยโปสเตอร์สเปกตรัม


ให้เด็ก ๆ สังเกตแกนแนวแนวและความเข้มของสี สังเกตแกนแนวตั้งและความเข้มของสี

จากนั้นให้เด็ก ๆ ร่วมแสดงความคิดเห็นว่ารู้จักคำเรียกชื่อผู้ที่มีรสนิยมทางเพศในสเปกตรัมต่าง ๆ หรือไม่

จากนั้นให้เด็ก ๆ หมุนวงล้อชื่อรสนิยมทางเพศ เมื่อได้ตรงกับเพศไหนคุณครูต้องอธิบายรสนิยมทางเพศนั้น ๆ แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์และนำชื่อไปติดบนโปสเตอร์สเปกตรัม




คุณครูต้องสื่อสารกับนักเรียนว่า ที่ว่างบนโปสเตอร์คือพื้นที่สำหรับความเป็นไปได้ในอนาคตที่อาจจะมีนิยามรสนิยมทางเพศใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาก็ได้



กิจกรรมที่ 2 รู้จัก GI (อ่านว่า กี้)

จุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหลากหลายของอัตลักษณ์ทางเพศ

อุปกรณ์/สื่อการสอน

  1. โปสเตอร์สเปกตรัม
  2. นิทานเรื่อง RED crayon youtube.com/watch?v=-RvZsH1kCcw


ครูชวนนักเรียนอ่านนิทานเรื่อง RED crayon

**เรื่องย่อ RED crayon เล่าถึงสีเทียนสีฟ้าที่ถูกหุ้มด้วยปลอกสีแดง ทุกคนคิดว่ามันเป็นสีแดงเพราะปลอกของมัน เมื่อต้องทำหน้าที่สีแดงมันก็ทำไม่ได้ จากสตรอเบอรี่สีแดงกลายเป็นสีฟ้า ทุกอย่างที่สีเทียนแท่งนี้ระบายกลายเป็นสีฟ้าทั้งหมด แตงโมสีฟ้า เลือดสีฟ้า มดแดงสีฟ้า ไฟจราจรสีฟ้า มันถูกกดดันจากพ่อแม่ คุณครู เพื่อน รุ่นพี่ ให้เป็นสีแดง ทุกคนพยายามเปลี่ยนมันด้วยวิธีต่าง ๆ สุดท้ายสีเทียนแท่งนี้ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นสีฟ้าและเปลี่ยนปลอกสีใหม่ มันได้ระบายสีท้องฟ้าให้เป็นสีฟ้า ระบายทะเลให้เป็นสีฟ้า ระบายยีนส์ให้เป็นสีฟ้า ระบายบลูเบอรี่ให้เป็นสีฟ้าอย่างมีความสุข

คุณครูตั้งคำถามชวนคิด

นักเรียนคิดว่าสีเทียนที่มีสีแท้จริงไม่ตรงกับปลอกรู้สึกอย่างไร ?

หากเปรียบเทียบ ปลอกสีเทียนเป็นร่างกาย(การแสดงออก พฤติกรรม) สีที่แท้จริงเป็นอัตลักษณ์ทางเพศ นักเรียนมีปลอกและสีตรงกันหรือไม่?

นักเรียนเคยพบเจอหรือรู้จักคนที่ปลอกสีกับสีที่แท้จริงไม่ตรงกันหรือไม่ ลองยกตัวอย่างให้ฟังหน่อย?

หากนักเรียนเป็นสีเทียนและได้ปลอกสีไม่ตรงกับสีที่แท้จริง นักเรียนอยากบอกอะไรกับคนรอบข้าง?

สีที่ต้องการเปลี่ยนปลอกให้ตรงกับสีที่แท้จริงมีชื่อเรียกว่าอะไร? (เฉลย : คนข้ามเพศ หรือ trans)




คุณครูชวนนักเรียนดูโปสเตอร์และช่วยกันเขียนสีเทียนที่หลากหลายลงไป



กิจกรรมที่ 3 รู้จัก GE (อ่านว่า กี้)

จุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหลากหลายและลื่นไหลของการแสดงออกทางเพศ

สื่อการเรียนรู้ / อุปกรณ์ 

  • วีดิโอ
  • โพสอิท

คุณครูชวนเล่มเกม "ฉันคือใคร" ให้นักเรียน


บอกอาชีพสำหรับเพศหญิงและอาชีพสำหรับเพศชาย (วิศวกร ครู พยาบาล เชฟ ทหาร นักบินอวกาศ เจ้าของบริษัท นักกีฬา) จากนั้นให้นักเรียนดูคลิป สิบล้อ คอกระเช้า youtube.com/watch?v=fE8Ug8WbofI


บอกคุณสมบัติหรือพฤติกรรมของผู้หญิงและคุณสมบัติของผู้ชาย (เข้มแข็ง ร้องไห้ อ่อนแอ ทาลิปสติก อดทน

มีความเป็นผู้นำ อ่อนไหว ทาเล็บ อ่อนหวาน แข็งแรง เก่งกีฬา เก่งเทคโนโลยี เก่งคณิต เก่งภาษา รักความสะอาด พูดเพราะ ใช้แรง) จากนั้นให้นักเรียนดูคลิป Meet the 12-year-old gender creative inspiring other children to embrace themselves! youtube.com/watch?v=0G_akco4DmU


คุณครูชวนพูดคุย

"การที่สังคมกำหนดให้บางเพศไม่ควรร้องไห้เป็นเรื่องที่ยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด"

"การให้แค่เพศเดียวผู้นำเป็นเรื่องยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด"

"หากโลกนี้ไม่มีกรอบการแสดงออกทางเพศนักเรียนอยากลองทำอะไรที่ท้าทายมากที่สุด เพราะอะไร?"

ให้นักเรียนวาดภาพตัวเองหรือเขียนบันทึกไว้



กิจกรรมที่ 4 รู้จัก SC (อ่านว่า เอสซี)

จุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหลากหลายของเพศทางกายภาพ

สื่อการเรียนรู้ รูปอวัยวะเพศหลากหลายและโปสเตอร์สเปกตรัม บัตรคำ


คุณครูชวนคิดด้วยคำถาม “ชายจริงหญิงแท้มีแน่หรือ!?

นักเรียนบางส่วนอาจจะบอกว่าจริง บางคนอาจจะบอกว่าไม่จริง และถามเหตุผลว่าทำไม เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนกัน จากนั้นให้นักเรียนทั้งหมดหลับตาแล้วยกมือ (คุณครูเขียนจำนวนโหวตไว้บนกระดาน) จากนั้น ให้คุณครูแจกรูปอวัยวะเพศให้นักเรียนแต่ละคนและให้ดูคนส่วนตัว ห้ามแบ่งเพื่อนดู! และคุณครูต้องแจ้งนักเรียนว่านี่คือภาพวาดที่วาดจากอวัยวะของจริงไม่ใช่จินตนาการ

 

 ให้เวลานักเรียนดูภาพอวัยวะเพศประมาณ 5 นาทีแล้วคุณครูจึงนำโปสเตอร์สเปกตรัมขึ้นให้นักเรียนเห็นได้ชัด


นักเรียนให้นักเรียนตัดรูปอวัยวะเพศออกเป็นแต่ละรูปแล้วช่วยกันนำไปติดลงบริเวณโปสเตอร์สเปกตรัมที่สอดคล้องกับหน้าตาและชื่อเรียก โดยมุมซ้ายสีฟ้าล่างขึ้นบนติดรูปที่หน้าตาเป็นองคชาตมากที่สุด มุมขวาสีชมพูบนลงล่างติดรูปที่หน้าตาเป็นโยนีมากที่สุด ส่วนที่เหลือให้นักเรียนพิจารณาบริเวณที่จะติดจากการผสมผสานกันของทั้งสองอวัยวะเพศ

 ช่วงนี้ครูต้องเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ อธิบายรูปตามความเข้าใจของตนเองและชวนกันตั้งชื่ออวัยวะเพศที่ยังไม่มีชื่อเรียก คำที่นักเรียนตั้งตามความเข้าใจของตนเองถ้านักเรียนเช่น องคนี โยคชาต ชาตนี องคโย และชวนกันสะท้อนคิดว่ากิจกรรมนี้ท้าทายความเชื่อเดิมของนักเรียนอย่างไรบ้าง และอย่าลืมอธิบายให้นักเรียนฟังว่าพื้นที่ว่างของโปสเตอร์คือความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่อาจจะมีอวัยวะเพศหรือลักษณะทางกายภาพภายในร่างกายที่เป็นเพศต่าง ๆ ได้ไม่จำกัด


gender ของทุกคนล้วนประกอบขึ้นจากแต่ละองค์ประกอบของ SOGIESC และแต่ละองค์ประกอบมีความเป็นอิสระต่อกัน ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกัน แต่ละองค์ประกอบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาจะกล่าวได้ว่าgender ของทุกคนล้วนมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน



กิจกรรมประยุกต์ใช้องค์ความรู้ “มาออกแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (all gender) กันเถอะ”

เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้โมเดล SOGIESC ครบถ้วนแล้ว ลองให้นักเรียนนึกถึงว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ออกแบบห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (all gender)ได้อย่างไร


"นักเรียนคิดว่าแนวคิดการสร้างห้องน้ำแบบแบ่งชายหญิงแบบปัจจุบันเป็นปัญหาหรือไม่ มีอะไรบ้าง"

"ในเมื่อเพศนั้นมีหลากหลาย แต่ห้องน้ำแบ่งเป็น 2 แบบคือห้องน้ำชายหญิง เหมาะสมหรือไม่ จะเกิดปัญหาอะไรตามมา?

"ห้องน้ำจะปลอดภัยสำหรับทุกเพศได้อย่างไร ?"



ในกิจกรรมนี้คุณครูอาจจะจัดกิจกรรมต่อยอดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานหรือdesign thinking เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ออกแบบโมเดลห้องน้ำที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งจุดนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้ตระหนักถึงความรุนแรงทางเพศที่อาจจะเกิดขึ้นเช่น การแซว การถ้ำมอง การล้อเลียน การคุกคาม หรือลองให้เด็ก ๆ ได้รณรงค์สื่อสารแนวคิดห้องน้ำที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางเพศ ความปลอดภัย และความปลอดภัยในการใช้งานทางออนไลน์โดยติด #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา




กิจกรรมสรุป "สุขาต้องสุขัง"

ใช้คำถามสะท้อนคิด

จากกิจกรรมที่ผ่านมาเรารู้สึกอย่างไรบ้าง

จากกิจกรรมที่มีอะไรบ้างที่เราเพิ่งได้รู้เป็นครั้งแรก

จากกิจกรรมที่ผ่านมามีอะไรบ้างที่ทำให้เรารู้สึกภูมิใจ

จากกิจรรมที่ผ่านมาเราอยากย้อนกลับไปทำอะไรให้ดีขึ้น


ขอบคุณไอเดียและรูปภาพจากเพจ facebook

SPECTRUM

SUKHA thesis




รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(1)