icon
giftClose
profile

หยุดยั้งการบูลลี่ผ่านกิจกรรมบทบาทสมมติ

32630
ภาพประกอบไอเดีย หยุดยั้งการบูลลี่ผ่านกิจกรรมบทบาทสมมติ

ข้อมูลจากเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่เคยถูกบูลลี่ และวิธีการที่ใช้มากที่สุดคือ การตบหัว ล้อชื่อพ่อชื่อแม่ ล้อปมด้อย และพูดจาเสียดสี ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรให้ความสำคัญกับปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียน ก่อนที่จะลุกลามจนยากที่จะแก้ไข

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว (พ.ศ. 2563) เปิดเผยข้อมูลว่า ประเทศไทยมีการบูลลี่ผ่าน Social Media เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการบูลลี่ (Bully) คือการกลั่นแกล้งที่แสดงออกทางวาจา พฤติกรรม ทางสังคม และทางโลกออนไลน์ โดยหากเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จะนำมาซึ่งปัญหาทางจิตใจ พฤติกรรม และสังคมต่อไป


คาบที่ 1

1. ใช้คลิป และคำถามนำกิจกรรม

         1) นักเรียนชมคลิป บูลลี่ไม่ใช่เรื่องตลก.. จาก https://www.youtube.com/watch?v=TZ3IsdUDJs8

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=TZ3IsdUDJs8

         2) นักเรียนตอบคำถามดังต่อไปนี้

                   2.1) การบูลลี่คืออะไร

                   2.2) ในสังคมไทยมักบูลลี่กันด้วยเรื่องใด เพราะอะไร

                   2.3) การแก้ปัญหาการบูลลี่ควรทำอย่างไร


2. กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ

         1) นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ

         2) ตัวแทนกลุ่มจับสลากสถานการณ์บทบาทสมมติดังต่อไปนี้

                   2.1) การล้อเลียนเรื่องเพศ

                   2.2) การล้อเลียนเรื่องรูปร่างหน้าตา

                   2.3) การล้อเลียนเรื่องเชื้อชาติ และภาษาถิ่น

                   2.4) การใช้กำลังทุบตี ทำร้ายผู้ที่เห็นต่าง

                   2.5) การทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยใช้ข่าวลือ

                   2.6) การบูลลี่โดยข้อความผ่านโลกออนไลน์

3) แต่ละกลุ่มคิดต่อยอดและซักซ้อมการแสดงบทบาทสมมติ

4) แต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ

3. แลกเปลี่ยนความรู้สึกหลังจากร่วมกิจกรรม

1) หลังจบการแสดงบทบาทสมมติ นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นต่อไปนี้

1.1) ความรู้สึกของผู้ที่รับบทบาทเป็นผู้ล้อเลียน

1.2) ความรู้สึกของผู้ที่รับบทบาทเป็นผู้ถูกล้อเลียน

1.3) พฤติกรรมการบูลลี่ส่งผลเสียหรือผลกระทบอย่างไร

 

คาบที่ 2

4. เขียนสิ่งที่ไม่ชอบให้คนอื่นทำกับเรา

1) นักเรียนรับกระดาษแผ่นเล็กคนละ 1 แผ่น

2) นักเรียนเขียนพฤติกรรม หรือสิ่งที่ไม่ชอบให้คนอื่นทำกับเรา โดยไม่ต้องลงชื่อหรือสัญลักษณ์ จากนั้นหย่อนลงในกล่องที่เตรียมไว้

3) ครูนำข้อความทั้งหมดติดบนกระดานหน้าห้องเรียน

4) นักเรียนอ่านข้อความบนกระดานทั้งหมด


5. เสนอแนวทางแก้ไขโดยเทคนิค Think Pair Share

1) ครูพูดถึงประเด็นสิ่งที่ไม่ชอบให้คนอื่นทำกับเราข้างต้น

2) นักเรียนแต่ละคน (รายบุคคล) คิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบูลลี่ดังกล่าว (Think)

3) นักเรียนจับคู่แลกเปลี่ยน และเปรียบบเทียบแนวทางการแก้ไขปัญหาการบูลลี่ร่วมกัน (Pair)

4) นักเรียนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการบูลลี่ร่วมกันทั้งห้อง (Share) และสรุปบทเรียนร่วมกัน

5) นักเรียนชมคลิป Dove Real Beauty Sketches | You’re more beautiful than you think (3mins) จาก youtube.com/watch?v=XpaOjMXyJGk เพื่อกระตุ้นการสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง (Self-Esteem)

ที่มา : youtube.com/watch?v=XpaOjMXyJGk


ขอบคุณข้อมูลเรื่องการบูลลี่จากไทยรัฐออนไลน์ thairath.co.th/lifestyle/life/2034455

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(21)