inskru
gift-close

รู้เท่าทันใจ : ด้วย I Message

1
0
ภาพประกอบไอเดีย รู้เท่าทันใจ : ด้วย I Message

บางครั้งคำพูดคนอื่นก็มาทำร้ายจิตใจเรา และบ่อยครั้งคำพูดของเราก็ไปทำร้ายจิตใจคนอื่น ต่างฝ่ายต่างโต้ตอบกันไปมาด้วยอารมณ์ที่ดุเดือด แต่จะดีกว่าไหมถ้าเรารู้เท่าทันความรู้สึกที่แท้จริงของเรา แล้วเลือกสื่อสารความรู้สึกที่แท้จริงนั้นออกไปอย่างนุ่มนวล

วันนี้ชวนนักเรียนมาเรียนรู้การรับมือกับ "ความขัดแย้ง" ที่อาจเริ่มต้นจากการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน

โจทย์ที่ได้คือการสอนเรื่อง "ความขัดแย้งและวิธีการจัดการความขัดแย้ง"

เลยไปทำการค้นหากิจกรรมและบทความที่น่าสนใจ จนไปเจอกับคลิปของต่างประเทศที่หยิบยกเรื่อง I Message มาใช้ในการสื่อสาร

(แปะลิ้งค์ไว้เผื่อตามไปชมครับ)-->(youtube.com/watch?v=hyxoLd-F9-w)

ทีแรกก็ยังสงสัยว่า I Message คืออะไรกัน เลยไปหาข้อมูลเพิ่มทั้งบทความและถามเพื่อนนักจิตวิทยาตัวน้อย

แล้วก็ได้เรื่องว่า...

บางครั้งเวลาเราพูดคุยกับใครออกไป มักจะเป็นคำพูดที่ไม่ตรงกับความรู้สึกของเรา

เช่น เรารู้สึกกลัวที่ต้องนั่งรถไปกับคนที่ขับรถเร็ว แทนที่เราจะพูดว่า "เรารู้สึกกลัวนะ" เรากลับพูดว่า "เธอขับรถให้มันดี ๆ หน่อยสิ"

ซึ่งคนที่ได้ยินอาจรู้สึกว่ากำลังถูกตำหนิและเกิดความขุ่นเคืองในใจ ทั้งที่เราไม่ได้มีเจตนาจะทำให้เขารู้สึกไม่พอใจ เป็นต้น

หรือว่าจะเป็นเรื่องในครอบครัวสุดคลาสสิค พ่อแม่เอาแต่บ่น ลูกก็โต้ตอบสวนกลับไป

เรื่องแบบนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของความขุ่นเคืองในใจกันและกัน และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้


วันนี้เลยมาแชร์ประสบการณ์กิจกรรม "รู้เท่าทันใจ" ด้วยการใช้ I message มาฝากกันครับ

  1. เปิดประเด็นกับนักเรียนว่า "เคยพูดอะไรแย่ ๆ ที่อาจทำให้คนอื่นโกรธหรือรู้สึกเสียใจออกไปไหม"
  2. ชวนนักเรียนมาจับความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงของตนเองจากกิจกรรม "รู้เท่าทันใจ ด้วย I Message"

กิจกรรม รู้เท่ากันใจ ด้วย I Message

  1. นักเรียนทบทวนดูว่าคำพูดไหนของเราที่อาจสร้างรอยแผลหรือความขุ่นเคืองใจให้คนอื่นได้
  2. ชวนให้นักเรียนค้นหาความต้องการที่แท้จริงของเราจากคำถาม 4 ข้อ

2.1 ฉันรู้สึก (I Feel) -- ให้นักเรียนบอกความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองที่ทำให้พูดคำไม่ดีเหล่าออกมา

2.2 เมื่อ (When) -- พอรู้ความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองแล้ว ให้นักเรียนดูว่าเวลาไหนที่เรารู้สึกแบบนั้น

2.3 เพราะ (Because) -- .เพราะอะไรนักเรียนถึงมีความรู้สึกเช่นนั้น

2.4 ฉันต้องการ (I Want) -- จากความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ นักเรียนอยากให้คนที่นักเรียนพูดด้วยช่วยนักเรียนอย่างไร นักเรียนต้องการให้เขาทำอะไร แก้ไขยังไง


ชวนนักเรียนพูดคุยว่าถ้าความต้องการของเราเป็นแบบนี้ ที่ผ่านมาเราไม่ได้อยากจะพูดไม่ดีออกไป หรือไม่อยากแสดงพฤติกรรมแย่ ๆ ให้ใครเห็น

เราน่าจะพูดหรือสื่อสารแบบไหนออกไป (สื่อสารแบบ i message) ลองพูดให้ครูฟังหน่อย

ระหว่างกิจกรรมมีนักเรียนไม่เข้าใจรูปแบบกิจกรรม เราเลยไปนั่งพูดคุยด้วย ลองถามคำถาม I Message นี้กลับไปยังนักเรียนแล้วให้เขาตอบกลับมา

พอได้มองในแววตาแล้วสิ่งที่นักเรียนตอบกลับมามันเหมือนเป็นความอัดอั้นภายในใจ

แท้จริงเขาไม่ได้อยากแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกไป เพียงแต่เขาอยากมีใครสักคนรับฟังเขาจริง ๆ


เป็นกำลังใจให้ครูและผู้อ่านบทความทุกท่านครับ

ร่วมสร้างสังคมแห่งสุนทรียสนธนาไปด้วยกัน ^^


ตัวอย่างผลงาน เล็กน้อย ๆ

(อาจมีข้อความที่อ่านแล้วทำให้รู้สึกไม่สบายใจ)

#รู้เท่าทันใจความขัดแย้งสุนทรียสนธนาสังคมศึกษา

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

1
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
นย.
นย. ที่ย่อจากคำว่า นิวเยียร์

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ