icon
giftClose
profile
frame

ศาสนากับความหลากหลายทางเพศ

510370
ภาพประกอบไอเดีย ศาสนากับความหลากหลายทางเพศ

ตัวชี้วัด : ส 1.1 ม.4-6/10 คุณค่าและความสำคัญของศาสนา แนวคิดสำคัญในการออกแบบการเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจแนวความคิดทางศาสนากับความหลากหลายทางเพศในสังคมปัจจุบัน ที่ไม่อาจถูกตีกรอบด้วยแนวคิดศาสนาแบบเดิม และต้องการมิติใหม่ของการเกิดมุมมองของศาสนาต่อความหลากหลายทางเพศ

ในคาบเรียนเราชวนนักเรียนเริ่มต้นจากการพูดถึง "ความรัก" เป็นสิ่งที่ศาสนาห้ามหรือไม่ อย่างไร

คำตอบคือ "ไม่" ไม่มีศาสนาใดที่ไม่ปฏิเสธความรักไม่ว่าจะเป็นความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันหรือความรักต่อพระผู้เป็นเจ้า จากนั้น เข้าบทเรียนด้วยการให้เรียนอ่านบทความ 4 เรื่อง จาก 4 ศาสนา ที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางเพศกับมุมมองทางศาสนา ได้แก่

1. โคโดะ นิชิมูระ พระเกย์ญี่ปุ่น ผู้เผยแพร่ความเท่าเทียมด้วยการแต่งหน้า

https://thepeople.co/kodo-nishimura-lgbtq/?fbclid=IwAR1gTFv101FxB1hTy9tJkJCjmeZn-TQFJNQEthw5SSnYNHnHjsiEtzwH2Sk

2. สมรสเท่าเทียม-ศาสนา-ความรัก ในมุมมอง “ปอแน” LGBT+ มุสลิมชายแดนใต้

https://workpointtoday.com/southern-lgbt/

3. “วาติกัน” จะไม่ให้พรการแต่งงานเพศเดียวกัน ระบุว่า “เป็นบาป”

https://www.sanook.com/news/8356622/

4. "พระแม่พหุชรา" เทวีแห่งความหลากหลายทางเพศที่แท้ทรู

https://thematter.co/thinkers/sex-ray/bahuchara-mata/36220

เมื่อนักเรียนอ่านเสร็จนักเรียนจะแยกกันทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่ว่าตกลงแล้วความหลากหลายทางเพศและความรักในทางศาสนาของ ศาสนาพุทธ คริสต์อิสลาม และพราหมณ์ฮินดู นั้น มีประเด็นใดที่ตีกลองไม่ให้คนเพศเดียวกัน หรือคนข้ามเพศ รักกันบ้าง และปัญหาสำคัญของเรื่องเหล่านี้เราจะแก้ปัญหาด้วยกันอย่างไร


คำตอบที่ได้คือมีบางศาสนาที่ไม่อาจให้คนข้ามเพศหรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) สามารถรักกันได้หรือแสดงออกในความรักได้อย่างเปิดเผย เนื่องจากผิดหลักคําสอนของศาสนาและอาจจะเป็นการแสดงถึงความไม่เคารพต่อพระผู้เป็นเจ้า

แต่ทั้งนี้นักเรียนยังมีข้อเสนอว่า เรื่องนี้สามารถแก้ได้ง่ายๆโดยการเลิกนับถือศาสนาเหล่านั้น แล้วหันมาถือศาสนาที่ส่งเสริมเรื่องความหลากหลายทางเพศหรือไม่ก็ไม่ต้องนับถือศาสนาเลย

จากนั้นให้นักเรียน ศึกษา เอกสารการวิจัย สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง : การทำงานร่วมกับสื่อในประเด็นเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศสถานะการแสดงออกและลักษณะทางเพศในประเทศไทย เพื่อเชื่อมโยงเอาพื้นที่สื่อกับการแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา วัฒนธรรม ระบบความคิดความเชื่อของคนในสังคม ออกมาเป็นประเด็นว่า ตกลงแล้วศาสนา ส่งผลให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ถูกลดคุณค่าและความสำคัญลงเป็นคนชายขอบ อย่างไรบ้าง และศาสนาจะมีกระบวนการอย่างไรที่จะคอยส่งเสริมสนับสนุนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเหล่านี้ได้แสดงออกถึงอัตลักษณ์และเพศวิถีของตนเองภายใต้กรอบแนวคิดของศาสนาที่เปลี่ยนแปลงอย่างไรได้บ้าง

(ภาพประกอบ : นักเรียนร่วมกันเปิดไฟโทรศัพท์ เพื่อแสดงจุดยืนต่อความหลากหลายทางเพศ ภายใต้แคมเปญ #ให้บูลลี่มันจบที่รุ่นเรา)

สุดท้าย กระบวนการออกแบบการเรียนรู้เรื่องศาสนากับความหลากหลายทางเพศนี้อาจนำมาซึ่ง ข้อสรุปได้หลายประเด็น ทั้งการที่คนไม่มีศาสนาก็เป็นเรื่องที่ดีต่อการแสดงออกถึงอัตลักษณ์และเพศวิถีในความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) และที่สำคัญที่สุด การเรียนรู้นี้จะนำไปสู่การทำความเข้าใจว่าศาสนาไม่อาจมาตีตรา เรื่องเพศและความหลากหลายทางเพศ ของคนในสังคมปัจจุบันได้ แต่ศาสนาควรปรับเปลี่ยนกรอบแนวคิดให้ส่งเสริมสนับสนุน และยับยั้งป้องกันไม่ให้เกิดการใช้ความรุนแรงโดยอ้างหลักศาสนาจากเรื่องเพศและความหลากหลายทางเพศ จึงจะถือว่าศาสนานั้นยังคงมีคุณค่าและความสำคัญต่อสังคมมนุษย์และโลกใบนี้อย่างแท้จริง




ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: UNDP_Thailand_TH-tool-for-change-thai (1).pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 14 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(3)