การอ่านจับใจความสำคัญ ตามเทคนิคบันได 6ขั้น เป็นแนวคิดที่ อ.เสกสันต์ ผลวัฒนะ อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวไว้ในคู่มือฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เนื้อหามีความน่าสนใจจึงนำมาใช้ในการสอนนักเรียน และได้ผล คือนักเรียนสามารถจับใจความสำคัญได้ง่ายขึ้น และทำข้อสอบได้แม่นยำขึ้น ครูจึงนำมาทำเป็น Infographic ครบทั้ง 6ขั้น โดยแรกเริ่มทำเป็น PowerPoint ใช้สอนในห้อง แต่ปรากฏว่า นักเรียนได้หลังลืมหน้า ฮ่าๆ Infographic จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น
Infographic = Information + graphic
อินโฟกราฟิก หมายถึง การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปให้เป็น “สารสนเทศในลักษณะของข้อมูล” (สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่) เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว
โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เป็นการเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมาก ที่ยุ่งยากหรือซับซ้อนให้เป็นภาพกราฟิกต่าง ๆ (ภาพนิ่งหรือเคลื่อนไหว) และมีรูปแบบที่สวยงามดึงดูดความสนใจผู้อ่าน
1. เพราะเวลานั้นมีค่า (ใช้เวลาน้อย เข้าใจได้มาก)
นักเรียนยุคปัจจุบันทำกิจกรรมด้วยความรวดเร็ว ต้องการรู้แบบให้พอรู้ ยังไม่ต้องรู้ลึก การรับรู้ข้อมูลที่เข้าใจง่ายจะช่วยให้ผู้ชมสนใจที่จะอ่าน และใช้เวลาในการรับรู้ข้อมูลไม่ต้องมาก
2. เพราะข้อมูลมากจะน่าเบื่อ
การอ่านข้อมูลที่เป็นเรียงความหลาย ๆ หน้ากระดาษ ทำให้น่าเบื่อ เยิ่นเย้อ จับประเด็บยาก
3. เพราะถูกจริตผู้อ่าน (สวยงาม เข้าใจง่าย)
การออกแบบ Infographic เป็นงานศิลปะประเภทหนึ่ง การเลือกภาพ แผนภูมิ สัญลักษณ์ การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมาก ควรต้องเหมาะสม เป็นสัดเป็นส่วน ดูสวยงามสบายตา ไม่ยุ่งเหยิงเกินไป สามารถดึงดูดใจให้นักเรียนหันมาอ่าน หันมาดู (จำไว้ว่า ความสนใจเริ่มต้นด้วย ตา)
(อ้างอิง : Woravith.C web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=1991)
ได้ไปศึกษาเบื้องต้นในเรื่องการออกแบบ (ไม่ใช่ครูคอมฯแต่ก็สามารถผลิตออกมาได้โดยใช้ Powerpoint)
ทั้งหมดนี้นำข้อมูลมาจากคู่มือฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง ลิขสิทธิ์สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. โดยหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อครูภาษาไทย หรือรายวิชาอื่นๆ ซึ่งหลังจากนักเรียนได้ศึกษา Infographicแล้ว แนะนำให้ครูจัดทำแบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบเพื่อฝึกฝนให้นักเรียนคุ้นชินกับการหาใจความ โดยสามารถนำเอาข้อสอบโอเน็ตที่มีลักษณะเป็นการจับใจความ มาใช้เป็นแบบฝึกหัดได้
ท้ายที่สุด ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย