คาบแรกของการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์เพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักการคร่าว ๆ ของวิชาเศรษฐศาสตร์จึงได้คิดกิจกรรมขึ้นมาเป็นกิจกรรม "กล่องสุ่ม" โดยมีการแข่งขันในรูปแบบของเกม โดยมีกิจกรรมดังนี้
อุปกรณ์
การเล่นจะแบ่งเป็นรอบ ผู้สอนอาจแบ่งกลุ่มผู้เรียนกลุ่มละ 5-6 คนแล้วเตรียมกล่องสุ่มตามจำนวนกลุ่ม หรืออาจเล่นพร้อมกันทั้งห้องก็ได้ตามสถานะการณ์
รอบที่1
สรุปผลรอบที่ 1
เนื่องจากกติกาให้หยิบจำนวนกี่ชิ้นก็ได้เอื้อให้คนเล่นคนแรกชนะเพราะจะหยิบชิพไปกี่ชิ้นก็ได้จึงสามารถจบเกมได้ตั้งแต่ตาแรก ผู้สอนต้องชวนผู้เรียนคุยต่อในประเด็นประมาณนี้
รอบที่ 2
เมื่ออภิปรายในประเด็นต่าง ๆ แล้วผู้สอนนำผู้เรียนเล่นเกมรอบที่ 2 โดยปรับกติกาเล็กน้อยในรอบนี้ผู้สอนกำหนดคะแนนให้ชิพสีต่างๆ ไม่เท่ากัน เช่น
สีเหลือง = 1 คะแนน
สีเขียว = 1 คะแนน
สีน้ำเงิน = 1 คะแนน
สีแดง = -2 คะแนน
สีดำ = -10 คะแนน
โดยใ่ส่สัดส่วนสีที่คะแนนติดลบให้พอดี
สรุปผลรอบที่ 2
ผู้สอนสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเล่นของผู้เรียนอย่างไรบ้าง จากการทดลองใช้พอว่านักเรียนเลือกที่จะหยิบชิพน้อยลงเนื่องจากกลัวว่าจะมีคะแนนติด จากนั้นนำประเด็นเหล่านั้นมาร่วมกัยอภิปรายกับผู้เรียนในประเด็นนระมาณนี้
จากการทดลองใช้พบว่านักเรียนเลือกที่จะหยิบชิพน้อยลงเนื่องจากกลัวว่าจะมีคะแนนติดลบแต่ผู้เล่นคนแรก ๆ ก็มักจะเป็นผู้ชนะเพราะมีโอกาสมากกว่าผู้เล่นคนอื่น ผู้สอนอาจชวนคุยเกี่ยวกับเรื่องความเหลือมล้ำ หรือฐานะที่สามารถสร้างความได้เปรียบในการยอมรับความเสี่ยงได้มากกว่า
รอบที่ 3
หลังจากร่วมกันอภิปรายแล้วให้เริ่มเล่นรอบที่ 3
สรุปผลรอบที่ 3
ชวนผู้เรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังนี้
จากนั้นให้ผู้เรียนออกแบบกติกาโดยทำอย่างไรให้ไม่มีใครหยิบชิพที่มีคะแนนเป็น - เลย (เชื่อมโยงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า) อาจนำกติกาที่นักเรียนออกแบบไปเล่นเป็นรอบที่ 4 หรืออาจให้นักเรียนเล่นโดยให้ผู้เรียนดูชิพก่อนแทนที่จะสุ่ม (เชื่อมโยงเรื่องการคิดก่อนใช้ทรัพยากร)
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เพื่อผลิต บริโภค กระจาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยการจัดสรรทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด
สรปบนเรียนนอกจากความหมายของเศรษฐศาสตร์แล้วผู้เรียนยังได้วางแผนการบริหารจัดการทรัพยากร และอาจไปถึงเรื่องของความเหลลื่อมล้ำ กฎหมายที่ไม่เป็นธรรร หรือเรื่องของความยากจนที่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการมีเงินมากหรือน้อยแต่ความยากจนเป็นเรื่องของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร
หากมีครูท่านใดสนใจลองไปปรับใช้กันดูได้นะครับระดับคำถามหรือขั้นตอนกิจกรรมอาจปรับปลี่ยนให้เหมาะกับอายุของผู้เรียนได้ครับ
ใครได้ลองใช้แล้วลองแชร์บอกกันได้นะครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!