วันนี้จะมาแชร์เรื่องราวของห้องเรียนเคมีที่ได้ใช้ บอร์ดเกมเคมี “Chembond” เป็นสื่อประกอบการสอนในห้องเรียนอย่างไรบ้าง
เรื่องที่เราสอนเป็นเรื่องการสร้างพันธะของอะตอมสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
วิชาที่สอน : วิทยาศาสตร์กายภาพ 1
ระยะเวลาในการทำกิจกรรมประมาณ 2 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของนักเรียนที่เราสอนด้วยนะ)
![]()
ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์ในเกมส์นะคะ
**พิเศษเราทำคลิปแนะนำการใช้บอร์ดเกม "Chembond" สำหรับครูเคมี
คลิกที่ลิงค์นี้ youtu.be/LvCMnCVCqFc
- แผ่นอะตอมที่มีลักษณะพันธะขึ้นอยู่กับชนิดของธาตุ (ลำดับภาพจากซ้ายไปขวา) ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ธาตุคาร์บอน ธาตุออกซิเจน และธาตุไฮโดรเจน ซึ่งอันนี้เราจะใช้เป็นกองกลางนะ ในกล่องเกมมีมาให้เรารวมทุกธาตุตามนี้ 110 แผ่นคะ คุณครูสามารถจัดการเพื่อความเหมาะสมของห้องเรียนตนเองได้เลยนะคะ
- การ์ดโมเลกุลที่ผู้ออกแบบเกม เลือกมาอย่างครบถ้วนและมีความหลากหลาย ทำให้นักเรียนเข้าใจภาพรวมของการเกิดโมเลกุลโคเวเลนต์/โมเลกุลอินทรีย์ได้เลยคะ (ภาพตัวอย่างการ์ดเกมบางส่วน)
ขั้นตอนการสอน
- สิ่งที่เราทำในฐานะผู้อำนวยการชั้นเรียน (Facilitator) คือการจัดชุดกิจกรรมให้นักเรียนหยิบจับได้สะดวก และประหยัดเวลาอื่น ๆ เพื่อให้นักเรียนได้มีเวลาเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น (คุณครูสามารถดีไซด์ให้เหมาะสมกับห้องเรียนตนเองได้เลยคะ)
- หลังจากนั้นก็ให้นักเรียนจับคู่เรียนรู้ร่วมกัน สื่อสารกับเพื่อนระหว่างทำกิจกรรมได้ตามสบายเลย ในห้องเรียนของเราจะให้เวลานักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งบทบาทของเราจะเปลี่ยนเป็นคนสังเกตการณ์แทน และคอยแนะนำเพิ่มเติมหากว่านักเรียนมีข้อสงสัย หรือแสดงพฤติกรรมว่ายังไม่ค่อยเข้าใจในบทเรียน
จากรายละเอียด STEP 3 วาง "ด่านกิจกรรม" ซึ่งสามารถนำมาสู่กิจกรรมฐานสมรรถนะได้ เพื่อให้เห็นภาพขั้นตอนที่ชัดเจนขึ้น จึงนำมาประกอบภาพและขั้นตอนใน CBE Executor Canvas ดังนี้
STEP 3 ขั้นตอนที่ 1 ของด่านกิจกรรม "สถานการณ์ศึกษาการ์ดโมเลกุลที่กำหนดให้"
![]()
จากกิจกรรมนี้เราในฐานะครู สามารถเห็นถึงสมรรถนะของผู้เรียนในเรื่อง "การจัดการ (Self-management :SM)"
บทบาท Facilitator (ครู)
สังเกตการเลือกแผ่นอะตอม
สังเกตจากการพิจารณาการ์ดโมเลกุลที่ได้
ลักษณะการจัดวางแผ่นอะตอมต่าง ๆ
STEP 3 ขั้นตอนที่ 2 ของด่านกิจกรรม "ทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพันธะโคเวเลนต์"
ไม่ได้มีรูปประกอบ แต่เด็กเค้าจะพูดคุยกันทั่วไป เกี่ยวกับการ์ดโมเลกุลที่ได้ และไปหยิบแผ่นอะตอมมาต่อตามรูป และดูว่าเป็นโครงสร้างแบบจุดลิวอิสอย่างไร โครงสร้างแบบเส้นเกิดได้อย่างไร เป็นต้น
จากกิจกรรมนี้เราในฐานะครู สามารถเห็นถึงสมรรถนะของผู้เรียนในเรื่อง "การสื่อสาร (Communication :CM)"
บทบาท Facilitator (ครู)
การสนทนาของนักเรียนระหว่างทำกิจกรรม
การแสดงความคิดเห็น การต่อรองต่าง ๆ
สังเกตการจดบันทึกความเข้าใจลงในสมุดโน๊ต
STEP 3 ขั้นตอนที่ 3 ของด่านกิจกรรม "เล่นบอร์ดเกม Chembond"
นักเรียนสามารถเล่นบอร์ดเกม Chembond ที่เกี่ยวกับการเกิดพันธะโคเวเลนต์ เมื่อนักเรียนเล่นจะเสนมือนเป็นการทดสอบต่อโครงสร้างโมเลกุลต่าง ๆ ในเกมได้ และมีความเข้าใจและความมั่นใจในเนื้อหามากขึ้น
![]()
จากกิจกรรมนี้เราในฐานะครู สามารถเห็นถึงสมรรถนะของผู้เรียนทั้งหมด 4 เรื่องพร้อม ๆ กัน
ได้แก่
- "การจัดการ (Self-management :SM)" บทบาท Facilitator (ครู) การเลือกและเรียงอะตอม / การจัดการพื้นที่การเล่น
- "การสื่อสาร (Communication :CM)" บทบาท Facilitator (ครู) การสนทนา / การต่อรองและแสดงความคิดเห็นขณะเล่นเกม
- "การรวมพลังทำงานเป็นทีม (Collaboration in Teamwork :CT)" บทบาท Facilitator (ครู) การส่งอุปกรณ์ในเกมให้กัน / ช่วยกันคิดทางเลือกที่ดีที่สุดในตานั้น
- "การคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking :HOT)" บทบาท Facilitator (ครู) การคิดและตัดสินใจเลือก Action ที่ดีที่สุดในเทิร์นั้น ๆ
STEP 3 ขั้นตอนที่ 4 ของด่านกิจกรรม "บันทึกความเข้าใจเบื้องต้น"
หลังจากที่เล่นเกมเสร็จ เราให้นักเรียนเขียนทบทวนความเข้าใจของตนเอง โดยให้ศึกษาสารโมเลกุลอื่น ๆ ในหนังสือเรียนว่าเขียนโครงสร้างดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง
![]()
จากกิจกรรมนี้เราในฐานะครู สามารถเห็นถึงสมรรถนะของผู้เรียนในเรื่อง "การสื่อสาร (Communication :CM)"
บทบาท Facilitator (ครู)
การสนทนา และการแลกเปลี่ยนความเข้าใจที่ได้จากการเล่นเกม
จากกิจกรรมนี้เราในฐานะครู สามารถเห็นถึงสมรรถนะของผู้เรียนในเรื่อง "คิดขั้นสูง (Higher Order Thinkind :HOT)"
บทบาท Facilitator (ครู)
ครูเดินดูนักเรียนทำกิจกรรม และสุ่มสอบถามความเข้าใจ ด้วยคำถาม "Why/How : ทำไม/อย่างไร"
นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม / Feedback เพื่อพัฒนา ปรับปรุง
STEP 3 ขั้นตอนที่ 5 ของด่านกิจกรรม "นำเสนอความเข้าใจโดยรูปแบบการเขียน"
นักเรียนเขียนประมวลความรู้ พร้อมวาดรูปโครงสร้างประกอบความเข้าใจและเขียนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
![]()
จากกิจกรรมนี้เราในฐานะครู สามารถเห็นถึงสมรรถนะของผู้เรียนในเรื่อง "คิดขั้นสูง (Higher Order Thinkind :HOT)"
บทบาท Facilitator (ครู)
สังเกตลักษณะการเขียน/การบรรยายความเข้าใจ/รูปภาพที่นักเรียนวาดประกอบเป็นการประมวลองค์ความรู้ของกิจกรรมทั้งหมด
ครูอ่านคำตอบของนักเรียนแต่ละคน พร้อมเขียน Feedback กลับให้นักเรียนรายบุคคล
ใบงานข้างต้นเป็นตัวอย่างใบงานที่นักเรียนบันทึกการเรียนรู้ หลังจากทำกิจกรรมข้างต้น เพื่อประมวลความเข้าใจที่ได้ ซึ่งใบงานนี้จะรวมสิ่งที่นักเรียนได้หลังจากที่ทำกิจกรรมท้าทาย "เล่นบอร์ดเกม Chembond" แล้วซึ่งเป็นใบงานร่วมกัน เพื่อให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ จนได้องค์ความรู้ของตนเอง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเด็กส่วนหนึ่ง ซึ่งเราจะสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมอีกที เพื่อประเมินภาพรวมของการเรียนรู้เรื่องนี้ อาจจะไม่ได้เป็นวิชาการมาก แต่ออกไปแนวทักษะวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสาร ตามวัตถุประสงค์การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
เมื่อเข้าใจแล้วบันทึกความเข้าใจของนักเรียนลงในใบงานที่เราทำให้ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจอีกที สามารถหาข้อมูลโครงสร้างของสารนั้นจากอินเทอร์เน็ต และเนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว ทำให้การเรียนสะดวกขึ้น และถือว่าได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนได้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งสิ่งทั้งหมดนักเรียนได้พัฒนาสู่ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญ
![]()
ในคาบถัดมา หลังจากที่ครูประเมินกิจกรรมและการเรียนรู้นักเรียน อ่านใบงานที่นักเรียนทำในชั่วโมงคร่าว ๆ ก็มาพูดคุยสรุปบทเรียน และConcept ที่ควรทราบเพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดการเข้าใจผิดเนื้อหาที่ต้องการสื่อ โดยจะทบทวนสิ่งที่ได้ผ่าน PowerPoint ร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน
จากการทำกิจกรรมดังกล่าว "ผู้เรียนสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?"
- นักเรียนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ว่าสสารรอบตัวเราเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ เช่น แก๊สมีเทน (CH4)ที่ใช้ในการหุ้มต้มอาหาร เป็นต้น สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องคุณสมบัติของสารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
- ในขณะที่นักเรียนศึกษาเรื่องของโครงสร้างของสารจากกิจกรรม เชื่อมโยงความรู้เรื่องคุณสมบัติทางกายภาพของสาร ได้ดีขึ้น เช่น ถ้าเราใส่น้ำลงในน้ำมันจะเกิดการจับตัวกัน เราจึงเห็นวงของน้ำที่ลอยอยู่ในน้ำมัน เป็นต้น เนื่องจากโมเลกุลของน้ำถือว่าเป็นสารมีขั้ว ส่วนโมเลกุลของน้ำมันทั้งส่วนที่มีขั้วและส่วนที่ไม่มีขั้ว ทำให้นักเรียนสามารถอธิบายความเข้าใจของสารประกอบเชิงเคมีได้ลึกมากขึ้น
- เลือกใช้สสสารให้เหมาะสมกับงาน โดยพิจารณาคุณสมบัติของสารที่เชื่อมโยงกับรูปโครงสารดีขึ้น
- เข้าใจเรื่องของการละลายน้ำของสารประกอบในเครื่องดื่มหรืออาหารได้ดีขึ้น ว่าจะต้องกินน้ำเกลือแร่ที่ผสมน้ำตาลไปทำไมเวลาเราเหนื่อย หรือต้องการพลังงานอย่างรวดเร็ว
ขอบคุณที่อ่านมาจนจบนะคะ
ห้องเรียนเราสนุกขึ้น ก็ต้องขอบคุณผู้ออกแบบบอร์ดเกม "Chembond" ดร.วิศวัฒน์ สกุลศักดิ์นิมิตร ^ ^
พยายามทำตามบริบทประมาณนี้ ถ้ามีอะไรแนะนำได้นะคะ
^ ^
สู้ๆๆไปด้วยกันนะคะ
ฝากติดตามซีรี่ย์ “เคมีกับความรัก the series” และเคมีแบบญี่ปุ่น ๆ ที่เพจ Facebook: Jirat(อ.จ๊อบ)
สำหรับครูที่สนใจอยากจะนำบอร์ดเกม Chembond ไปใช้ในห้องเรียน สามารถติดต่อได้ที่เพจ Facebook : เคมีBoardgame ผู้ออกแบบเกมบอร์ดเกมการศึกษาสนุก ๆ อย่าง "Chembond"
**พิเศษเราทำคลิปแนะนำการใช้บอร์ดเกม "Chembond" สำหรับครูเคมี
คลิกที่ลิงค์นี้ youtu.be/LvCMnCVCqFc