icon
giftClose
profile

ฝึกการใช้ Eisenhower Box ในสภาวะเร่งด่วนของม.6

26173
ภาพประกอบไอเดีย ฝึกการใช้ Eisenhower Box ในสภาวะเร่งด่วนของม.6

หลักของ Eisenhower คือการ “ลำดับความสำคัญ” ของงานที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะนักเรียนม.6 ที่เหลือเวลาเตรียมตัวสอบGAT-PATและวิชาสามัญอีกแค่ไม่กี่วันเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก ต้องใช้เวลาในแต่ละวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด กิจกรรมนี้เราจะนำ Eisenhower Box มาช่วยในการจัดลำดับความสำคัญกันครับ

บทนำ

หลักการ Eisenhower box คือการ “ลำดับความสำคัญ” ของงานที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะนักเรียนม.6 ที่เหลือเวลาเตรียมตัวสอบอกีไม่มากแล้วในวิชา GAT-PAT ที่จะเริ่มสอบในวันที่ 12-15 มี.ค.2565 และวิชาสามัญในวันที่ 19-20 มี.ค.2565 คะแนนของการสอบนี้มีผลอย่างมากใน TCAS รอบที่ 3 ช่วงเวลาที่เหลือนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก ต้องใช้เวลาในแต่ละวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ชีวติประจำวันเราแต่ละวัน ไม่ได้มีสิ่วที่เราต้องทำและต้องวางแผนที่จะทำมีแค่อย่างเดียวเราต้องทำเราก็ต้องลิสต์มาให้ได้ก่อนว่า วันนี้เรามีงานอะไรต้องทำบ้าง เช่น ทำงาน, อ่านหนังสือ, ทำงานบ้าน, ทำข้อสอบเก่า หรือแม้กระทั่งเที่ยวและพักผ่อน สิ่งที่เราต้องทำก็คือต้องทำความเข้าใจ และจำแนกได้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้นตรงกับกรอบใดใน Eisenhower box ซึ่งจะทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และงานไหนบ้างที่ไม่จำเป็นต้องทำกับเวลาที่มีอยู่ครับ


ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน



ให้ครูอธิบายหลักการของ Eisenhower box ว่ามีวิธีการใช้อย่างไรตามภาพต่อไป




อักษรทางซ้ายมือของกล่องจะมี Important (สำคัญ) และ Not Important (ไม่สำคัญ)

อักษรทางด้านบนของกล่องจะมี Urgent (เร่งด่วน) และ Not Urgent (ไม่เร่งด่วน)


ขั้นตอนการอธิบาย

กล่องสีเขียว Important (สำคัญ) และ Urgent (เร่งด่วน) หมายถึง งานหรือสิ่งที่เราต้องทำโดยด่วนและสำคัญมาก ต้องรีบทำก่อนเป็นอันดับต้นๆ ไม่สามารถให้ใครทำแทนได้ เช่น ทำข้อสอบ/ทำข้อสอบเก่า เป็นต้น

กล้องสีฟ้า Important (สำคัญ) และ Not Urgent (ไม่เร่งด่วน) หมายถึง เป็นงานหรือสิ่งสำคัญเช่นกัน และอาจจะสำคัญมากด้วยแต่เรายังมีเวลาอยู่ ยังไม่ต้องรีบทำด่วนในตอนนี้(ยังมีเวลาอยู่นั่นเอง) อาจจะค่อยๆคิดและวางแผนที่จะทำได้ เช่น เตรียมหางานทำหลังเรียนจบ การหางานทำหลังเรียนจบปริญญาตรีเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่ตอนนี้เราควรมุ่งเป้าไปยังเรื่องการอ่านหนังสือสอบเข้ามหาวิทยาลัยก่อน ยังพอมีเวลาที่จะวางแผนเรื่องการทำงานอยู่ เป็นต้น

กล่องสีแดง Not Important (ไม่สำคัญ) และ Urgent (เร่งด่วน) หมายถึง เป็นสิ่งที่ต้องทำโดยด่วนถ้าไมรีบทำอาจจะกระทบต่อสิ่งอื่นแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น Internetจะตัดและต้องรีบจ่ายค่าInternet ถทอว่าด่วนมากถ้าไม่จ่ายทำงานหรือเรียนออนไลนืไม่ได้แน่ๆ จะติวออนไลน์ก็ไม่ได้ แต่เราไม่จำเป็นต้องไปจ่ายเอง เราอาจจะให้คนอื่น ทำแทนเราก็ได้

กล่องสีเทา Not Important (ไม่สำคัญ) และ Not Urgent (ไม่เร่งด่วน) หมายถึง งานหรือกิจกรรมที่ไม่มีความคัญและไม่ต้องเร่งทำด้วย สามารถตัดงานหรือกิจกรรมนี้ทิ้งไปก่อนได้เลยในช่วงนี้เพราะเหลือไม่กี่วันแล้วก่อนสอบ GAT-PATและวิชาสามัญ ยกตัวอย่างเช่น การลงRank (เด็กจะเก็ททันทีครับอันนี้) ไม่ต้องลงก็ได้รอสอบเสร็จค่อยลงRankก็ได้ ตัดทิ้งไปก่อนช่วงนี้


คุณครูสามารถดัดแปลงการยกตัวอย่างและชวนนักเรียนตอบและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้เต็มที่เลยนะครับในช่วยที่เราอธิบายแต่ละกรอบ เพื่อให้เด็กๆม.6 เข้าใจมากขึ้น


ขั้นกิจกรรม


ผมได้ลองเตรียมงานหรือกิจกรรมต่างๆ ไว้ด้านล่าง ของกล่อง Eisenhower box แบบโล่งๆ (คุณครูสามารถดัดแปลงได้เลยนะครับ) จากนั้นชวนนักเรียนคิดว่างานหรือกิจกรรมในด้านล่างนั้นควรอยู่ในกรอบใดของ Eizenhower box พร้อมบอกเหตุผล (เราอาจจะได้เห็นวิธีคิดที่หลากหลายของเด็กและเป็นการให้นักเรียนได้ตรวจสอบความคิดของตนเองด้วยว่าลำดับความคำคัญถูกไหม)

ตัวอย่าง


จากตัวอย่างอันนี้ผมลองทำกับเด็กในคาบ นักเรียนม.6คนหนึ่งได้บอกผมว่าซ่อมคอมควรอยู่ "ไม่สำคัญ แต่เร่งด่วน" เพราะต้องรีบซ่อมก็จริง แต่เราอาจจะไม่ต้องนำคอมไปซ่อมเองก็ได้ อาจจะฝากที่บ้านนำไปซ่อมแทนได้ แล้วเราเอาเวลาไปอ่านหนังสือดีกว่า เป็นต้นครับ

ขั้นสรุป

ประเด็นสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญของงานและกิจกรรมที่เราต้องทำในแต่ละวันนั้น ก็เพื่อเป็นการใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์โดยเฉพาะนักเรียนระดับชั้นม.6 ที่เหลือเวลาอีกไม่มาก ที่จะอ่านหนังสือหรือทบทวนบทเรียนเพื่อสอบ GAT-PATและวิชาสามัญ ซึ่งถ้าเราลำดับความสำคัญของงานไม่ถูกต้อง เช่น ดันไปทุ่มกับสิ่งที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน หรือลำดับความสำคัญและความด่วนของงานผิด อาจส่งผลกระทบต่อการอ่านหนังสือสอบของในเวลาที่เหลือไม่มากนี้เราได้ ซึ่งจะมีผลอย่างมากในการยื่น TCAS รอบที่ 3 ถ้าพลาดครั้งนี้อาจต้องรอบรอบต่อไป หรือปีหน้าเลยก็เป็นได้ อีกทั้งงานหรือกจิกรรมในแต่ละวันของนักเรียนแต่ละคนนั้นก็มีไม่เหมือนกัน เลยจะฝากใบงานให้นักเรียนได้ลองเขียนสิ่งที่ต้องทำในเวลาที่เหลืออยู่ไม่มากนี้ออกมาให้มากที่สุดโดยพิจารณาจากชีวิตประจำวันของเรา แล้วใส่ลงในกล่อง Eisenhower box เพื่อจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ ก่อน - หลัง และเพื่อใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ต้องเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่สำคัญ (ให้ครูพยายามเน้นกำหนดการสอบ GAT-PATและวิชาสามัญ เพื่อเป็นการกระตุ้นนักเรียนครับ) ผมจึงขอยกตัวอย่างใบงานที่นักเรียนผมทำมาแล้ว 1 ชิ้น เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้นครับ


ตัวอย่างใบงานที่ทำแล้ว



ส่วนตัวใบงานนั้นผมจะทิ้งไฟล์ไว้ด้านล่างครับ คุณครูสามารถนำไปใช้หรือดัดแปลงได้ตามสะดวกเลยนะครับ และหวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์กับครูทุกท่านนะครับ :)

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: ใบงานการจัดลำดับความสำคัญด้วยEizenhwer box.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 60 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(7)