icon
giftClose
profile

ราคาดุลยภาพ ภาวะสินค้าล้น,ขาดตลาดด้วยการเขียนกราฟ

296586
ภาพประกอบไอเดีย ราคาดุลยภาพ ภาวะสินค้าล้น,ขาดตลาดด้วยการเขียนกราฟ

อุปสงค์ อุปทาน และกราฟเป็นของแสลงสำหรับวิชาเศรษฐศาสตร์ของนักเรียน ตรงไหนของเหลือ ตรงไหนของขาด ของชิ้นนี้ควรขายราคาเท่าไหร่ อะไรคือราคาดุลยภาพ ที่ระดับราคาที่แตกต่างกันเกิดภาวะอะไรเกิดขึ้น ในกราฟจะแฝงไปด้วยกฎของอุปสงค์และอุปทาน เรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม และอาจนำไปสู่การวางแผนธุรกิจในอนาคตได้

โห่วววว อุปสงค์ !! โห่วว อุปทาน !! โห่ววววว กราฟก็มา...พ่วงด้วยราคาดุลยภาพ อุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน(ของล้นตลาด) อุปสงค์ส่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด)


ทั้งหมดที่ว่ามานี้ รวบอยู่ในกราฟกราฟเดียว...แล้วหนูจะเขียนกราฟกันได้ไหม??


โจทย์คือ อยากให้นักเรียนเข้าใจความหมายเบื้องต้นของอุปสงค์ อุปทาน ภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับราคา ภาวะดุลยภาพ ถ้าเขาจะต้องขายของเขาควรจะกำหนดราคาเท่าไหร่ สินค้าจึงจะขายได้ และขายหมดด้วย โดยให้เขามองและทำความเข้าใจจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ โดยการวาดกราฟ


Tip

ทำให้ดู เป็นตัวอย่าง

ลอง ทำไปพร้อม ๆ กัน 1 โจทย์

ด้วยตัวเอง ตามโจทย์ที่ให้ไป (บันทึกวีดิโอการสอนไว้ให้)


กิจกรรม

  • กำหนดโจทย์ที่เป็นตัวเลขราคาสินค้าชนิดหนึ่ง(อาจเป็นสินค้าที่เป็นกระแสในช่วงนั้น เช่น หมู ไก่ แมสก์) ที่แต่ละระดับราคามีปริมาณอุปสงค์ และอุปทานแตกต่างกัน และที่สำคัญที่แต่ละระดับราคาปริมาณอุปสงค์กับอุปทานจะต้องไม่ลบกันหมดพอดี (ตามตารางจะเห็นว่า ที่แต่ละราคาไม่มีราคาใด อุปสงค์ ลบ กับอุปทาน แล้วเท่ากับ 0) เพราะเราต้องการให้นักเรียนหาราคาดุลยภาพจากการเขียนกราฟขึ้นมา

*** โจทย์ถ้าให้นักเรียนไปสำรวจราคาเอง หรือ ไม่ก็ใช้ราคาสินค้าจริง ๆ จะทำให้ นร. เข้าใจภาวะเศรษฐกิจได้ดีขึ้น

*** โจทย์ที่เห็นเป็นราคาสมมุติ

  • นักเรียนใช้โจทย์ตามที่ครูสุ่ม หรือ ตามที่นักเรียนสนใจ จากนั้นนักเรียนเขียนกราฟที่มีแกน P (ราคา) และแกน Q (ปริมาณ) จากนั้นใส่ข้อมูลราคาและปริมาณให้ถูกต้อง โดยเฉพาะแกนปริมาณ (Q) จะต้องเน้นย้ำให้ไล่เรียงปริมาณจากน้อย ไปมาก โดยดูจากทั้งช่องอุปสงค์และอุปทาน (ตามภาพ 10 ในช่องอุปทาน ต่อมา คือ 20 ในช่อง อุปสงค์ ไล่เรียงไปเรื่อย ๆ 30 45 50 65 82 90 100 150)


  • จากนั้นทำการ Plot กราฟแต่ละเส้นจากข้อมูลในตาราง โดยใช้ปากกาคนละสีเพื่อจะได้แยกเส้นอุปสงค์และอุปทานออก


  • ไฮไลท์ที่เรารอคอยมาแล้ววววว....ดูที่ตรงจุดตัดของเส้นอุปสงค์และอุปทาน ตรงนี้คือ จุดดุลยภาพ หรือราคาดุลยภาพ ราคาที่คนซื้อกับคนขายตกตลงราคากันได้ อยากรู้ว่าสินค้านี้ควรขายกี่บาท ปริมาณเท่าไหร่ ให้เราลากเส้นจากจุดตัดไปชน แกน P (ราคา) และ แกน Q (ปริมาณ)

ในตัวอย่างเส้นประที่ลากจากจุดตัดออกไป ราคาดุลยภาพ ประมาณ 16,000 บาท ปริมาณ 60 เครื่อง (P=16,000 , Q=60)


  • กราฟนี้บอกอะไรเราได้บ้าง?...พื้นที่สีเหลือง คือ พื้นที่ที่เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน (ของล้นตลาด) ส่วนสีฟ้า คือ พื้นที่เกิดภาวะอุปสงค์ส้่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด) คำนี้แหละที่นักเรียน งง ตลอดเลย 5555+
  • เส้นสีชมพู เป็นเส้นที่เราลากขึ้นมาเพื่อให้เด็ก ๆ มองออกว่า อุปสงค์ขาด อุปทานเกิน อุปทานขาด อุปสงค์เกิน มองยังไง

ตัวอย่าง พื้นที่สีเหลือง ที่ราคา 25,000 บาท อุปสงค์(เขียว) ปริมาณ 20 ไปไม่ถึง เส้นชมพู แปลว่า อุปสงค์ขาด ขณะที่ อุปทาน(แดง) ปริมาณ 150 เกินเส้นสีชมพูไป ดังนั้น ที่ราคา 25,0000 บาท เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน (ของล้นตลาด) อุปทานจากคนขายออกมาขาย 150 เครื่อง แต่อุปสงค์มีกำลังซื้อในปริมาณ 5 เครื่อง ทำให้เหลืออีก 145 เครื่อง เพราะมองว่าสินค้าราคา แพง (เป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน)

พื้นที่สีฟ้า ที่ราคา 5,000 บาท อุปสงค์(เขียว) ปริมาณ 100 เกินเส้นชมพู แปลว่า อุปสงค์เกิน ขณะที่ อุปทาน(แดง) ปริมาณ 10 ไปไม่ถึงสีชมพู ดังนั้น ที่ราคา 5,0000 บาท เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด) อุปทานจากคนขายออกมาขาย 10 เครื่อง แต่อุปสงค์มีกำลังซื้อมากในปริมาณ 100 เครื่อง ทำให้เหลืออีก 90 เครื่อง เพราะคนซื้อมองว่าสินค้าราคา ถูก จึงต้องการมาก แต่คนขายมองว่า ราคาถูกเกินไปจึงนำออกมาขายน้อย (เป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน)

จุดตัด เกิดภาวะ ดุลยภาพ คือ คนซื้อกับคนขายสามารถตกลงราคากันได้ที่ราคา 16,000 บาท ปริมาณซื้อขาย 60 เครื่อง สินค้าหมดพอดี (ตามทฤษฎี)

ตัวอย่าง ของ นร. ผิดพลาดประการใด กราบขออภัยมา ณ ที่นี้


แนวทางที่คิดว่า สามารถเอาไปปรับใช้ได้ในอนาคต....

  • นักเรียนสามารถเอาไปใช้วางแผนการผลิต ถ้าในอนาคตอยากประกอบธุรกิจส่วนตัวอาจนำไปใช้สำรวจตลาดก่อนวางขาย
  • ทำความเข้าใจเรื่องอุปสงค์/อุปทานได้ง่ายขึ้น
  • ต่อยอดไปสู่การอ่านกราฟอื่น ๆ ในวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ เช่น กราฟที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น กรณีราคาหมูแพง น้ำมันแพง กราฟจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร


ดูผลงานที่นักเรียนทำได้เลย...


สุดท้ายนี้.......[เนื้อหา หรือความเข้าใจผิด หรือข้อมูลผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้]

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 15

ชื่อไฟล์​: 1.jpg

ดาวน์โหลดแล้ว 164 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(11)
เก็บไว้อ่าน
(15)