โห่วววว อุปสงค์ !! โห่วว อุปทาน !! โห่ววววว กราฟก็มา...พ่วงด้วยราคาดุลยภาพ อุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน(ของล้นตลาด) อุปสงค์ส่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด)
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ รวบอยู่ในกราฟกราฟเดียว...แล้วหนูจะเขียนกราฟกันได้ไหม??
โจทย์คือ อยากให้นักเรียนเข้าใจความหมายเบื้องต้นของอุปสงค์ อุปทาน ภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับราคา ภาวะดุลยภาพ ถ้าเขาจะต้องขายของเขาควรจะกำหนดราคาเท่าไหร่ สินค้าจึงจะขายได้ และขายหมดด้วย โดยให้เขามองและทำความเข้าใจจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ โดยการวาดกราฟ
Tip
ทำให้ดู เป็นตัวอย่าง
ลอง ทำไปพร้อม ๆ กัน 1 โจทย์
ด้วยตัวเอง ตามโจทย์ที่ให้ไป (บันทึกวีดิโอการสอนไว้ให้)
กิจกรรม
*** โจทย์ถ้าให้นักเรียนไปสำรวจราคาเอง หรือ ไม่ก็ใช้ราคาสินค้าจริง ๆ จะทำให้ นร. เข้าใจภาวะเศรษฐกิจได้ดีขึ้น
*** โจทย์ที่เห็นเป็นราคาสมมุติ
ในตัวอย่างเส้นประที่ลากจากจุดตัดออกไป ราคาดุลยภาพ ประมาณ 16,000 บาท ปริมาณ 60 เครื่อง (P=16,000 , Q=60)
ตัวอย่าง พื้นที่สีเหลือง ที่ราคา 25,000 บาท อุปสงค์(เขียว) ปริมาณ 20 ไปไม่ถึง เส้นชมพู แปลว่า อุปสงค์ขาด ขณะที่ อุปทาน(แดง) ปริมาณ 150 เกินเส้นสีชมพูไป ดังนั้น ที่ราคา 25,0000 บาท เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน (ของล้นตลาด) อุปทานจากคนขายออกมาขาย 150 เครื่อง แต่อุปสงค์มีกำลังซื้อในปริมาณ 5 เครื่อง ทำให้เหลืออีก 145 เครื่อง เพราะมองว่าสินค้าราคา แพง (เป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน)
พื้นที่สีฟ้า ที่ราคา 5,000 บาท อุปสงค์(เขียว) ปริมาณ 100 เกินเส้นชมพู แปลว่า อุปสงค์เกิน ขณะที่ อุปทาน(แดง) ปริมาณ 10 ไปไม่ถึงสีชมพู ดังนั้น ที่ราคา 5,0000 บาท เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด) อุปทานจากคนขายออกมาขาย 10 เครื่อง แต่อุปสงค์มีกำลังซื้อมากในปริมาณ 100 เครื่อง ทำให้เหลืออีก 90 เครื่อง เพราะคนซื้อมองว่าสินค้าราคา ถูก จึงต้องการมาก แต่คนขายมองว่า ราคาถูกเกินไปจึงนำออกมาขายน้อย (เป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน)
จุดตัด เกิดภาวะ ดุลยภาพ คือ คนซื้อกับคนขายสามารถตกลงราคากันได้ที่ราคา 16,000 บาท ปริมาณซื้อขาย 60 เครื่อง สินค้าหมดพอดี (ตามทฤษฎี)
ตัวอย่าง ของ นร. ผิดพลาดประการใด กราบขออภัยมา ณ ที่นี้
แนวทางที่คิดว่า สามารถเอาไปปรับใช้ได้ในอนาคต....
ดูผลงานที่นักเรียนทำได้เลย...
สุดท้ายนี้.......[เนื้อหา หรือความเข้าใจผิด หรือข้อมูลผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้]
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย