inskru
gift-close

"ไฟป่า" พิบัติภัยใกล้ตัว

0
0
ภาพประกอบไอเดีย "ไฟป่า"  พิบัติภัยใกล้ตัว

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด Geo-Literacy มาบูรณาการ เรื่อง พิบัติภัยใกล้ตัว (ไฟป่า) เพื่อให้วิเคราะห์เชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) กับเหตุการณ์ไฟป่า ซึ่งพบว่า เมื่อเกิดไฟป่าขึ้น ความยุ่งเหยิงและวุ่นวายจะเต็มไปหมด สุดท้ายนำไปสู่คำตอบที่เป็นข้อสรุปว่า ต้องให้มันไม่เกิดขึ้นมาจะดีที่สุด

เริ่มต้นครูชักชวนนักเรียนดูคลิปวีดีโอ เหตุการณ์จริงของไฟไหม้ป่าบนเนื้อที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับอำเภอหนองบัวแดงอันเป็นท้องถิ่นที่อยู่ที่อาศัยของนักเรียน

Link VDO : youtube.com/watch?v=HSkCAi3Iiy0&t=12s

จากนั้น ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม อย่างไรบ้าง


ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับสลาก เพื่อรับบทบาทสมมุติจากเหตุการณ์ไฟป่า ว่ามีสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบ และมีผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) กับเหตุการณ์ไฟป่า กลุ่มใดบ้าง ดังนี้ 

- กลุ่มที่ 1 ชาวบ้านในพื้นที่

- กลุ่มที่ 2 สัตว์ป่า

- กลุ่มที่ 3 ต้นไม้

- กลุ่มที่ 4 เจ้าหน้าที่รัฐ

- กลุ่มที่ 5 นายทุน

- กลุ่มที่ 6 นักท่องเที่ยว

- กลุ่มที่ 7 นักข่าว

- กลุ่มที่ 8 ผู้คนนอกพื้นที่


จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์บทบาทของตนเองที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) กับเหตุการณ์ไฟป่า ทั้งในฐานะผู้เป็นต้นเหตุ ผู้ได้ผลกระทบ ผู้ได้ประโยชน์ ผู้เสียประโยชน์ ผู้อยู่เบื้องหลัง และผู้ที่ต้องรับผิดชอบ


เมื่อนักเรียนวิเคราะห์เสร็จจึงได้นำเสนอบทบาทของกลุ่มตัวเองว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไฟป่าอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งให้นักเรียนโยงเชือกความสัมพันธ์ของตัวเองไปยังกลุ่มคนอื่นที่ได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบจากเหตุการณ์ไฟป่า






เมื่อนักเรียนโยงเชือกความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ครูจึงให้นักเรียนลองเก็บเชือกกับให้เรียบร้อยเพื่อให้นักเรียนลองแก้ปัญหาดูว่าถ้าหากจะเริ่มแก้ปัญหาจากต้นเหตุของไฟป่าควรจะเริ่มที่ไหน ซึ่งนักเรียนพบว่า การแก้ปัญหาไฟป่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีความวุ่นวายและยุ่งเหยิงเต็มไปหมด คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้เพียงกลุ่มเดียวแต่ต้องร่วมด้วยช่วยกันทั้งหมด จึงจะสามารถที่จะเก็บเชือกกลับมาให้เหมือนเดิมได้ ซึ่งก็เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาไฟป่าที่ทุกคนทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน



เมื่อนักเรียนสามารถให้วิเคราะห์เชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) กับเหตุการณ์ไฟป่า ทั้งผู้เป็นต้นเหตุ ผู้ได้ผลกระทบ ผู้ได้ประโยชน์ ผู้เสียประโยชน์ ผู้อยู่เบื้องหลัง และผู้ที่ต้องรับผิดชอบ และนำไปสู่คำตอบว่า #ต้องให้มันไม่เกิดขึ้นมาจะดีที่สุด แล้วจากนั้น ครูให้นักเรียนทุกคนได้นำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ได้และเหมาะสมเป็นรูปธรรม รวมไปถึงการสร้างความตระหนักในการร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของท้องถิ่น

-----------------------------------------

นอกจากการแก้ปัญหาด้วยการป้องกันไม่ให้ไฟป่าเกิดขึ้นแล้ว ครูยังต้องชวนนักเรียนให้รู้จักการรับมือหากเกิดปัญหาไฟป่าขึ้น และพานักเรียนไปสู่การหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกิจกรรมหรือกระบวนการที่นักเรียนสามารถทำได้ เช่น การร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นสร้างแนวป้องกันไฟป่า ในการออกค่ายพัฒนาผู้เรียนของกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาดวันพุธ, การจัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวังพิบัติภัยไฟป่าระดับพื้นที่ในชุมชนของตนเอง การเตรียมความพร้อมและซักซ้อมเผชิญเหตุร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงกระบวนการเอาตัวรอดเมื่อเจอกับสถานการณ์ไฟป่าหรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้ เป็นต้น

กระบวนการทั้งหมดทั้งมวลนี้จะสอดคล้องกับแนวคิด กระบวนการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ Geo-Literacy

อันเป็นการจัดการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ โดยให้นักเรียนได้ค้นคว้า

และคิดระดับสูง ที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เพื่อพัฒนาให้นักเรียนสามารถปรับตัวและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสังคม และเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ


ไฟล์ที่แบ่งปัน

    #CBETeacher#ShowandShareCase#ก่อการครูCBEaward#Geo-Literacy

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ