inskru
gift-close

รายงานผลการแก้ปัญหานักเรียนขาดทักษะการคิด

0
0
ภาพประกอบไอเดีย รายงานผลการแก้ปัญหานักเรียนขาดทักษะการคิด

แก้ปัญหาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ใบงานทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 #CR ภาพจาก https://youtu.be/lAd686quD_M?t=3

รายงานผลการแก้ปัญหาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ใบงานทักษะการคิดอย่าง

มีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

 

ความเป็นมาและความสำคัญ

            การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกระบวนการคิดที่ใช้เหตุผลมีการศึกษา ข้อเท็จจริง หลักฐานและข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ แล้วนำมาพิจารณาวิเคราะห์ อย่างสมเหตุสมผล ก่อนตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ ผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ จะเป็นผู้ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลไม่ยึดถือความคิดเห็นของตนเอง ก่อนที่จะตัดสินใจเรื่องใดก็จะต้องมีข้อมูลหลักฐานเพียงพอและสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองให้เข้ากับความคิดเห็นของผู้อื่นได้ ถ้าผู้นั้นมีเหตุที่เหมาะสมถูกต้องกว่า เป็นผู้มีความกระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูลและความรู้ กล่าวได้ว่าผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณจะเป็นผู้ที่มีเหตุผล

            แนวทางการจัดกิจกรรเพื่อส่งเสริมการคิด ให้กับเด็กและเยาวชน ดังนี้

1.      สร้างความกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น (Curiosity) โดยต้องได้รับการกระตุ้นยั่วยุโดยใช้สื่อ

คำถาม กิจกรรม

2.      ฝึกให้มีความกล้าเสี่ยง (Risk Taking) กล้าคิดแตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ กล้าเสี่ยงที่จะสร้างสิ่ง

ใหม่หรือแตกต่างจากเดิม โดยใช้สถานการณ์ที่ยั่วยุให้คาดการณ์และคาดเดาสิ่งต่างๆซึ่งอาจมีคำตอบหลายๆแนวทาง

3.      ความยุ่งยากซับซ้อน (Complexity) ความยุ่งยากซับซ้อนจะทำให้เกิดการพัฒนา ความคิด

ระดับสูงได้ ต้องพัฒนาจากง่ายไปหายาก กิจกรรมที่ใช้และระดับความยากง่ายต่อต้อง สอดคล้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน

4.      กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ (Imagination) เด็กต้องได้รับการกระตุ้นให้มีความคิดจินตนาการ

สร้างสรรค์อย่างหลากหลาย ทั้งที่เป็นเป็นการจินตนาการ จากนิทานจากประสบการณ์เดิม จากเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว จากความรู้สึกของตนเอง

5.      ฝึกฝนให้ใจกว้าง (Open Mind) เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้ทำงานกลุ่มการอภิปรายกลุ่มการรับฟัง

และยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ยอมรับในเหตุผลและข้อมูลของกลุ่ม หรือของคนอื่นที่ดีกว่าหรือมีมากกว่า

6.      สร้างความมั่นใจในตนเอง (Self Confidence) ความมั่นใจในตนเอง จะทำให้เด็กได้มีพัฒนาการ

การคิดและกล้าแสดงออกซึ่งความคิด การเลือกสรรกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมจะทำให้เด็กล้าออก เริ่มจากการการตั้งคำถามง่ายๆ การแสดงออกอย่างง่ายแล้วแล้วยากขึ้นตามลำดับการเล่นและการทำงานเป็นกลุ่ม แล้วลดลงจนเหลือคนเดียว ซึ่งการแสดงออกของเด็ก ต้องได้รับกำลังใจและการสนับสนุน จะทำให้เด็กมีความมั่นใจมากขึ้น   ปัจจุบันผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์โดยใช้ Google Meet เมื่อครูตั้งคำถามและถามนักเรียน พบว่า นักเรียนไม่มีความเชื่อมั่นในการตอบคำถาม และไม่มั่นใจในการตอบคำถาม อาจมีสาเหตุมาจากนักเรียนขาดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่ชอบที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และขาดความกระตือรือร้น  ทำให้ผู้สอนสนใจที่จะแก้ปัญหานักเรียนขาดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพราะถ้านักเรียนได้รับการแก้ปัญหา หรือ พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนจะกล้าเผชิญกับปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลาย เช่น โจทย์ข้อสอบที่ซับซ้อน บทอ่านใกล้ตัว หรือไกลตัว และทำให้นักเรียนจะมีแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล้าตอบคำถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งงาน หรือ การบ้านมากขึ้น

            วัตถุประสงค์

1.      เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้แบบฝึกพัฒนาการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ

2.      เพื่อส่งเสริมความกล้าแสดงออก และความมั่นใจในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน

3.      เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่สูงขึ้น

 

         กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

1.     การวางแผนและออกแบบกิจกรรม

      - ร่วมกันคิดและวางแผนร่วมกันในการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่พบจากการจัดการเรียนการสอน /การปฏิบัติงาน (รูปแบบ/วิธีการ/นวัตกรรม ) และจะนำไปปฏิบัติจริง ตามแนวทางดังนี้

           1. แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาคือ การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

          2. ชื่อกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

           3. ขั้นตอนวิธีสอนหรือขั้นตอนในการดำเนินการแก้ปัญหาโดยใช้แนวทางที่เลือก

วิธีสอนหรือขั้นตอนในการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 3 ระยะดังนี้

         ระยะที่ 1 ระยะต้น

                  3.1 ตั้งปัญหา

                  3.2 ตั้งสมมติฐาน

                  3.3 วางแผนแก้ปัญหา

         ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา

                  3.4 เก็บรวบรวมข้อมูล

         ระยะที่ 3 ระยะสรุป

                  3.5 สรุปผล

                  3.6 การตรวจสอบและการประเมินผล

            4. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ที่

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1

ใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ทำใบงาน

 

2.     การร่วมกันอภิปราย และกำหนดกรอบเวลาการนำไปปฏิบัติจริง ดังนี้

-         การสรุปผลการอภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเลือกนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา

2.1  ข้อเสนอแนะ/ความเห็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ คือ ใบงานที่ใช้ในการพัฒนาทักษะ

คิดอย่างมีวิจารณญาณควรมีความยากง่าย

2.2  สรุปความเห็นของผู้เชี่ยวชาญผสานกับความคิดเห็นของกลุ่ม คือ ใบงานที่ใช้ในการพัฒนาทักษะ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณควรสร้างและออกแบบให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหานักเรียน

-         กำหนดเวลาในการทดลองแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการ/สื่อ-นวัตกรรม

ลำดับ

ขั้นตอน/กระบวนการทดลอง

วันเดือนปี

จำนวนชั่วโมง

จำนวนนักเรียนที่ใช้

1

ทดลองใช้ใบงานการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

8 ธันวาคม 64

50 นาที

5/1 (32 คน)

 

3.     การนำสู่การลงมือปฏิบัติ/สังเกตการสอน 

-         การสังเกตการสอน ครั้งที่ 1

3.1 ผู้สังเกต/เยี่ยมชั้นเรียน  นางฐิติมา วุฒิจินดาศรี

ผู้รับการสังเกต/เยี่ยมชั้นเรียน นายเอกราช  รักเมือง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564

สถานที่ โรงเรียนเคียนซาพิทยาคม

3.2  สิ่งที่พบขณะสังเกตการณ์สอน/เยี่ยมชั้นเรียน

-พฤติกรรมการเรียนที่พบ นักเรียนให้ความสนใจ และกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม เช่น การ

ตอบคำถาม และการตั้งคำถามถามกับต่อครูผู้สอน

- พฤติกรรมการสอน

ครูใช้รูปภาพฉากตัวละคร เพื่อจูงใจนักเรียนในการตอบคำถามโดยใช้ภาพเป็นแรงกระตุ้น หรือ

แรงจูงใจให้นักเรียนมั่นใจในการตอบคำถาม

- การพูดคุยหลังจากสังเกตการสอน

ครูรู้สึกมีความสุขมากที่นักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดการเรียนการสอน

                  จุดเด่น คือ ครูใช้สื่อYou Tube ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน

จุดควรพัฒนา คือ ครูปรับการพูดให้ช้าลงเพื่อให้นักเรียนได้ฟังอย่างเข้าใจ หรือ ตามสิ่งที่ครูกำลัง

บรรยาย หรือ อธิบาย

 

          4. การสะท้อนผล

         - สะท้อนผลการปฏิบัติของตนเอง

4.1 ครูสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ แต่บางขั้นการจัดกิจกรรมมีสดุดบ้างเนื่องจากระบบ

สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร

- สะท้อนความคิดเห็นของสมาชิกภายในกลุ่ม

4.2  ครูสอนได้อย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้นักเรียนสนุกและให้ความร่วมมือในการเรียน

 

5.การสรุปผล และรายงาน

- สรุปผลกิจกรรม PLC (After Action Review; AAR) เกี่ยวกับ ผลที่เกิดจากกระบวนการ ปัญหา

อุปสรรค สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม และการพัฒนาปรับปรุงในครั้งต่อไป

5.1  สรุปผลการดำเนินการ    

- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับดี ขึ้นไป 

จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับดี ขึ้นไป มากกว่า ร้อยละ 80 สรุปว่า บรรลุเป้าหมาย

5.2 ข้อเสนอแนะ

- ครูควรจัดกิจกรรมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในระดับชั้นอื่นๆด้วย

 

 

 

 

6. สรุปสิ่งที่เรียนรู้และการปรับปรุงให้ดีขึ้น

          จากการแก้ปัญหาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ใบงานทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้ผลดังนี้

         6.1 ด้านผู้เรียน

1. นักเรียนกล้าตัดสินใจด้วยตนเอง มีความมั่นใจในตนเองและมีความรู้สึกที่เป็นอิสระเพิ่มมากขึ้น

2. นักเรียนมีการอภิปรายร่วมกันจากประเด็นที่สนใจ หรือ เหตุการณ์ใกล้ตัว

6.2 ด้านกิจกรรม

         1. การจัดกิจกรรมที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมร่วมในการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จักคิดในสิ่งที่เรียน รู้ปัญหา และวิธีแก้ไขสิ่งต่างๆใกล้ตัว

6.3 ด้านครู

1. ครูเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้คอยชี้แนะมากกว่าสอน หรือ สั่ง ทำให้นักเรียนรู้สึกอิสระในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

6.4 ด้านสื่อการสอน /วิธีการ

         1. สื่อใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เมื่อนักเรียนอ่านและครูใช้คำถามฝึกการคิด ทำให้นักเรียนได้ฝึกตามวิธีสอนหรือขั้นตอนในการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 

6.5 ด้านบรรยากาศ /สภาพการในห้องเรียน/ สภาพการปฏิบัติงาน

นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี กล้าและมั่นใจในการตอบคำถามและมีความสุขในการเรียน และที่สำคัญ นักเรียนพยายามตอบคำถามจากใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 

 

       7. การขยายผลและเผยแพร่การพัฒนา

               ในแต่ละกิจกรรมได้นำไปขยายผลและเผยแพร่การพัฒนาในเว็บไซต์ inskru.com

                 

 

 

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ภาษาอังกฤษplc

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insDr. Ekkaraj Rakmuang, Ph.D.
    ครู ดร. เอกราช รักงานสอน

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ