Cities Skylines เป็นเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation) ที่ให้ผู้เล่นได้ออกแบบ สร้างและบริหารจัดการเมืองของตัวเองจนได้ชื่อว่าเป็นเกมสร้างเมืองที่ดีที่สุดตลอดกาล ด้วยรายละเอียดของเกมที่เยอะมากจึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็นสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ในบทความนี้จะพูดถึงระบบการสร้างแผนที่ในเกมและการนำไปใช้ในสาระประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์
โปรแกรมที่ต้องใช้
ขั้นตอนการสร้างแผนที่
กรอบสี่เหลี่ยมคือพื้นที่ขนาดเท่ากับแผนที่ในเกมให้ลากกรอบสีเหลี่ยมครอบคลุมบริเวณที่สนใจ
2. ตั้งค่าที่สัญลักษณ์ (i) มุมบนซ้าย สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ได้ หรือ Auto
3.ดาวน์โหลดภาพ โดยใช้เครื่องมือ ง่ายที่สุดคือเครื่องมือที่สองคือดาวน์โหลดออกมาเป็นไฟล์ .png แต่ถ้าหากต้องการความละเอียดสำหรับปรับแต่งเพิ่มเติมอาจ ดาวน์โหลดเป็นไฟล RAW ภาพที่ได้จะเป็นแผนที่ความสูง (Heightmap)
ตัวอย่าง Heightmap กรุงเทพมหานคร
4.เข้าเกม Cities Skylines เลือกไปที่เครื่องมือ
ไปที่เครื่องมือแก้ไขแผนที่ เลือกธีม แล้วกดสร้าง
5.เข้ามาจะได้แผนที่โล่ง ๆ เรียบ ๆ
เลือกเมนูนำเข้าแผนที่ความสูง
นำ แผนที่ความสูง (Heightmap) ที่เราได้มาใส่ลงใน C:\Users\.......\AppData\Local\Colossal Order\Cities_Skylines\Addons\MapEditor\Heightmaps หรือกดสัญลักษณ์ตามลูกศร เพื่อเปิดโฟลเดอร์แล้วนำแผนที่ความสูงไปใส่
6.เลือกแผนที่ความสูงของพื้นที่ที่เราต้องการแล้วกด นำเข้า ตัวเกมก็จะสร้างแผนที่ที่มีระดับความสูง และพื้นผิวแบบเดียวกับพื้นที่ที่เราต้องการ
7.ใช้เครื่องมือปรับแต่งพื้นที่ให้สวยงามสมจริง ใส่แหล่งน้ำลงไป หากต้องการลายละเอียดมากอาจจ้องเปิดแผนที่ดูควบคู่กันไปหรืออาจจะลง MOD หรือส่วนเสริมของเกมเพิ่ม
ไอเดียการนำไปใช้
ตามรูปแบบของเกมแล้วอาจนำไปใช้สอนภูมิศาสตร์ การบริหารจัดการพื้นที่ การวางผังเมืองหรือใช้สร้างแผนที่สามมิติ
เช่นภูกระดึงจังหวัดเลย
หรืออาจนำไปใช้สอนประวัติศาสตร์เรื่องการตั้งราชธานีของอาณาจักรโบราณ ยกตัวอย่างเช่น ครูพีสอนประวัติศาสตร์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เรื่องการย้ายราชธานี โดยมีเหตุผลหลัก ๆ คือ
1) พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ วัดแจ้ง(วัดอรุณราชวราราม)และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ทำให้ไม่สามารถขยายอาณาเขตของพระราชวังให้กว้างขวางขึ้นได้
2) พระนครแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เป็นเสมือนเมืองอกแตก เพราะหากข้าศึกยกทัพเข้ามาตามลำแม่น้ำ ก็สามารถบุกตีใจกลางเมืองหลวงได้ ทำให้ยากแก่การเคลื่อนพลจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการยากลำบากมาก
3) พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองให้กว้างออกไปได้เรื่อยๆ เพราะส่วนทางฝั่งตะวันออกของพื้นที่เป็นแหลม โดยมีแม่น้ำเป็นกำแพงกั้นอยู่เกือบครึ่งเมือง
4) ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายอยู่เสมอ จึงไม่เหมาะแก่การสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุใดๆ ไว้ริมฝั่งแม่น้ำ
จะเห็นได้ว่าเหตุผลส่วนใหญ่เป็นเหตุผลด้านภูมิศาสตร์แต่ครูและนักเรียนของครูพีเป็นเด็กต่างจังหวัดไม่คุ้นเคยกับพื้นที่กรุงเทพฯ จึงจำลองแผนที่สมัยกรุงธนบุรีมาในเกมโดยใช้แผนที่มาอ้างอิงตำแหน่งของแม่น้ำและคูคลองต่างๆให้ใกล้เคียง
จากการทดลองปรับระดับน้ำให้เพิ่มสูงขึ้นจึงพบว่าบริเวณฝั่งตะวันตกเป็นพื้นที่ต่ำกว่าเมื่อน้ำหลากท่วมก็สามารถใช้ป้องกันข้าศึกได้
คุณครูอาจนำไปใช้กับเมืองอื่นได้อีกเช่น
อยุธยา
เชียงใหม่
สุโขทัย
Cities Skylines เป็นเกมที่มีศักยภาพในการเป็นสื่อการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีแค่ระบบการสร้างแผนที่ก็สามารถนำไปใช้สอนได้อย่างหลากหลาย ในเกมยังมีระบบอีกหลายอย่างที่สามารถนำไปสอนได้ เช่นระบบพลังงาน ผังเมือง การสร้างถนนและสาธารณูปโภค ใครเคยลองใช้ Cities Skylines สอนเรื่องอะไรมาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!