.
เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบตัวเองว่ามีความรู้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังจะอ่านมากน้อยขนาดไหน เช่น การอ่านหนังสือเรื่อง The Little Prince (เจ้าชายน้อย) ของ Antoine de Saint-Exupéry ที่หน้าปกประกอบด้วย asteroid (ดาวเคราะห์น้อย) prince (เจ้าชาย) หรือ rose (ดอกกุหลาบ)
.
ให้นักเรียนได้ดึงเอาประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่จะอ่านออกมาก่อน เช่น ดาวเคราะห์น้อยคืออะไร ถ้าพูดถึงเจ้าชายจะต้องมีลักษณะอย่างไร หรือดอกไม้ในภาพน่าจะเป็นดอกไม้ชนิดใด
.
การ “รื้อ” ความรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังจะอ่าน จะเป็นกระบวนการช่วยตรวจสอบฐานความรู้เดิมที่นักเรียนมี และทำให้นักเรียนพร้อมที่จะเชื่อมโยงฐานความรู้เดิมที่มีเข้ากับสิ่งที่กำลังจะอ่าน นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจสอบความเข้าใจผิด (misconception) ของนักเรียนก่อนที่จะสร้างการเรียนรู้อีกด้วย คุณครูอาจชวนพูดคุย จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสพูดหรือแลกเปลี่ยน เพื่อเอาสิ่งที่อยู่ในหัวนักเรียนมา “กอง” ทิ้งไว้ตรงหน้า
.
เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องที่กำลังจะอ่านบ้าง เช่น Who’s the little prince? (เจ้าชายน้อยเป็นใครกันนะ?) What is the name of the asteroid? (ดาวเคราะห์น้อยในภาพชื่อว่าอะไร?)
.
การให้นักเรียนได้มีโอกาสตั้งคำถามก่อนที่จะอ่าน เป็นการสร้างเป้าหมายในการอ่าน และทำให้นักเรียนเกิดความคาดหวังว่าเรื่องราวที่กำลังอ่านนั้นจะตอบคำถามที่ได้ตั้งเอาไว้หรือไม่ ซึ่งช่วยทำให้นักเรียนได้มีสมาธิและจดจ่อกับการอ่านมากยิ่งขึ้น
.
การที่คุณครูละเลยขั้นตอนนี้ไป จะทำให้นักเรียนไม่เกิดความสงสัยใคร่รู้ในสิ่งที่กำลังจะศึกษา และการขาดเป้าหมายในการอ่านจะทำให้นักเรียนไม่มีแรงจูงใจในการอ่าน ไม่มีสมาธิและไม่จดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังอ่าน เพราะฉะนั้น อย่าลืมใช้เวลาในการช่วยกันตั้งคำถามภายในห้องเรียนล่ะ!
.
เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจตนเอง หลังจากที่อ่านแล้วได้เรียนรู้อะไรบ้าง กระตุ้นให้นักเรียนย้อนกลับไปดูคำถามที่ตนเองตั้งไว้ในขั้นที่ผ่านมา (ขั้น W - What do I want to learn?) ว่าสิ่งที่ตนเองสงสัยได้รับคำตอบที่ต้องการหรือไม่
.
- Who’s the little prince? (เจ้าชายน้อยเป็นใครกันนะ?)
- What is the name of the asteroid? (ดาวเคราะห์น้อยในภาพชื่อว่าอะไร?)
คำถามเหล่านี้ได้รับคำตอบหลังจากที่อ่านหรือไม่ ให้นักเรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน พูดคุย หรือจดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ แต่ถ้าคำถามที่ตั้งไว้ไม่ได้รับคำตอบที่ต้องการ คุณครูอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ถามเพื่อน ๆ ในห้องเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
.
คุณครูจะสังเกตเห็นว่า นอกจากนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้แล้ว ขั้นตอนนี้ยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากคำถามที่ไม่ได้รับคำตอบ ซึ่งช่วยเสริมทักษะความสงสัยใคร่รู้และการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วย
.
ก่อนอ่าน (K - What do I know?) ที่ให้นักเรียนได้รื้อความรู้พื้นฐานที่มีมาเชื่อมโยงกับสิ่งที่กำลังจะอ่าน
.
ระหว่างอ่าน (W - What do I want to learn?) ที่ให้นักเรียนได้ค้นหาว่าสิ่งที่กำลังอ่านนั้นตอบคำถามที่ได้ตั้งไว้หรือไม่
.
หลังอ่าน (L - What did I learn?) ที่ให้นักเรียนได้มองย้อนกลับไปว่าสิ่งที่อ่านนั้นสร้างการเรียนรู้อะไรกับเราบ้าง
.
ขั้นตอนเหล่านี้จะทำให้นักเรียนสร้างเส้นทางการเรียนรู้ในทุก ๆ ครั้งที่ได้ลงมืออ่าน ไม่ใช่แค่การแปลศัพท์ทีละคำเพื่อจับใจความ นอกจากนี้คุณครูอยากสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทักษะอื่นในวิชาภาษาอังกฤษอีกด้วย เช่น ทักษะการฟัง (Listening skill)
ใครมีเทคนิคในการสอนนักเรียน
อ่านภาษาอังกฤษนอกเหนือจากนี้
คอมเมนต์ที่ใต้โพสต์นี้ได้เลย!
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!