inskru
gift-close

การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

0
0
ภาพประกอบไอเดีย การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้แบบฝึกหรือใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ผลการดำเนินกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

(Professional Learning Community : PLC )

ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 

และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

 สรุปผลการดำเนินงาน 

           จากการแก้ปัญหาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ใบงานทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้ผลดังนี้

1. ด้านผู้เรียน

1. นักเรียนกล้าตัดสินใจด้วยตนเอง มีความมั่นใจในตนเองและมีความรู้สึกที่เป็นอิสระเพิ่มมากขึ้น

2. นักเรียนมีการอภิปรายร่วมกันจากประเด็นที่สนใจ หรือ เหตการณ์ใกล้ตัว

2. ด้านกิจกรรม

การจัดกิจกรรมที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมร่วมในการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จักคิดในสิ่งที่เรียน รู้ปัญหา และวิธีแก้ไขสิ่งต่างๆใกล้ตัว

3. ด้านครู

ครูเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้คอยชี้แนะมากกว่าสอน หรือ สั่ง ทำให้นักเรียนรู้สึกอิสระในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

4. ด้านสื่อการสอน /วิธีการ

สื่อใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เมื่อนักเรียนอ่านและครูใช้คำถามฝึกการคิด ทำให้นักเรียนได้ฝึกตามวิธีสอนหรือขั้นตอนในการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 

5. ด้านบรรยากาศ /สภาพการในห้องเรียน/ สภาพการปฏิบัติงาน

นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี กล้าและมั่นใจในการตอบคำถามและมีความสุขใน

การเรียน และที่สำคัญ นักเรียนพยายามตอบคำถามจากใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 

อภิปรายผลการดำเนินงาน

1. ผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการ PLC

การแก้ปัญหาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณช่วยให้นักเรียนได้รับการทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 

2. ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน / ครู / สมาชิกที่เข้าร่วมเครือข่าย PLC

1. นักเรียนได้รับการทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มมากขึ้น

2. ครูได้เปลี่ยนบทบาทจากครูที่ชอบสั่งเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะนักเรียน

3. สมาชิกที่เข้าร่วมเครือข่าย PLC มีความสุขในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

 ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน (ตามวัตถุประสงค์ / เป้าหมาย)

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 4/1 4/3 และ 5/1 ได้รับการทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และ มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 84.51 สรุป บรรลุเป้าหมาย

8. ร่องรอย/หลักฐาน

1. ใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

2. ภาพการจัดการเรียนการสอนผ่านรูปแบบออนไลน์โดยใช้ Google Meet

9. ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

1. การร่วมมือกันหาวิธีแก้ปัญหาด้วยพลังคิดบวก

10. ปัญหา /อุปสรรค ข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน

-ไม่มี-

11. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานในครั้งนี้

การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการเติมเต็มซึ่งกันและกัน

12. ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป

การพยายามฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ

12. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้แบบฝึกหรือใบงานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    plcภาษาอังกฤษภาษาไทยสังคมศึกษาการงานอาชีพ

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insDr. Ekkaraj Rakmuang, Ph.D.
    ครู ดร. เอกราช รักงานสอน

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ