ห้องเรียนแห่งความสุข ห้องเรียนแห่งการแลกเปลี่ยนความคิด ห้องเรียนแห่งการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนแห่งความเสมอภาค
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง และสร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการสืบค้น วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และทฤษฎี เริ่มจาการตั้งคำถามผ่านสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน สิ่งใกล้ตัว ประเด็นทางสังคมที่นักเรียนสนใจ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะและฝึกกระบวนการตั้งคำถาม ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินการโต้แย้งเพื่อหาคำตอบผ่านกระบวนการทดลอง ปฏิบัติหรือสืบค้น แล้วนำผลข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และใช้เป็นหลักฐานในการสร้างคำอธิบายและสังเคราะห์ออกมาเป็นคำอธิบายของตนเอง รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับครูและระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองเพิ่มขึ้น ผู้สอนรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น ทำให้บรรยากาศการเรียนรู้มีความเป็นกันเองและเกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้ สามารถสังเกตได้จากสีหน้า มีเสียงหัวเราะ ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และการปฏิบัติกิจกรรม การกล้าแสดงความคิดเห็นหรือตั้งคำถามและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และนอกเวลาเรียนหากผู้เรียนคนใดหรือกลุ่มใดมีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับการเรียนการสอนผู้เรียนมักจะมาถามครูผู้สอนเสมอ
การจัดการเรียนรู้โดยการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์รูปแบบออนไลน์ รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องอาหาร
1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์รูปแบบออนไลน์ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สงเสริมให้นักเรียนพยายามสนับสนุน คัดค้าน หรือปรับปรุงข้อกล่าวอ้างทางวิทยาศาสตร์ (Scientific claim) เพื่อนำไปสู่การยืนยันความถูกต้องและการลงข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ บนพื้นฐานของข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือการลงมือทำการทดลองด้วยตนเองร่วมกับการให้เหตุผลเพื่อเชื่อมโยงข้อมูล และนำความรู้ที่ผ่านการตัดสินใจว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ โดยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ดังนี้
2) บริบทที่นำมาใช้ในการสร้างสถานการณ์ในบทเรียนควรเป็นบริบทที่อยู่ใกล้ตัวผู้เรียน เป็นสถานการณ์ที่นักเรียน มีโอกาสได้รับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม นักเรียนมีโอกาสสนับสนุน คัดค้าน หาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือมาโต้ตอบต่อผู้อื่นในประเด็นที่น่าสนใจหรือประเด็นที่กำลังอภิปรายร่วมกัน ผ่านการนำเสนอข้อมูลในรูปของข้อกล่าวอ้าง หลักฐาน และการให้เหตุผล เพื่ออธิบายหรือพิสูจน์แย้งตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จนได้ข้อสรุปที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ร่วมกัน เช่น 1) การโต้แย้งในหัวข้อ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอันตรายจริงหรอ” ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงกับบริบทของอาหารเสริมที่มีจำหน่ายตามโลกออนไลน์ในปัจจุบัน โดยให้นักเรียนโต้แย้งเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนอันตรายหรือไม่อันตราย นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของกลุ่มตนเอง หลังการโต้แย้งพบข้อสรุปร่วมกันว่า “การรับประทานอาหารเสริมต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น หากเป็นคนไม่กินผัก ผลไม้ อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางประเภท จึงสามารถรับประทานอาหารเสริมเพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดได้ แต่ถ้าหากรับประทานสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอต่อการกายอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมก็ได้ รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารเสริม ต้องคำนึงความปลอดภัย แหล่งที่มา ปริมาณส่วนประกอบที่องค์การอาหารและยากำหนด เพื่อความปลอดภัยต่อการบริโภค”
3) กิจกรรมการเรียนรู้โดยการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์รูปแบบออนไลน์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ออกแบบหรือสร้างสรรค์นวัตรกรรมที่เป็นชิ้นงาน (Product) หรือวิธีการ (Protocols) ที่แตกต่างหรือนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาด้วยวิธีการใหม่ ๆ โดยบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง กิจกรรมการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติ ซึ่งควรเป็นกิจกรรมมีลักษณะยืดหยุ่น ดังนั้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรเน้นการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงที่ผู้เรียนแสดงออกในขณะทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรมนั้น
โดย นางสาวสุภาวดี สุกดำ นายเกียรติชัย ด้วงเอียด (ครู โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง) อาจารย์ ดร.ฮามีด๊ะ มูสอ และนักเรียนโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!