กล่าวชื่นชมกับนักเรียนในความกล้าแสดงออกและความมีส่วนร่วมในห้องเรียน บอกกับเขาว่าคุณครูรู้สึกดีมาก ๆ ที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมดังกล่าว แม้ว่าการตอบคำถามในครั้งนั้นยังไม่ถูกต้อง แต่คุณครูยังคงอยากให้พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ภายในห้องเรียน
ตัวอย่างเช่น “ครูขอชื่นชมที่เธอพยายามตอบคำถามนี้ ดีมากเลย”
.
ป้อนกลับข้อมูลให้นักเรียนได้รับรู้ถึงความผิดพลาดที่ตนเองต้องแก้ไข เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนา และลดโอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมเหล่านั้นอีก
ตัวอย่างเช่น “แต่เธออาจจะยังสับสนระหว่างคำว่า software กับ soft power นะ” “เราลองมาหาความหมายของสองคำนี้ด้วยกันไหม ดูซิว่าจะมีความหมายแตกต่างกันอย่างไร”
ยืนยันกับนักเรียนว่าการตอบผิดไม่ใช่เรื่องแย่ หรือเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ทุกคนล้วนทำผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น บอกให้เขารู้ว่าความผิดพลาดนี้จะทำให้เขาเติบโตขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในชีวิต อาจปิดท้ายประโยคด้วยการให้กำลังใจจากคุณครู
ตัวอย่างเช่น “ครั้งนี้ตอบผิดไม่เป็นไรนะ ครั้งหน้าเอาใหม่!”
.
การที่นักเรียนตอบผิดหรือพูดผิดนั้น เป็นสัญญาณที่รอให้คุณครูเข้าไปให้ฟีดแบคเพื่อให้เกิดการเติบโต การตอบคำถามผิดไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจผิดต่อไปเรื่อย ๆ คุณครูอย่าลืมใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้ในห้องเรียน และค่อย ๆ พานักเรียนเติบโตไปด้วยกันนะ
.
เพื่อน ๆ สามารถศึกษาเทคนิคการให้ Feedback เพิ่มเติมได้จาก
https://www.facebook.com/InskruThailand/photos/4941052732676892
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!