icon
giftClose
profile
frame

ตัวอย่างการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเล็ก

195930
ภาพประกอบไอเดีย ตัวอย่างการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเล็ก

วิทยาศาสตร์ไม่ได้มีแค่การทดลอง

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ไม่ได้มีเพียงแค่การทดลองสนุกๆเท่านั้น

แต่ยังต้องคำถึงทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กควรจะได้จากการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ด้วย เช่น ทักษะการสังเกตุ ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการใช้จำนวน ทักษะการลงความเห็นข้อมูล ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา และทักษะการพยากรณ์ โดย 3 ทักษะหลังเด็กปฐมวัยอาจจะเข้าใจได้ยากแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย โดยตัวอย่างที่ยกมาในวันนี้คุมตีมเกี่ยวกับการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส(เป็นกรดอ่อนและเบสอ่อน อ่อนมากๆและส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่หาได้ทั่วไป) นอกจากจะสนุกแล้วยังได้ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ครบทั้ง 8 ข้อเลยด้วย

การทดลองแรกคือ การทดลองหารเกิดปฏิกิริยาของสารชนิดต่างๆ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • น้ำเปล่า
  • น้ำส้มสายชู
  • น้ำตาล
  • เกลือ
  • เบกกิ้งโซดา

ก่อนจะทำการทดลองก็มาฝึกทักษะการสังเกตุกันสักหน่อย ลองให้เด็กใช้แว่นขยายส่องดูสารต่างๆ ดูความต่างของสี ลักษณะเม็ด

และลองดมกลิ่นสาร โดยใช้วิธีการดมสารที่ถูกต้อง ไม่ได้สูดเอาไปโดยตรง

วิธีการทดลองคือ ให้เด็กๆตัดสาร 3 อย่าง ได้แก่ เกลือ น้ำตาล และ เบกกิ้งโซดา ใส่ในช่องที่ทำน้ำแข็ง(หาซื้อได้ตามร้านทุกอย่าง20 ควรเป็นสีขาวจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัด) โดยตักใส่สารละ 2 ช่อง

ต่อไปคือหยดน้ำเปล่าและน้ำส้มสายชูลงไปในสารแต่ละตัวและรอดูการเปลี่ยนแปลง พอเจอฟองฟู่แล้วตื่นเต้นกันมากกกกก

เมื่อทดลองเสร็จก็มาบันทึกผลกันลงในตารางบันทึกผล โดนเด็กๆเป็นคนวาดรูปเองและคุณครูเป็นคนเขียนบันทึกให้ เป็นการฝึกทักษะทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

โดนสรุปผลการทดลองได้ว่า น้ำส้มสายชู+เบกกิ้งโซดา จะได้ฟองฟู่ขึ้นมา

การทดลองต่อมาคือ เปรียบเทียบการเกิดปฏิกิริยาของเบกกิ้งโซดาในปริมาณที่ต่างกัน

โดยเป็นการต่อยอดการทดลองจากการทดลองที่ 1

โดยมีอุปกรณ์ต่อไปนี้

  • เบกกิ้งโซดา
  • น้ำส้มสายชู
  • ลูกโป่ง
  • ขวดเปล่า

วิธีการทดลอง ตวงเบกกิ้งโซดาใส่ลูกโป่งโดนแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม โดย กลุ่ม1 ตวงเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ กลุ่ม 2 สองช้อนโต๊ะ กลุ่ม 3 สามช้อนโต๊ะ

และตวงน้ำส้มสายชูโดยใช้บีกเกอร์หรือใช้อะไรก็ได้ที่สามารถตวงได้ปริมาตรที่เท่ากัน การทดลองนี้เรากำหนดที่ 250 ml.นะคะ โดยใช้สติ๊กเกอร์ติดไว้ที่ขีดจำนวนที่ต้องการ

เทลงขวดและนำลูกโป่งที่มีเบกกิ้งโซดามาครอบปากขวดและเทเบกกิ้งโซดาลงไป

รอจนเกิดปฏิกิริยา และเปรียบเทียบความต่างของลูกโป่งที่ใส่เบกกิ้งโซดาในปริมาณที่ต่างกัน

สุดท้ายบันทึกผลที่ได้ลงในตารางบันทึกผลการทดลอง โดยสรุปผลการทดลองได้ว่า ลูกโป่งที่ใส่เบกกิ้งโซดามากที่สุดจะพองมากที่สุดเป็นการอธิบายเรื่องความสัมพันธ์ของจำนวนเบกกิ้งโซดาและความใหญ่ของลูกโป่ง ใช้ทักษะการวัด ทักษะการลงความเห็นข้อมูล และยังได้ใช้ทักษะการพยากรณ์ พยากรณ์ว่าถ้าใส่เบกกิ้งโซดาเพิ่มเป็น 4 ช้อน 5 ช้อน ไปเรื่อยๆ ขนาดของลูกโป่งจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

การทดลองที่ 3 การเปรียบเทียบการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสต่างชนิดกัน

เราทราบอยู่แล้วจากการทดลองที่ 1และ2 ว่าปฏิกิริยาระหว่างน้ำส้มสายชู(กรด)และเบกกิ้งโซดา(เบส) คือจะมีฟองฟู่ขึ้นมาและทำให้ลูกโป่งขยายใหญ่ได้(เกิดก๊าซ) การทดลองจะเป็นการเปรียบเทียบการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสชนิดอื่นบ้างเพื่อเป็นการเปรียบเทียบกัน

โดยมีอุปกรณ์ดังนี้

  • น้ำส้มสายชู
  • น้ำเปล่า
  • น้ำอัดลม
  • เบกกิ้งโซดา
  • ลูกอมเมนทัล
  • ยาลดกรด
  • ขวดเปล่า
  • ลูกโป่ง

วิธีการทดลองเหมือนการทดลองที่2 เลย แค่เปลี่ยนคู่สารที่ใช้ทดลอง เป็น น้ำส้อมสายชู+เบกกิ้งโซดา,น้ำอัดลม+ลูกอมเมนทัลและน้ำเปล่า+ยาลดกรด

สรุปการทดลองได้ว่า น้ำส้มสายชู+เบกกิ้งโซดา ลูกโป่งมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด และจากการค้นข้อมูลจากใบความรู้ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยทำให้ทราบว่าการผสมน้ำส้มสายชูกับเบกกิ้งโซดาทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์มากที่สุด เพราะลูกโป่งพองมากที่สุด

การทดลองที่4 จรวดพลังน้ำส้มสายชู

เมื่อรู้แล้วว่า น้ำส้มสายชู+เบกกิ้งโซดา ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่นี่รู้แล้วนำไปใช้ทำอะไรได้? อย่างแรกเลยคือ จรวดพลังน้ำส้มสายชู

โดยเตรียมอุปกรณ์ต่อไปนี้

  • น้ำส้มสายชู
  • เบกกิ้งโซดา
  • กระดาษทิชชู่
  • จุกยาง เบอร์11 (ถ้าไม่มีใช้ดินน้ำมันแข็งๆได้ค่ะหรือจุกไม้ก็ได้)
  • ขวดน้ำขนาดไม่เกิน 600ml (ถ้าใช้ขวดใหญ่อาจจะหนักเกินไปจรวดไม่ขึ้นค่ะ)

วิธีการทดลอง เทน้ำส้มสายชูลงในขวดค่ะ ตวงใส่บีกเกอร์ให้ได้ 250ml.

ห่อเบกกิ้งโซดาด้วยกระดาษทิชชู่โดยใช้กระดาษทิชชู่ 2 ชั้น โดยทดลอง กลุ่ม 1 ใช้เบกกิ้งโซดาหนึ่งช้อน กลุ่ม 2 ใช้เบกกิ้งโซดาสองช้อน กลุ่ม 3 ใช้เบกกิ้งโซดาสามช้อน เปรียบเทียบว่าจรวดกลุ่มไหนไปได้ไกลกว่ากัน

ทดลองปล่อยจรวด โดยใส่ทิชชู่ห่อเบกกิ้งโซดาลงไปแล้วรีบนำจุกยางปิดจุกไว้แล้วคว่ำลง ต้องให้เด็กๆรีบถอยนะคะเพราะอาจจะได้รับอันตรายตอนจรวดตกได้ (คลิปวิดีโอตอนปล่อยจรวดอยู่ท้ายไอเดียนะคะ)

เมื่อปล่อยจรวดเสร็จก็ทำการวัดระยะโดนวัดด้วยการเอารองเท้ามาต่อกันค่ะ 5555+ เป็นหน่วยวัดมาตรฐานที่กำหนดกันเอง โดนผลการทดลองตามภาพอาจจะขัดแย้งกับการทดลองที่ 2 ที่ว่ายิ่งใส่เบบกิ้งโซดาเยอะยิ่งเกิดก๊าซเยอะ เพราะมีปัจจัยอื่นมากกว่านั้น คือการปิดจุกยางยิ่งปิดเน้นยิ่งเกิดการอัดก๊าซเยอะทำให้ไปได้ไกลค่ะ กลุ่ม3 ไม่ค่อยเน้นเลยทำให้จรวดไปได้ไม่ไกลแต่ได้ประสบการณ์จากรอบแรกเลยทำให้ปล่อยรอบที่2 ไปได้สูงตามการทดลองที่2

การทดลองที่ 5 น้ำอัดผม Homemade

การเกิดปฏิกิริยาของน้ำส้มสายชูกับเบกกิ้งโซดานอกจากทำไปต่อยอดสร้างจรวดได้แล้วยังทำน้ำอัดลมโฮมเมดทานกันเองได้ด้วย โดยเปลี่ยนจากน้ำส้มสายชูเป็นน้ำมะนาวแทน เนื่องจากน้ำมะนาวเป็นกรดและถ้าใช้น้ำส้มสายชูมันจะเปรี้ยวแสบไส้กันเกินไป

สูตรแรก น้ำมะนาว+เบกกิ้งโซดา

สูตรสอง น้ำตาล+น้ำมะนาว+เบกกิ้งโซดา (ทีมรีแอคชั่นทำงานดีจริงๆ)

สูตรที่ 3 น้ำหวานกลิ่นครีมโซดา+น้ำมะนาว+เบกกิ้งโซดา

ส่วนรสชาติแต่ละสูตรจากสีหน้าแต่คนเลยค่ะ

บันทึกข้อมูลเสร็จแล้วก็มาเลือกสูตรที่ชอบกันมากที่สุดและสูตรที่ลงความเห็นว่าอร่อยที่สุดก็คือสูตรที่3 นั่นเองงงง

Cheerss!


เป็นไอเดียที่ใช้เวลามากที่สุดตั้งแต่เขียนมาเลยค่ะ หวังจะเป็นประโยชน์ต่อทุกห้องเรียนนะคะ การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเล็กมีเยอะแยะเลยค่ะ แต่อยากให้ทุกคนลองนำมาร้อยเรียงและลองชวนเด็กมองหาความเชื่อมโยงต่อกันของแต่ละการทดลองดูและอย่าลืมชวนเขามองดูวิทยาศาสตร์ที่มันเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเขาด้วยนะคะ อ่ออออ ไม่ต้องกลัวเด็กจะไม่เข้าใจศัพท์ทางวิทยาศาสตร์นะคะ ถ้าเด็กๆเขาสามารถจำชื่อเอเลี่ยน 10 ตัวในนาฬิกา BEN10 ได้ ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่ยากเกินไปแน่นอน แต่อาจจะต้องใช้เวลาครั้งแรกจำไม่ได้ครั้งต่อๆไปก็ได้ค่ะ อย่าพึ่งท้อ **รูปภาพทุกรูปได้รับอนุญาติจากนักเรียนเรียบร้อยแล้วค่ะ**


ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: จรวดติดกิ่งไม้ค่ะ.mp4

ดาวน์โหลดแล้ว 16 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(3)