5 ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เชื่อมโยงกับ 5 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
(เรียนแบบออนไลน์)
วัตถุประสงค์ : เรียนรู้ความเสี่ยงจากโทษภัยของการสูบบุหรี่, เปิดมุมมองความเข้าใจต่อคนที่สูบ และไม่สูบบุหรี่
วิธีการ :
1. ชวนเปลี่ยนชื่อตัวเองในโปรแกรม Zoom เป็น xxx (x ตัวพิมพ์เล็ก 3 ตัว) เพื่อปกปิดตัวตน
2. ชวนกดคำตอบจาก Poll ที่ตั้งขึ้นในโปรแกรม Zoom
คำถามที่ 1 : เคยสูบบุหรี่ไหม ? | เคย หรือ ไม่เคย
คำถามที่ 2 : (สำหรับผู้ที่เคยสูบ) เคยสูบบุหรี่แบบไหน ? | บุหรี่มวน หรือ บุหรีไฟฟ้า
3. ตั้งคำถาม ให้ผู้เรียนพิมพ์ตอบในช่องแชท
คำถามที่ 1 : (สำหรับผู้ที่เคยสูบ) จุดเริ่มต้นที่ทำให้ลองสูบ คืออะไร ?
(สำหรับผู้ที่ไม่เคยสูบ) พิมพ์บอกเหตุผลที่อาจเคยคุยกับผู้ที่สูบบุหรี่
คำถามที่ 2 : (สำหรับผู้ที่ไม่เคยสูบ) ทำไมถึงไม่สูบบุหรี่ ?
คำถามที่ 3 : ผลกระทบของบุหรี่ ต่อตนเอง/คนรอบข้าง/สิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง ?
4. เปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “เสียงปริศนา”
Link วิดีโอ : youtu.be/NRFcMonOnsg
5. ให้ความรู้ : อธิบายเนื้อหา / บรรยาย / เปิดสไลด์
- บุหรี่ตัวร้ายทำลายสุขภาพ
ในบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง (Carcinogens) อยู่หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือสารนิโคติน ซึ่งมีอยู่ในระดับที่มากจนเป็นอันตราย โดยสารดังกล่าวจะส่งผลต่อสมองและระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยเกิดการเสพติดสารนิโคตินได้
6. ชวนแลกเปลี่ยนเรื่องความเชื่อผิด ๆ ที่ได้ยินมา ประเด็นความแตกต่างเกี่ยวกับเรื่องเพศ
และความสัมพันธ์กับประเด็นเรื่องสุขภาพจิตและสุขภาวะทางอารมณ์
7. รุปประเด็นที่ได้เรียนรู้ / เชื่อมโยงประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
- พิษภัยจากการสูบบุหรี่ เกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้สูบ และคนรอบข้างที่มีโอกาสได้รับผลกระทบของควันบุหรี่มือสอง และมือสาม ซึ่งต่างมีความร้ายแรงไม่แพ้กัน เรื่องนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคล
- เราสามารถเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความเชื่อผิด ๆ และปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนได้
Tips :
ควรเปิดรับทุกความคิดเห็น ไม่ตัดสินเพ่งเล็งกล่าวโทษความคิดเห็นของใครว่าถูกหรือผิด เน้นสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจต่อมุมมองใหม่ ๆ ที่แตกต่าง
--------
ไอเดียการสอนนี้ต่อยอดจากกิจกรรม NCDs Learning Activity ชวนมาเรียนรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
โครงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีในเด็กและเยาวชน (Young Health Programme)
โดยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Plan International Thailand)
ร่วมกับมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (EDF) และบริษัท อินฟลูเอนเซอร์ จำกัด (Influencer TH) สนับสนุนโดย AstraZeneca Global
ดาวน์โหลดเนื้อหาและไอเดียการสอน NCDs ฉบับเต็มฟรีจาก link นี้ได้เลย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Facebook Influencer TH: facebook.com/influencerthailand
LINE Open Chat : NCDs Learning Activity
หรือที่
Facebook Young Health Programme Thailand: facebook.com/YoungHealthProgrammeThailand
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย