icon
giftClose
profile

สุขภาพจิตและสุขภาวะทางอารมณ์

27952
ภาพประกอบไอเดีย สุขภาพจิตและสุขภาวะทางอารมณ์

เช็คสุขภาพจิต สมดุลชีวิต 6 ด้าน เรียนรู้เรื่องปัญหาสุขภาพจิต และการดูแลรับมือในเบื้องต้น หนึ่งในปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs : Non-Communicable Diseases)

สุขภาพจิตและสุขภาวะทางอารมณ์

{ เช็คสุขภาพจิต สมดุลชีวิต 6 ด้าน }


สุขภาพจิตและสุขภาวะทางอารมณ์ (Mental health and emotional well-being) เป็นหนึ่งในปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs : Non-Communicable Diseases)


วัตถุประสงค์ : เรียนรู้เรื่องปัญหาสุขภาพจิต และการดูแลรับมือในเบื้องต้น

อุปกรณ์ :        กระดาษ, ปากกา


วิธีการ :

1. ตั้งคำถาม ชวนคุยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิต

คำถาม : ตัวเรา หรือคนรอบตัวเรา มีใครมีปัญหาสุขภาพจิตบ้างหรือไม่ ?


2. เปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “ความสุขของคุณ คืออะไร ?”

Link วิดีโอ : youtu.be/QTXabX_9YOk


3. ชวนแลกเปลี่ยนพูดคุยหลังจากชมคลิป ว่ารู้สึกอย่างไร


4. ทำความรู้จักกับ สมดุลชีวิต 6 ด้าน

5. เช็คสมดุลชีวิต 6 ด้านของตัวเอง โดยการวาดวงกลมลงบนกระดาษ และแบ่งออกเป็น 6 ช่อง

เขียนหัวข้อในแต่ละช่องตามสมดุลชีวิต 6 ด้าน จากนั้นระบายสีให้คะแนนในแต่ละช่องของตัวเอง

ตัวอย่าง :

6. ชวนแลกเปลี่ยนพูดคุย หลังประเมินสมดุลชีวิต 6 ด้าน ถ้าใครสะดวกใจก็สามารถแชร์ภาพวงล้อของตัวเองให้คนอื่นดูได้

สิ่งนี้เปรียบเสมือนวงล้อของจักรยาน ที่ถ้ามีช่องที่ขาดมากไป ก็จะทำให้ขับเคลื่อนชีวิตได้ไม่ไหลลื่น


7. เปิดคลิปวิดีโอ “Project "NAM”

Link วิดีโอ : youtu.be/IhJwpSMY--w


8. เล่าถึงประเด็นที่ในคลิปต้องการจะสื่อ เป็นการเปรียบเทียบคนที่กำลังมีเรื่องทุกข์ใจ เป็นเหมือนคนที่กำลังจมน้ำ เราควรให้ความใส่ใจสังเกตคนรอบตัวเราว่ากำลังมีปัญหาทางจิตใจอยู่หรือไม่ และช่วยเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการรับฟังและให้ความช่วยเหลือ


9. ชวนแชร์ : วิธีการสังเกตคนรอบตัว ว่ามีปัญหาสุขภาพจิตอยู่หรือไม่

เช่น สังเกตจากสีหน้าแววตาที่เปลี่ยนไป สิ่งที่โพสลงโซเชียลมีเดีย การเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เป็นสีดำ เก็บตัวไม่สุงสิง ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่ผิดไปจากปกติ

10.  ชวนแชร์ : วิธีการที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากสภาวะทางจิตใจที่ไม่ปกติ เช่น

- ชวนพูดคุยสอบถามด้วยความจริงใจ รับฟัง ให้กำลังใจ อยู่เป็นเพื่อน พาไปทำกิจกรรมต่าง ๆ

- ระวังคำพูดในการให้กำลังใจ เช่น “สู้ ๆ” เป็นคำต้องห้าม เพราะบางคนไม่อยากสู้ชีวิตแล้วฟังจะยิ่งรู้สึกแย่ โดยอาจเปลี่ยนเป็นคำว่า “ให้กำลังใจนะ” “อยู่ข้าง ๆ นะ” และไม่สั่งสอนมากไป


11.  เปิดคลิปวิดีโอ "Check in ... สุขภาพจิตดีเริ่มที่ใส่ใจ ep.1"

Link วิดีโอ : youtu.be/_nDUp1f9fEI


12.  เล่าสรุปประเด็นที่ในคลิปต้องการจะสื่อ “วันนี้คุณเช็คอินตัวเองและคนรอบข้างแล้วหรือยัง”

- หมั่นถามตัวเองว่าตอนนี้รู้สึกอะไร สังเกตคนรอบข้าง ว่ารู้สึกอย่างไร

- รับรู้ เปิดรับ จัดการบริหารความรู้สึกให้กลับมาสมดุล เป็นบวก

- เปิดพื้นที่ให้ความรู้สึกหลากหลาย บางทีคนเราอาจมีหลายความรู้สึกซ้อนกัน

ตัวอย่างวงล้อความรู้สึก :

13.  แนะนำเว็บไซต์เครื่องมือการตรวจเช็คสุขภาพจิต

 


14.  ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ ก็มีผลต่อการเติบโต และสุขภาพจิต

เปิดคลิปวิดีโอ "จะเป็นยังไงเมื่อแม่ต้องมา "ฟัง" ลูกขอเปิดใจเป็นครั้งแรกว่า ตัวเองเป็นเกย์"

Link วิดีโอ : youtu.be/C3Addxfvvmw


15.  เล่าสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในคลิป / แชร์เคส

- ทัศนคติที่ไม่เปิดรับความหลากหลายทางเพศ รวมถึงความไม่เท่าเทียมทางเพศ ส่งผลให้เกิดการกดทับ และสร้างความทุกข์ให้ผู้คนจำนวนมาก เช่น ครอบครัวที่ไม่ยอมรับว่าลูกเป็นเพศหลากหลาย วัฒนธรรมจีนที่ให้ความสำคัญกับลูกชายมากกว่า เป็นต้น

- ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีเด็กที่เป็นเพศหลากหลายตกอยูในสภาวะเครียด ซึมเศร้า และทำร้ายตัวเองเยอะมาก เนื่องจากต้องอยู่แต่ในบ้านที่อาจไม่มีพื้นที่ให้แสดงออกความเป็นตัวเอง หรือถูกดุด่าเหยียดหยามจากคนในครอบครัว


16.  ช่องทาง Call center ศูนย์ช่วยเหลือให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต

- ปัญหาเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน และบางครั้งจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุน หากตัวเราเองไม่มีที่พึ่งทางจิตใจ หรือไม่พร้อมที่จะเป็นพื้นที่รับฟังช่วยเหลือผู้อื่นได้ ก็สามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ในการขอความช่วยเหลือได้

- ปัจจุบันมีเยาวชนที่ลุกขึ้นมาขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขกฎหมายให้เด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี สามารถเข้าพบจิตแพทย์เองได้ โดยไม่ต้องมีผู้ปกครองไปด้วย เพราะหลายครั้งเด็กมีปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากคนในครอบครัวเป็นสาเหตุ


--------


ไอเดียการสอนนี้ต่อยอดจากกิจกรรม NCDs Learning Activity ชวนมาเรียนรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

โครงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีในเด็กและเยาวชน (Young Health Programme)

โดยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Plan International Thailand)

ร่วมกับมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (EDF) และบริษัท อินฟลูเอนเซอร์ จำกัด (Influencer TH) สนับสนุนโดย AstraZeneca Global


ดาวน์โหลดเนื้อหาและไอเดียการสอน NCDs ฉบับเต็มฟรีจาก link นี้ได้เลย

bit.ly/NCDsIn4n


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Facebook Influencer TH: facebook.com/influencerthailand

LINE Open Chat : NCDs Learning Activity


หรือที่

Facebook Young Health Programme Thailand: facebook.com/YoungHealthProgrammeThailand

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(11)
เก็บไว้อ่าน
(18)