💖 แบบฟอร์มทำความรู้จักนักเรียน
เพื่อป้องกันและฟื้นฟูภาวะ Learning loss
.
ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning loss)
เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับนักเรียนจำนวนมาก
เนื่องจากปัญหาที่พบในช่วงโควิด-19
ทำให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่ขาดหาย
แล้วคุณจะรับรู้และช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างไร?
.
ชวนคุณครูทุกคนทดลองใช้เครื่องมือตัวใหม่
“แบบฟอร์มทำความรู้จักนักเรียน”
ตัวช่วยในการตรวจสอบ Learning loss
และค้นหาแนวทางในการฟื้นฟูการเรียนรู้
และทำให้คุณครูรู้จักนักเรียนมากยิ่งขึ้น
.
ใช้เวลาเพียง 10-15 นาทีในช่วงเปิดเทอม
ชวนนักเรียนตอบคำถามในแบบฟอร์ม
มีทั้งรูปแบบไฟล์ PDF และ Google form
คุณครูสามารถเลือกใช้ได้ตามเหมาะสมเลย!
.
✏️ รูปแบบ PDF โหลดได้จากตรงนี้เลย!
https://drive.google.com/drive/folders/1KIaQuqbsJUWAg3qDWxOqlrupviVm3j72?usp=sharing
.
✏️ รูปแบบ Google form คลิกลิงก์นี้เลย!
https://forms.gle/gxW4pdsmaYDJDqYV6
แบบฟอร์มจะถูกแบบออกเป็นทั้งหมด 5 ส่วน ที่มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
ในส่วนนี้ เป็นการทำความรู้จักนักเรียนจากข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น ห้อง และเลขที่
โดยมีจุดสังเกตว่า นักเรียนสามารถใส่ "ชื่อที่อยากให้ครูเรียก" แทนชื่อเล่นก็ได้
เพื่อให้คุณครูและนักเรียนรู้สึกสนิทสนมกันมากยิ่งขึ้น
คำตอบในส่วนนี้จะทำให้คุณครูรู้จักนักเรียนมากยิ่งขึ้น
ผ่านสิ่งของที่นักเรียนเลือกมาเป็นตัวแทนของตนเอง
เพราะสิ่งของต่าง ๆ ก็มีลักษณะและเอกลักษณ์ที่ต่างกัน
นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมจินตนาการของนักเรียน
ในส่วนนี้ จะให้นักเรียนเขียนตอบหรือว่าวาดรูปก็ได้นะ
มาลองดูกันว่านักเรียนจะเปรียบเทียบตัวเองเป็นอะไรกันบ้าง
ในส่วนนี้จะทำให้คุณครูทราบได้ถึงการเรียนของนักเรียนในปีที่ผ่านมาในแต่ละวิชา
โดยให้นักเรียนใส่ "ชื่อวิชา" ลงในในแต่ละช่อง เพื่อประเมินการเรียนของตนเอง
ในวิชาที่นักเรียนจัดให้อยู่ในหมวด "ไฟแดง (ช่วยด้วย!)"
จะทำให้คุณครูรู้ว่านักเรียนต้องการความช่วยเหลือในวิชาใดบ้าง
และการอ่านเหตุผลที่นักเรียนจัดให้วิชาเหล่านั้นอยู่ในหมวดสีแดง
จะทำให้คุณครูสามารถออกแบบแนวทางการช่วยเหลือนักเรียนได้อีกด้วย!
เนื่องจากในช่วงการเรียนออนไลน์ที่ผ่านมา
นักเรียนขาดโอกาสในการพบเจอกับเพื่อน ๆ
ทำให้ทักษะการเข้าสังคมนั้นขาดตกบกพร่องไป
รายชื่อเพื่อน ๆ ที่นักเรียนอยากเข้าไปปรึกษา
จะทำให้คุณครูได้ทราบถึงความสัมพันธ์ภายในห้องเรียน
และการได้รู้ถึงเรื่องที่นักเรียนอยากเม้าท์มอยกับเพื่อน ๆ ในตอนนี้
ยังทำให้คุณครูได้ทราบถึงความสนใจของนักเรียน
คุณครูสามารถเอาเรื่องที่นักเรียนสนใจอยู่มาใช้เป็นประเด็นในการพูดคุยในห้องเรียน
หรือบอกเล่าให้นักเรียนฟังว่ามีใครสนใจในเรื่องเดียวกันบ้าง
เป็นการเสริมสร้างและฟื้นฟูความสัมพันธ์ภายในห้องเรียนที่ขาดหายไปได้
ในส่วนนี้ จะทำให้คุณครูได้ทราบถึงสภาพจิตใจของนักเรียนในปัจจุบัน
ทำให้ทราบว่านักเรียนอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบไหนบ้างในห้องเรียน ที่จะทำให้เขามีความสุขมากขึ้น
และทำให้รู้ว่านักเรียนไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบไหนในห้องเรียน ที่จะทำให้เขาเกิดความทุกข์
ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้คุณครูช่วยฟื้นฟูภาวะทางอารมณ์ที่ไม่มั่นคงของนักเรียนในช่วงที่ผ่านมาได้
.
ใครทดลองใช้เครื่องมือแล้ว
รบกวนฟีดแบ็กให้พวกเราหน่อยน้า
จะได้ปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
ให้เครื่องมือมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น!
จิ้มที่ลิงก์นี้เลย!!
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย