inskru
gift-close

📖 ห้องเรียน ที่ทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

0
0
ภาพประกอบไอเดีย 📖 ห้องเรียน ที่ทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

นักเรียนแต่ละคนมีจังหวะในการเรียนรู้ที่ต่างกัน นักเรียนบางคนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว แต่นักเรียนบางคนอาจจะต้องใช้เวลาในการศึกษา แล้วถ้าทุก ๆ คนถูกบังคับให้เรียนด้วยจังหวะเดียวกัน อาจจะทำให้นักเรียนบางคนถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณครูออกแบบห้องเรียน

ให้เด็ก ๆ สามารถเรียนตามจังหวะของตัวเอง

บนแนวคิดการเรียนรู้แบบ Self-paced learning

ที่นักเรียนสามารถเรียนตามจังหวะของตนเอง

และคุณครูสามารถรับรู้ความก้าวหน้าของนักเรียน

พร้อมกับฝึกฝนทักษะการควบคุมตนเองในวัยเด็ก

.

ห้องเรียนในรูปแบบนี้จะมีลักษณะอย่างไร

และคุณครูจะนำไปใช้ในห้องเรียนได้อย่างไร

ลองไปดูกันเลย!

.

 การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self-paced learning)

.

การเรียนรู้ที่คุณครูออกแบบให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยครูจะมีบทบาทเป็น “ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Facillitator)” ที่จะอำนวยการเรียนรู้แทนการเป็น “ผู้สอน (Teacher)” ที่จะมอบความรู้ให้นักเรียนโดยตรง


โดยการออกแบบให้ห้องเรียนของเรากลายเป็นห้องเรียนแห่งการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้นั้น จะต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ สื่อการสอนแบบผสมผสาน (Blended instruction) โครงสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self-paced strutuce) และ การประเมินตามความเชี่ยวชาญ (Mastery-based grading)

.

ถ้าคุณครูอยากเปลี่ยนให้ห้องเรียนของตัวเองกลายมาเป็นห้องเรียนที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง จะต้องเริ่มต้นจากการเตรียมองค์ประกอบเหล่านี้ให้ครบถ้วน


(1) แผนที่การเรียนรู้ (Self-paced structure) ตารางภารกิจที่นักเรียนจะต้องพิชิต โดยแต่ละช่องนั้นจะมีวิธีการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ที่คุณครูกำหนดไว้ให้ เช่น สื่อวิดีโอ แบบฝึกหัด หรือแบบจำลอง


(2) สื่อการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended instruction) สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่คุณครูจัดเตรียมสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียน โดยจะสอดคล้องกับช่องต่าง ๆ ในแผนที่การเรียนรู้


(3) กระดานแสดงความก้าวหน้า (Mastery-based grading) กระดานที่ติดอยู่หลังห้องเรียน โดยจะมีรูปของนักเรียนติดอยู่บริเวณต่าง ๆ ของกระดาน เพื่อทำให้เห็นความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของนักเรียน

.

 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไร?

.

(1) ให้นักเรียนศึกษาจากแผนที่การเรียนรู้ว่าในแต่ละช่องนั้นจะต้องทำภารกิจอะไร เช่น ทำแบบฝึดหัด ศึกษาจากสื่อวิดีโอ หรือว่าให้เล่นแบบจำลองที่คุณครูเตรียมไว้


(2) นักเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองจากสื่อการเรียนรู้ที่คุณครูเตรียมไว้ให้ และพยายามบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จ เช่น ทำแบบฝึกหัดจนครบ หรือศึกษาจากสื่อวิดีโอจนครบถ้วน


(3) เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว ให้คุณครูช่วยทำการตรวจสอบว่านักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ เช่น สามารถบวกเลขได้ถูกต้องเกินร้อยละ 80 ถ้าบรรลุเป้าหมายแล้วจึงให้นักเรียนทำภารกิจถัดไปในแผนที่การเรียนรู้


(4) นักเรียนขยับตำแหน่งของตนเองบนกระดานแสดงความก้าวหน้าที่อยู่หลังห้องเรียนไปที่ภารกิจถัดไป

.

.

.

 ข้อดีของการเรียนรู้ด้วยตัวเอง


(1) นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามจังหวะและความต้องการของตนเอง


(2) นักเรียนและคุณครูได้เห็นความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน


(3) นักเรียนได้มีโอกาสสนับสนุนการเรียนรู้ของเพื่อนคนอื่น ๆ


 ข้อควรพิจารณาของการเรียนรู้ด้วยตัวเอง


(1) คุณครูควรเน้นย้ำความสำคัญของความก้าวหน้าทางการเรียนรู้มากกว่าผลลัพธ์ทางการเรียนรู้


(2) คุณครูควรออกแบบภารกิจกับสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน


(3) คุณครูยังคงเป็นบทบาทที่สำคัญในการให้คำแนะนำอยู่ ไม่ควรปล่อยนักเรียนเพียงลำพัง

.

.

.

คุณครูอยากลองใช้รูปแบบ “การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self-paced learning)” กับคาบเรียนไหนบ้าง

.

มาลองแชร์เพื่อเป็นไอเดียให้กับเพื่อนครูคนอื่น ๆ กันเถอะ!

.

อ้างอิงจาก

https://www.edutopia.org/.../self-paced-learning-early...

https://www.youtube.com/watch?v=5MvQoDGvG10

insfoinsKruพื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ