icon
giftClose
profile

What is History ? (เปิดเทอมว้าวุ่น)

22740
ภาพประกอบไอเดีย What is History ? (เปิดเทอมว้าวุ่น)

เปิดเทอมว้าวุ่น เรียนประวัติศาสตร์ที่เริ่มต้นด้วยคำนิยาม ‘What is History’ จากการสืบค้น ได้เห็นมุมมองประวัติศาสตร์ในหลากมิติจากนักประวัติศาสตร์/นักวิชาการ ที่พร้อมค้นหาคำตอบไปด้วยกันกับครูผู้สอน เสริมคำถามที่กระตุ้นด้วยวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ พร้อมเทคนิคที่ไม่ใช่การสุ่มนำเสนองานที่เหมือนโดนบังคับ

คาบแรกอ่ะเนาะ…

ครูสอนประวัติศาสตร์มักบอกนักเรียนว่า สิ่งที่ต้องเรียนรู้อดีตก็เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจปัจจุบันและอนาคต 


แต่ทีนี้การที่จะไปบอกความหมายหรือคำนิยามโดยบางครั้งก็เป็นการยัดเยียดความรู้ ซึ่งก็ไม่ผิดอีกเหมือนกัน แต่ความเชื่อเรื่องนี้ต้องระวังสักหน่อย ยิ่งหากเป็นเนื้อหาที่มีหลายมิติก็จะทำให้เกิดความคับข้องใจกับนักเรียน เพราะถ้าประวัติศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่องเล่า แต่ต้องจัดการกับข้อมูลเนื้อที่มีให้เป็นลักษณะการสืบค้น/ค้นหาคำตอบใหม่ๆ ที่ผ่านการพิจารณา ตั้งคำถาม ถกเถียง ให้ฉุกคิด ผ่านหลักฐานที่รองรับทางประวัติศาสตร์ก็ย่อมไม่ใช่แค่บทเรียนที่เขาว่าไว้ “เขาว่า….” แต่ต้องเป็นบทเรียนที่ได้จากข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานรองรับและเห็นประวัติศาสตร์ในความหลากหลายที่เกิดขึ้น


และสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์สุดท้ายนักเรียนก็จะได้คำตอบของตัวเอง ที่ไม่ได้คิดเองเออเอง…ยิ่งเมื่อมีข้อมูลที่หลากหลายมาก แต่ไม่รู้ว่า “แล้วหลักฐานชิ้นไหนจริงล่ะ…” หรือ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ พอนักเรียนใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ก็จะสามารถเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานและเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อในข้อมูลได้อย่างมีวิจารณญาณ และเป็นกลางมากที่สุด


ฉะนั้น คาบแรกจัดไปด้วย…


ขั้นกิจกรรม

1.เมื่อพูดถึงวิชาประวัติศาสตร์รู้สึกอย่างไรบ้าง ? ให้ยกตัวอย่างประกอบเหตุการณ์ที่นักเรียนเจอหรือที่เคยได้ยิน นักเรียนอาจเคยมีประสบการณ์ที่ดี good หรือ sad / bad อย่างไรบ้าง อาจจะเป็นความประทับใจก็ได้ ทั้งที่เคยประสบพบเจอเองหรือเคยได้ยิน โดยให้แชร์ประสบการเรื่องราวที่เกิดขึ้น อย่างเป็นธรรมชาติ 


อาจแทรกด้วยคำถามเหล่านี้…

-ประวัติศาสตร์ สอนอะไร??? 

-ทำไมยังต้องเรียน มีความจำเป็นอย่างไร???


เพื่อตรวจสอบความรู้สึก เพื่อให้นักเรียนได้ละลายพฤติกรรม ให้เด็กๆ รู้สึกเป็นห้องเรียนที่พูดได้ทุกแง่มุมไม่มีผิด และกล้าที่จะพูด และเป็นการเข้าถึงนักเรียน และเพื่อครูจะได้จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม



2.ครูตั้งคำถาม…

ประวัติศาสตร์ คืออะไร??

พูดกระตุ้นให้เกิดการคิด ต่างคนต่างใช้ความคิดของตัวเอง จากนั้นสุ่มให้นักเรียนนำเสนอในความเห็นตัวเอง (กำชับว่าไม่ต้องกลัวผิด)


3.จากนั้นครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนอีกคน (บัดดี้) ที่จะแชร์ข้อมูลของตนเอง และให้เพื่อนอีกคนแชร์ข้อมูลสลับกัน เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และได้เห็นประวัติศาสตร์ในอีกมิติหนึ่ง / ข้อมูลอีกชุดหนึ่ง ซึ่งอาจเหมือนหรือต่างกัน เอ๊ะ! เธอเหมือนฉันเลย เอ๊ะ!! ทำไมเธอคิดแบบนี้ ….


4.ครูสุ่มถามแต่ละคู่ โดยให้นำเสนอให้เพื่อนในห้องได้รับฟังร่วมกันทั้งห้อง (กำหนดได้ตามความเหมาะสม) จากนั้นครูให้ทุกคนในห้องช่วยกันจับคีย์เวิร์ด/คำสำคัญ ภายใต้คำถาม ประวัติศาสตร์ คืออะไร?? เช่น ศึกษาอดีต/เรื่องราว/เหตุการณ์/บันทึก/มีผลตัวคนหมู่มาก/มีความเปลี่ยนแปลง  (ซึ่งนั่นหมายความว่านักเรียนได้จับประเด็นจากข้อมูลที่ได้รับจากเพื่อนๆภายในห้อง)



5.จากนั้นครูยกตัวอย่าง คำนิยามของ นักวิชาการ/นักประวัติศาสตร์/นักการศึกษา ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อให้นักเรียนเห็นมิติ / ประเด็นสำคัญ ในบริบทต่างๆ ที่มีหลักการความน่าเชื่อถือที่กว้างมากขึ้น




6.ให้นักเรียนจับคู่และสืบค้น คำนิยาม “ประวัติศาสตร์คืออะไร : what is History?? ” จากนักวิชาการ/นักประวัติศาสตร์/นักการศึกษา ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มา 1 คน จากวิทยานิพนธ์ เอกสารต่างๆ สื่อออนไลน์ และอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มาตามหลักวิชาการในระดับมหาวิทยาลัย


7.ครูอธิบายเสริมตัวอย่างหลักการอ้างอิง/บรรณานุกรม ตามฟอร์มมหาวิทยาลัย


8.ให้นักเรียนออกแแบบสร้างสรรค์งานในแอปพลิเคชั่น




9.ครูตรวจสอบงานและอธิบายเพิ่มเติมในส่วนการอ้างอิงแหล่งที่มาและปรับแก้อย่างถูกต้อง



10.ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงาน…แทรกความสนุกเล็กน้อย ให้ฟีลความรู้สึกไม่เหมือนบังคับให้ตอบ โดยใช้วิธีการคัดเลือกที่ไม่ใช่การสุ่มเลือกตามเลขที่ แต่ใช้ วิธีการเหมือนบูทเล่นเกมในห้าง เช่น คู่ใครสืบค้นคำนิยามที่เป็นชาวต่างขาติ/ไทย ใครมีเหรียญบาทติดตัว ใครเกิดเดือนนี้ ใครมีของสีแดงที่ตัว ใครโสดนั่งลง สลับไปแบบนี้ ซึ่งนักเรียนชอบ feed back ดี 


11.ครูถามกระตุ้นนักเรียนให้เกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ….แลกเปลี่ยนกัน


-นักเรียนเชื่อแบบนั้นไหม/ทำไมเชื่อ

หรือ ไม่เชื่อก็ได้เพราะอะไร ถามเหตุผล พร้อมวิเคราะห์ได้

-มีหลักการหรือเกณฑ์อะไรให้ตัดสินใจแบบนั้น

-เรามีวิธีการกรองข้อมูลอย่างไรในการคัดเลือกข้อมูล

-ถ้ามันเป็นเรื่อง อดีต ทำไม ยังต้องเรียน/ศึกษา ในเมื่อตอนนี้คือ “ปัจจุบัน”






12.สรุปกิจกรรมนี้ได้อะไร

🔺ทักษะการสืบค้นข้อมูล

🔺การวิเคราะห์ข้อมูล

🔺 ความสำคัญ/ประโยชน์ ของวิชา

🔺ความหมาย ประวัติศาสตร์

🔺ได้เห็นความหมายประวัติศาสตร์ในมิติที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่มุมตัวเอง เพื่อน นักเรียนในห้อง จนถึงระดับนักวิชาการ

🔺หลักการสืบค้นและการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ


❌❌ข้อค้นพบ: พบว่านักเรียนมีกระบวนการฟังที่ดีขึ้น ไม่ปักใจเชื่อจนได้ตั้งคำถาม/ถกกัน/ตั้งคำถามอย่างน้อยเปิดชั่วโมงแรกมาต้องให้นักเรียนเปิดปากก่อน ซึ่งเปิดกว้างในการให้มุมมองของตัวเอง กล้าพูด กล้าสงสัยได้  และเราได้รับรู้ปัญหาของผู้เรียนแต่ละคนมีหลากหลาย

…สุดท้ายมันอยู่ที่ หลักการ/กระบวนการอะไรที่นำไปสู่ความจริงของฐานความเชื่อนั้น


#เรียนประวัติศาสตร์byครู

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(11)