ในช่วงที่ต้องปรับตัวในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์พบอุปสรรคเยอะมาก
ไม่ว่าการที่เราจะต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหาเตรียมสื่อการสอนที่ใช้ประกอบการเรียน
การจัดฟอร์มหรือภาระงานต่าง ๆ ที่จะทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกับการเรียนการสอน
จะเรียกได้ว่าเป็นช่วงใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อที่จะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้จริง ๆ
ในช่วงที่การเรียนการสอนเข้าถึงตัวผู้เรียนทางเดียว แค่ตามให้นักเรียนส่งงานครบก็หมดแรง
ตอนนี้นักเรียนได้กลับมาเรียนในห้องแล้ว แต่รู้สึกเหมือนกันไหมว่าห้องเรียนมันไม่เหมือนเดิม
ก้าวเท้าเข้ามาในห้องเรียนแล้วรู้สึกกดดัน ประหม่า กังวง ว่าเราจะจัดการเรียนการสอนยังไง
นักเรียนก็มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) เราจะช่วยเหลือนักเรียนให้กลับมาได้ยังไง
บรรยายกาศในห้องที่ชวนดูวุ่นวาย นักเรียนในห้องไม่สนใจเรายิ่งหนักเข้าไปใหญ่
ก่อนที่จะไปถึง ณ จุดตรงนั้นเราลองมาชวนสังเกตภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากที่นักเรียนได้กลับคืนสู่ห้องเรียน
เพื่อให้เข้าใจเงื่อนไขบางอย่างที่เกิดขึ้นในวงของการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนก่อนที่จะหาวิธีรับมือ
ในช่วงที่มีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์
เราสังเกตว่านักเรียนหลายคนไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
เวลาที่คุณครูชวนเปิดกล้องตอบคำถาม สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมีแต่เด็กคนเดิมที่เป็นคนตอบอยู่เสมอ
น้อยครั้งที่จะมีนักเรียนคนอื่นตอบ บางครั้งที่คุณครูชวนให้นักเรียนเปิดกล้องก็จะพบว่า
เบื้องหลังของนักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถจดจ่อหรือมีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้
เพราะว่าถูกรบวนกวนจากสถานที่ที่เขาเรียนอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นบ้านของนักเรียนเอง
พื้นที่ที่นักเรียนควรจะเกิดการเรียนรู้ตรงนั้น ถูกรบกวนจากพื้นที่การใช้ชีวิตของนักเรียน
ซึ่่งก็เป็นสาเหตุหลักที่เกิดขึ้นนักเรียนที่ไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนของตนเองได้
บางทีครูเองก็ไม่ชินเวลาที่กลับไม่เจอหน้านักเรียนในห้องเรียนตอนเปิดเทอม
มันก็ทิ้งช่วงระยะเวลามานานมากแล้วที่เราไม่ได้เจอนักเรียนของเรา
ช่วงที่ผ่านมาเรามักจะสอนผ่านการสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication)
นักเรียนเองก็ไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมกับเราแล้วเราเองก็ต้องสอนให้คาบเรียนไปต่อ
ผลลัพธ์คือเวลาเรากลับเข้ามาในห้องเรียนพร้อมกับนักเรียนเราก็ปรับตัวไม่ค่อยได้
จะดึงให้เขากลับมามีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนของเราก็ยาก
สังเกตได้ว่าเขาจะสนใจเพื่อนมากกว่าครู
ด้วยช่วงเวลาที่ห่างเหินไปนานการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกันเองก็น้อยลง
การไม่ได้เจอหน้ากัน การสื่อสารที่ผ่านโลกออนไลน์ไม่ได้แน่นแฟ้นเท่ากับเจอตัวจริง
การกลับมาในห้องเรียนช่วงแรกของการเปิดเทอมนักเรียนมีความไม่ชินในการปรับตัว
ช่วงนี้เป็นช่วงที่จะกำหนดทิศทางที่เหลือของการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
ถ้าเราสามารถดึงให้เขากลับมาอยู่ที่พื้นที่การเรียนรู้ของเขาก็จะทำให้เขาฟื้นตัวไว
ความน่าเป็นห่วงคือ เขาพึ่งกลับมาจากพื้นที่ทับซ้อนของเขา ตลอด 3 ปี
ด้วยรูปแบบการเรียนที่ทำให้นักเรียนเขาถึงยาก สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียน
ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมการจดจ่อพื้นที่ในการเรียนรู้ของตนเองลดลง
ไม่ค่อยฟังครูตอนสอน หรือบางทีจดจ่อการเรียนไม่ได้ ขาดความรับผิดชอบในภาระงาน
การกลับมาเรียนในห้องครั้งนี้สร้างไฟในการเรียนรู้ของนักเรียนเหมือนกัน
เชื่อว่านักเรียนหลายคนก็อยากกลับมาเรียนที่โรงเรียน
ได้มาเจอเพื่อน เจอครู ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน หลังจากไม่เจอกันนาน
การได้กลับมาอยู่พื้นที่ตรงนี้อีกครั้ง ทำให้เขาสามารถกลับมาตั้งใจเรียนได้ดีกว่าเดิม
ในการเรียนออนไลน์ด้วยปัจจัยที่บ้านหรืออุปกรณ์การเรียนอาจจะไม่พร้อมในการเรียนรู้
แต่เมื่อเขาได้กลับมาอยู่ตรงนี้แล้วครูเองก็ควรจะใช้โอกาสตรงนี้
เพื่อกลับมาฟื้นฟูภาวะความถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนกัน !!
เมื่อนักเรียนเดินเข้ามาในห้องเรียนแล้วพบความว้าวในห้องที่เขาไม่ได้กลับมานาน
ทำให้เดินการเข้ามาอยู่ในห้องเรียนมาแล้วมีความไม่น่าเบื่อ
เป็นการเริ่มต้นให้เขากลับมาจดจ่อพื้นที่การเรียนรู้ของเขาเอง
ยกตัวอย่างเช่น การจัดบอร์ดในห้องเรียน เชื่อว่าทุกห้องเรียนก็คงมีบอร์ด
ปกติบอร์ดของครูเองก็จะใช้จดเวรนักเรียน ภาระงาน หรือกิจกรรมในห้อง
โดยอาจจะเปลี่ยนบอร์ดหน้าห้องเรียนให้ชวนเด็กเล่น ซึ่งก็สามารถทำได้หลายแบบ
บอร์ดที่ชวนนักเรียนCheck-in ในแต่ละวันที่เขามาโรงเรียน
บอร์ดที่ชวนเล่นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน
ทั้งนี้เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมในห้องเรียนมีความหมายต่อการมาโรงเรียนของเขา
เพื่อนครูสามารถมาดูตัวอย่างการทำบอร์ดเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วม จากลิงก์นี้ได้เลย
weareteachers.com/interactive-bulletin-boards
การจัดที่นั่งของนักเรียนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ช่วยได้ คิดว่าเพื่อนครูคงได้มีโอกาสจัดเก้าอี้บ้าง
การจัดเก้าอี้ในห้องเรียนของนักเรียนตัวเองบ้าง ก็มีเรื่องให้ชวนคิดในเรื่องการจัดเก้าอี้
การจัดสรรที่นั่งของนักเรียนเองก็สามารถทำให้นักเรียนสนใจเราได้
ถ้าเราทำให้เขาอยู่ในวงที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับเราได้
เราอาจจะจัดที่นั่งเป็นตัว U เพื่อที่เราจะได้เห็นนักเรียนและนักเรียนก็เห็นเราเวลาสอนกึ่งกิจกรรม
การจัดเป็นแถวและเว้นช่วงระหว่างคนเพื่อที่ให้ผู้เรียนได้จดจ่อกับตัวเองตอนสอบ
ทั้งนี้การจัดก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการเรียนรู้ว่าบรรยายกาศจากที่นั่งเรียนควรเป็นยังไง
เพื่อนครูสามารถดูตัวอย่างรูปแบบการจัดที่นั่งเรียนตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จากลิงก์นี้ได้เลย
bookwidgets.com/blog/2019/12/19-classroom-seating-arrangements-fit-for-your-teaching
การสร้างการเรียนรู้ที่เน้นตัวนักเรียนเป็นสำคัญ
ความหมายในการเรียนรู้ต่อตัวผู้เรียน
คืออีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เขาสร้างความรู้ของตัวเอง
เคยได้ยินกันไหมว่า เราจำสิ่งต่างๆ ด้วยความรู้สึกได้ดีกว่า
เมื่อเทียบกับการที่เราท่องจำอะไรบางอย่างเข้าไปแทน
จริงๆ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่อยากจะแชร์ให้เพื่อนครูได้ชวนคิดตาม
การรับรู้ (Perception)
เคยกันไหม เวลาเรานึกเรื่องราวเก่าๆ ของเรามักจะมีความรู้สึกที่แฝงมาด้วย
การรับรู้เองก็เป็นการประมวลผลจากการรับสัมผัสต่างๆ แล้วออกมาเป็นความรู้สึก
ที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาก็เพราะว่ามันมีผลต่อการสร้างความรู้ของนักเรียน
ความทรงจำระยะสั้น (Short-Term memory) และความทรงจำระยะยาว (Long-Term memory)
การสร้างการเรียนที่มีความรู้สึกมีผลต่อความหมายต่อการเรียนของนักเรียน
ก่อนที่เราจะไปถึงจุดนั้นเราต้องมาทำความเข้าใจของสิ่งที่นักเรียนเป็นอยู่
อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าเราเองก็ต้องมารื้อฟื้นนักเรียนให้สามารถกลับมาเตรียมพร้อมได้
จะต้องเริ่มสำรวจนักเรียนก่อนที่จะทำความเข้าใจเขาและออกแบบการเรียนให้เหมาะสม
แบบฟอร์มทำความรู้จักนักเรียน เพื่อป้องกันและฟื้นฟูภาวะ Learning loss จาก InsKru
web.facebook.com/InskruThailand/photos/a.1652762778172587/5093630347419129
เมื่อเราได้ทำความรู้จักนักเรียนแล้ว
เราก็จะพอเห็นภาพลางๆ ว่าทิศทางในการจัดการเรียนการสอนควรไปทางไหน
อาจจะต้องเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานใหม่ก็ไหม ? หรือว่าไปต่อ ?
การเรียนรู้ที่มีความรู้สึก
บางคนที่ชอบเรียนแบบนี้เพราะว่ารูู้สึกมีแรงบรรดาลใจ
บางคนไม่ชอบเรียนเพราะว่ารู้สึกเบื่อหน่าย
การเรียนของทุกคนเราเชื่อว่า นักเรียนเองก็มีความรู้สึกที่มอบให้
เราควรจะสร้างการเรียนที่เกิดความรู้สึกและได้รับคุณค่าอะไรไปบางอย่างจากมัน
การนำประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียนมาผูกกับเนื้อหาที่เรียน
การทำกิจกรรมที่สร้างทั้งความสนุกและความรู้
ประเด็นฮิตในสังคมมาสร้างเป็นบทเรียน
นี่ก็เป็นตัวอย่างการประยุกต์ต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้มีอารมณ์ร่วมกับการเรียน
ทั้งนี้จะต้องดูเป็นรายวิชาและเนื้อหาที่คิดว่าสามารถนำไปสอนในแบบต่างๆ
บางอย่างอาจจะเหมาะกับการเรียนผ่านบรรยายและทำชิ้นงาน
หรือทำกิจกรรมสนุกชวนคุยและถอดบทเรียน
หากว่าไม่ค่อยมีไอเดียในการสอนก็เปิดเว็บไซต์ InsKru คอยช่วยเหลือ
ที่รวมไอเดียไว้มากมายให้ครูไปช๊อปปิ้งไอเดียกัน
เทคโนโลยีและการเรียนรู้
ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ครูได้ปรับใช้นำเทคโนโลยีมาช่วยสอน
ในแพลตฟอร์ม แอปพลิเคชั่น เครื่องมือต่างๆ เกิดขึ้นมามากมายในช่วงโควิด
ซึ่งตัวครูเองก็ได้นำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้อง
เราเห็นบทบาทของเทคโนโลยีที่มีช่วยเหลือครู
กลับกันในการเรียนการสอนเราสามารถนำเทคโนโลยีมาสร้างความรู้ให้นักเรียนยังไง
ไม่ใช่วงการศึกษาอย่างเดียวที่มีเทคโนโลยีหรือเครื่องมือต่างๆ มาช่วยเหลือ
ในวงการอื่นเราเห็นบทบาทของเทคโนโลยีมามีส่วนร่วมในการทำงาน
ช่วงชีวิตการทำงานอนาคตยังไงเราทุกคนก็ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี
เพราะฉะนั้นนี่เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่อยากชวนให้เนื้อหาการเรียนหรือกิจกรรม
นำเทคโนโลยีมาสอดแทรก ให้ผู้เรียนได้มีทักษะเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความรู้
เช่น การส่งงานอาจจะใช้รูปแบบออนไลน์ การใช้แอปพลิเคชั่นมาเสริมเนื้อหา
นำในประเด็นโซเชียล มาถอดบทเรียนเชิงสังคมให้นักเรียน
ทักษะเชิงเทคโนโลยีมาผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคต
เพื่อนครูสามารถดูตัวอย่างแอปพลิเคชั่นสำหรับการศึกษา จากลิงก์นี้ได้เลย
verywellfamily.com/best-educational-apps-4842094
สร้างพลังงานบวกในห้อง
บทบาทของจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ครูเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สามรถเปลี่ยนแปลงนักเรียน
ภาพจำของครูมีผลต่อความหมายในการเรียนรู้
ถ้านักเรียนอคติ ครู นักเรียนจะละทิ้งการเรียนรู้ไปด้วย
ในการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
ครูเองควรจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ให้ความเคารพ
การอยู่ร่วมกันอย่างคิดบวกและเป็นพื้นที่ปลอดภัย
ครูจะต้องทำเป็นขั้วพลังงานเพื่อดึงดูดนักเรียนเข้ามาหาครู
อาจจะเริ่มต้นการสร้างข้อตกลงร่วมกัน ผ่านการพูดคุยกับนักเรียน
ปฏิสัมพันธ์กับเขาให้เขาเปิดใจกับเราและเราจะเข้าถึงตัวเขาได้
นั่นจะทำให้เรารับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนและสามารถช่วยเหลือได้
การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ทรงพลังจะประกอบไปด้วย 3 วง
สำหรับการเริ่มต้นเปิดเทอมที่ได้กลับจัดการเรียนการสอนในห้อง
เพื่อนครูหลายท่านอาจจะประสบปัญหาไม่มากก็น้อย
สิ่งที่เกิดขึ้นคล้ายกันนั่นก็คือภาวะถดถอยการเรียนรู้ของนักเรียน
คิดว่า 3 วงนี้ก็เป็นหัวใจสำคัญที่ค่อย ๆเริ่มฟื้นฟูนักเรียนให้กลับมามีความพร้อมได้
สำหรับบทความนี้คิดว่าเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นแนวคิดในการช่วยเหลือเพื่อนครูไม่มากก็น้อยสำหรับการปรับตัวการเรียนการสอนช่วงเปิดเทอมนี้
เป็นกำลังใจให้เพื่อนครูทุกคนนะครับ 😂
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!