inskru

เรียนประวัติศาสตร์ ผ่านการเรียนและเล่น

4
3
ภาพประกอบไอเดีย เรียนประวัติศาสตร์ ผ่านการเรียนและเล่น

กิจกรรมเกมไขคดีวิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2



“ครูสังคมไม่ได้สอนประวัติศาสตร์เพื่อให้นักเรียนไปเป็นนักประวัติศาสตร์หรือนักโบราณคดี แต่สอนเพื่อให้นักเรียนซาบซึ้งในอดีต เข้าใจปัจจุบัน และร่วมสร้างอนาคต”


ในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ หากถามนักเรียนหลาย ๆ คน นักเรียนมักจะบอกว่าเป็นวิชาท่องจำ น่าเบื่อ เนื้อหาเยอะ ชื่อบุคคลเยอะแยะไปหมด ไม่เห็นสนุกเลย ง่วงนอน ฯลฯ ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนน่าเบื่อหน่าย ส่งผลให้ผู้เรียนไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ในที่สุด จากการสอน เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จึงได้นำกิจกรรมไขคดีวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับแนวคิดมาจากเพื่อน ๆ สมาชิก Inskru -พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน โดยได้นำมาปรับใช้ให้อยู่ในรูปของเกมการ์ด



โดยมีวิธีการเล่น ดังนี้

1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ค่อนข้างเก่ง

ปานกลาง ค่อนข้างอ่อน และอ่อน หรือตามความสมัครของนักเรียน

2) ให้แต่ละกลุ่มสมมติว่าแต่ละกลุ่มคือสำนักงานนักสืบ History ที่จะต้องสืบคดีนักเรียนที่หายตัวไป แต่ละกลุ่มจะทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอนไปพร้อมกัน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้

  • 1.  การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
  • 2.  การรวบรวมหลักฐาน
  • 3.  การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
  • 4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล
  • 5.  การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ

3)  นักเรียนอ่านบันทึกคดี เมื่ออ่านจบให้สมาชิกในกลุ่มปรึกษากันเพื่อตั้งสมมติฐานแล้วเขียนลงในกระดาษกิจกรรมที่แจกให้




4)  เมื่อแต่ละกลุ่มตั้งสมมติฐานแล้วให้อ่านข้อมูลที่รวบรวมได้ในหน้าที่ 3 ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทางตำรวจพอจะอำนวยความสะดวกให้เหล่านักสืบ History ได้มีเพียง 9 อย่าง



5)  ให้แต่ละกลุ่มเลือกข้อมูลที่จะไปสืบคดีในหน้าที่ 4 โดยข้อมูลแต่ละข้อจะมีเวลาในการสืบค้น แต่ละกลุ่มต้องเลือกข้อมูลไม่เกินเวลาที่กำหนด แต่ละกลุ่มร่วมกันคิดว่าจะเลือกหลักฐานชิ้นใดในการสืบคดีจากทั้ง 9 ชิ้นที่ตำรวจสามารถหาได้ โดยมีข้อแม้คือห้ามให้เวลาสืบค้นเกิน 120 นาที



6)  ครูแจกข้อมูลหลักฐานตามหมายเลขที่แต่ละกลุ่มเลือก (หน้า 1 ที่ครูตัดเตรียมไว้)

7)  นักเรียนนำหลักฐานที่เลือกมาตีความเพื่อสืบหานางสาวญาณิศา โดยเชื่อมโยงหลักฐานแต่ละชิ้นที่เชื่อได้ว่าน่าเป็นจริงเข้าด้วยกัน




8)  แต่ละกลุ่มนำหลักฐานที่เลือกมาพิจารณาข้อมูลเพื่อสรุปผลการสืบสวน ลงในหน้าที่ 4

9)  ครูเฉลยคำตอบว่าสุดท้ายแล้วนางสาวญาณิศาหายไปไหน (เฉลย คลินิกทำแท้ง)



สิ่งที่นักเรียนจะได้จากการทำกิจกรรมไขคดีวิธีการทางประวัติศาสตร์

1. นักเรียนได้สวมบทบาทเป็นสำนักงานนักสืบ History ที่จะต้องสืบคดีนักเรียนที่หายตัวไป แต่ละกลุ่มจะทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอนไปพร้อมกัน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน

2. นักเรียนได้ฝึกตั้งคำถามและสมมติฐานเกี่ยวกับการหายตัวไปของนางสาวญาณิศา ได้ฝึกการนำหลักฐานที่เลือกมาตีความเพื่อสืบหานางสาวญาณิศา โดยเชื่อมโยงหลักฐานแต่ละชิ้นที่เชื่อได้ว่าน่าเป็นจริงเข้าด้วยกัน

3. นักเรียนสามรถบอกขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งได้แก่ 1) การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา 2) การรวบรวมหลักฐาน 3) การประเมินคุณค่าของหลักฐาน 4) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล และ 5) การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ

4. นักเรียนได้ทำกิจกรรมแบบกระบวนการกลุ่ม (Group Process) การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นขั้นตอน มีการกำหนดเป้าหมาย การวางแผนการทำงาน การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน การคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ และการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์มากที่สุด


ขอขอบคุณแนวคิดจากเพื่อน ๆ สมาชิก Inskru -พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอนด้วยครับ ครูท่านไหนได้ทดลองใช้แล้วมาแลกเปลี่ยนกันได้ครับ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    LearningArenaเรียนแบบครูสังคมศึกษาเกมและกิจกรรมเกมเพื่อการเรียนรู้บอร์ดเกม

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    4
    ได้แรงบันดาลใจ
    3
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insครูสังคมอมยิ้ม
    ครูสังคมศึกษาผู้หลงหลงในบอร์ดเกมการศึกษา กับการตั้งคำถามว่า "เกมเป็นมากกว่าแค่เรื่องสนุกที่ไม่มีสาระจริงหรือ"

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ