icon
giftClose
profile

เกม ศึกกะหมังกุหนิง ยิ้งฉุบอีเหนา

46845
ภาพประกอบไอเดีย เกม ศึกกะหมังกุหนิง ยิ้งฉุบอีเหนา

เกมเป่ายิ้งฉุบชิงตัวประกันสุดป่วนที่อ้างอิง เรื่องราวในวรรณคดี เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

เกมนี้เหมาะสำหรับคุณครูที่กำลังมองหาวิธีการเล่าเรื่อง วรรณคดี แบบไม่ซ้ำและจำเจ ไม่หน้าเบื่อแถมนักเรียนยังได้รู้จักตัวละครผ่านการทำกิจกรรมอีกด้วย กิมมิคในการคิดเกมของผมก็คือ เรื่องราวมันเกี่ยวกัยบการสู้รบเพราะฉนั้นมันก็ต้องมีการแข่งขัน หรือสู้รบ ซึ่งการสู้รบของเด็ก ๆ ที่เห็นกันจนชินตาก็คือการเป่ายิ้งฉุบ จึงเกิดออกมาเป็นเกมนี้


  • เริ่มต้นคุณครูอาจจะเล่าวรรณคดี เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง ก่อนเพื่อให้นักเรียนคุ้นเคยกับตัวละครกับเนื้อเรื่อง แล้วจึงค่อยเล่นเกมสักคาบนึง หรืออาจจะยังไม่เล่าก็ได้ เพราะคุณครูสามารถเล่าตอนทำกิจกรรมไปด้วยก็ได้


  • คุณครู แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 ทีม ทีมละ 10 คน และเริ่มแจก สื่อ ป้ายชื่อตัวละคร (แนบสื่อไว้ให้แล้วข้างล่างครับ) ซึ่งตัวละครแต่ละตัวก็จะประกอบไปด้วยตัวหลักๆ และเด็นๆ ของเรื่อง โดยแต่ละตัวก็จะมีพลังหรือความสามารถพิเศษที่แตกต่างกัน ได้แก่












  • กติกา
  1. นักเรียนทุกคนในทีมจะต้องสวมบทบาทเป็นตัวละคร โดยทุกคนในทีมจะต้องศึกษาความเป็นมา และความสามารถของตัวละครว่าตนเองเป็นใครในเรื่อง และมีความสามารถอะไร
  2. นักเรียนทั้ง 2 ทีม จะต้องส่งตัวแทน รอบละ 1 คน ออกมาเป่ายิ้งฉุบกัน โดยจะต้องเลือกใช้การ์ดเป่ายิ้งฉุบที่วางคว่ำหน้าอยู่
  3. เมื่อตัวแทนทั้ง 2 คน เลือกการ์ดแล้วจะต้องนำการ์ดตั้งไว้บนหัว **ฝั่งตรงข้ามจะเห็นของเรา เราเจ้าของการ์ตจะไม่เห็นของตนเอง
  4. ตัวแทนทั้ง 2 ทีมสามารถหันมาถามความคิดเห็นฝั่งตัวเองได้ รอบละ 1 ครั้ง โดยคนอื่น ๆ ในทีมพูดได้แค่คำว่า อืม เฉพาะกรณีที่ถูกถามเท่านั้นหลังจากนั้นสมาชิกห้ามพูดอะไรเลย และหากตัวแทนไม่มั่นใจในการ์ดของตัวเองสามารถเปลี่ยนได้รอบละ 1 ครั้ง
  5. เมื่อได้ผล แพ้-ชนะ คนที่แพ้จะต้องถูกจับเป็นตัวประกัน (พร้อมกับถูกทาแป้งถ้าคุณครูต้องการ แต่บอกเลยว่าใช้แป้งมันส์มากกกก555+) คนที่ถูกจับเป็นตัวประกันจะถูกจับไปได้ไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อโดนจับครั้งที่ 2 จะถือว่าตาย และต้องออกจากการแข่งขัน
  6. ตัวแทนที่ชนะจะต้องแข่งต่อ และฝั่งทีมที่แพ้จะต้องส่งตัวแทนคนใหม่มาสู้ หากสู้ชนะก็สามารถชิงตัวประกันกลับได้รอบละ 1 คน แถมคนที่แพ้ก็ต้องถูกจับด้วยยยย
  7. เล่นไปเช่นนี้กันเรื่อย ๆ จนกว่าเวลาจะหมด หรือสมาชิกทีมใดทีมนึงหมด ทีมใดที่เหลือสมาชิกมากกว่าก็เป็นฝ่ายชนะ


มาถึงตอนนี้คุณครูคงกำลัง งง ว่าแล้วต้องเสริมความรู้ให้เด็กตอนไหน ...ให้คุณครูพูดเสริมหรืออธิบายตัวละครเพิ่มเติมให้กับนักเรียนตอนที่นักเรียนส่งตัวแทนออกมาเป่ายิ้งฉุบครับ โดยแต่ละคนจะมีบทบาทเป็นตัวละครอยู่แล้วใช่ม๊าาาา เราก็อธิบายเลยว่าจำได้ไหมที่ครูเล่าให้ฟังอะว่าบุษบานี้เป็นใคร เป็นลูกของใครน้าาา แล้วทำไม่บุษบาถึงต้องแต่งงานกับจรกา ถามหรือเล่าได้หมดเลยครับ และท้ายคาบคุณครูอาจจะให้นักเรียนทำใบงาน หรือ แผนผังตัวละครเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ก็ได้ครับ


ตัวอย่างภาพกิจกรรม ที่ผมเคยนำเกมนี้ไปใช้กับค่ายรักภาษาไทย โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จ.บุรีรัมย์ ครับ ขออนุญาตนักเรียนและบุคคลในภาพนะครับ





ยินดีให้คุณครูที่สนใจ สามารถนำสื่อ และกิจกรรมไปใช้ในการเรียนการสอนได้เลยนะครับ แต่ขอไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพานิช และการสอบแข่งขันใดๆ นะครับ สุดท้ายแล้วก็ขอขอบพระคุณภาพการ์ตูนสวย ๆ น่ารัก ๆ จากเพจ ภาษาไทยไม่จั๊กเดียม ด้วยนะครับ facebook.com/thai.teacherkaa หากใครสนใจสไลสวยตัวการ์ตูนเริส ๆ ไปติดต่อสอบถามได้เลยครับ มีทั้งแบบแจกฟรีและแบบเสียตังเลย ส่วนตัวผมเสียเงินตลอด555+ สมัยที่ฝึกสอนอยู่เพราะมันสวยแล้วก็ประหยัดเวลาอีกด้วย

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: ป้ายชื่อ 1.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 154 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(15)
เก็บไว้อ่าน
(12)