(ตามติดเปิดเทอม, ตามติดเทอม 1, ตามติดเทอม 2)
เนื่องจากมีบอร์ดเกม DiXit อยู่แล้วจึงเลือกการ์ดรูปภาพภายในเกมมาใช้สำหรับกิจกรรมนี้ โดยภาพในเกมนี้มี 84 ใบไม่ซ้ำกัน
1. เพื่อให้นักเรียนทบทวนชีวิตที่ผ่านมา (1 สัปดาห์หลังเปิดเทอม, หลังสอบ, 1 เทอม)
2. ฝึกทักษะการพูดเล่าเรื่อง โดยถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง
3. ฝึกทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)
1. แจ้งวัตถุประสงค์ให้นักเรียนทราบ สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกัน
เจ้าของเรื่องสามารถเลือกที่จะเล่าหรือไม่เล่าอะไรก็ได้ เล่าเท่าที่จะเล่าได้ เท่าที่เรารู้สึกปลอดภัย และการคุยกันวันนี้ ทุกเรื่องราวก็จะจบภายในห้องนี้ด้วยเช่นกัน
2. วางบัตรภาพไว้กลางห้อง แล้วให้นักเรียนเลือกภาพที่ตรงกับช่วงชีวิตในขณะนี้มากที่สุด
(หากไม่มีภาพไหนที่ตรงใจนักเรียน ให้เลือกที่ใกล้เคียงหรือสามารถเชื่อมโยงไปสู่อารมณ์ ความรู้สึกในช่วงนี้ได้มากที่สุด)
3. จับคู่แลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิตของแต่ละคน
กำหนดให้ A เป็นคนเล่าเรื่องราวหรือเหตุผลที่เลือกการ์ดรูปภาพนี้ให้เพื่อนฟัง
B ฟังอย่างตั้งใจ ไม่พูดแทรก และมองหน้าเพื่อนขณะที่ฟัง
A เล่า 2 นาที จากนั้นเปลี่ยนบทบาทให้ B เป็นฝ่ายเล่า >>> เปลี่ยนคู่ไปเรื่อย ๆ (ตามเวลาที่มี)
4. สรุปกิจกรรม ถามสิ่งที่ชอบ/ไม่ชอบ ได้อะไรจากการทำกิจกรรม
(ช่วงเวลานี้เป็นส่วนที่สำคัญที่จะช่วยตกตะกอนความคิดของนักเรียนผ่านการตอบคำถามของเพื่อน ๆ ในห้อง)
1. นักเรียนได้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตผ่านมุมมองที่หลากหลาย ระบายความเครียด ความอัดอั้นและความคาดหวังจากบุคคลรอบข้างให้เพื่อนและครูได้ฟัง
2. นักเรียนสามารถเล่าเรื่องราวของตนเองได้อย่างมีลำดับขั้นตอน
3. นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) จนกระทั่งเป็นผู้ฟังที่ดี
4. นักเรียนรู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้เล่าเรื่องราวชีวิตและระบายความอึดอัดในใจ
ระยะเวลาที่นำกิจกรรมนี้ไปใช้แตกต่างกัน
ครั้งแรก ตามติดชีวิตเทอม 2 ได้ฟังเรื่องราวใน 1 เทอมที่ผ่านมาของนักเรียนรุ่นที่แล้ว เราได้ฟังหลากหลายเรื่องราว บางเรื่อง ขนาดในฐานะที่ปรึกษาเองยังไม่เคยรับรู้ปัญหาของเขาขนาดนี้เลย บางคนร้องไห้ขณะเล่า บางคนขอบคุณที่เรารับฟัง หลังจบกิจกรรมอยากกอดทุกคนในห้องมาก ๆ
ครั้งที่สอง สด ๆ ร้อน ๆ เพิ่งเปิดเทอมได้ 1 อาทิตย์ นักเรียน ม.4 มาจากหลากหลายห้องยังไม่ค่อยคุ้นเคยกันเท่าไหร่ เราสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่กัน กำหนด(แกมบังคับ) ให้แนะนำตัวทุกครั้งก่อนเริ่มการคุยในแต่ละรอบ ครูต้องกระตุ้นให้นักเรียนเปลี่ยนคู่สนทนา เช่น จับคู่กับคนที่ยังไม่เคยคุยกันเลย จับคู่กับคนที่คุยด้วยน้อยที่สุด หรือจับคู่กับคนที่เกิดเดือนเดียวกัน ให้เค้าออกจากกลุ่มเพื่อนที่คุ้นเคยกันมาแล้ว
คุณครูคนไหนเคยใช้วิธีแบบนี้หรือนำไอเดียนี้ไปใช้แล้วแวะมาแชร์กันได้นะครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!