icon
giftClose
profile

ไทม์ไลน์พุทธประวัติด้วย GoogleMap

34550
ภาพประกอบไอเดีย ไทม์ไลน์พุทธประวัติด้วย GoogleMap

ใช้ Google Map สร้างแผนที่และใช้เป็นกิจกรรมไทมไลน์พุทธประวัติ

จุดเริ่มต้นของการนำ Google map มาเป็นสื่อการสอน มาจากความคิดที่ว่าเนื้อหาของแต่ละสาระ แต่ละวิชา สามารถนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันได้ เมื่อต้องสอน พุทธประวัติ ม.1 ในตอนแรกอยากสอนโดยใช้ Timeline แต่รู้สึกว่ามันจะธรรมดาเกินไป มีโจทย์สามข้อที่อยากทำคือ

นักเรียนต้องรู้จักชื่อบุคคลสำคัญในพุทธประวัติ

นักเรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ได้

นักเรียนต้องรู้จักสถานที่สำคัญในพุทธประวัติ

พอดีเจอการสร้างแผนที่ของตัวเองใน Google map เลยสนใจและนำมาสร้างเป็นสื่อการสอนวิธีทำค่อนข้างง่ายและสามารถเพิ่มเติมข้อมูลและแชร์ให้กับนักเรียนดูได้อีกด้วย ซึ่งสามารถประยุกต์ไปใช้กับเนื้อหา หรือวิชาอื่นได้อีกด้วย


ขั้นตอนการสร้างแผนที่

1.เปิด googlemap กดสัญลักษณ์ขีดสามขีดมุมซ้ายบน


2.เข้าไปที่ "สถานที่ของคุณ"

3.ไปที่ Maps จากนั้นไปที่สร้างแผนที่

4.ระบบจะนำมาหน้านี้สามารถเพิ่มเลเยอร์ต่าง ๆ ลงไปได้ ใส่ข้อมูลต่าง ๆ ที่เราต้องการลงไปได้

5.เมื่อสร้างแผนที่แล้วอาจใช้นำเสนอให้นักเรียนดูได้โดยตรงหรือแชร์ลิงค์ให้ผู้เรียนเข้าไปดู

ตัวอย่างแผนที่ไทม์ไลน์พุทธประวัติ https://www.google.com/maps/d/u/0/edit?mid=1490rHKxZ1yQDpD_Ub45_3v-C-AU&usp=sharing


การนำไปใช้

สำหรับวิชาพระพุทธศาสนา ม.1 หากมีโปรเจกเตอร์ ครูสามารถใช้แผนที่ที่สร้างขึ้นมาให้นักเรียนร่วมกันสร้างไทม์ไลน์ได้ โดยใช้ภาพ หรือการ์ดข้อความ ที่มีชื่อบุคคลสำคัญ สถานที่และเหตุการ์ให้นักเรียนนำการ์ดเหล่านั้นไปแปะบนแผนที่ให้ถูกต้อง


หรืออาจแชร์ลิงก์แผนที่พร้อมใส่ข้อมูลต่างๆของบทเรียนไว้ให้นักเรียนไปศึกษาด้วยตนเอง

หรืออาจนำภาพแผนที่มาทำเป็นใบงานให้นักเรียนทำได้ด้วย

แผนที่ไทม์ไลน์พุทธประวัตินี้สร้างขึ้นโดยปักหมุดลงบริเวณสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาบางพื้นที่ข้อมูลไม่ชัดเจน เส้นทางอาจเปลี่ยนไป แม่น้ำอาจเปลี่ยนชื่อต้องอาศัยการค้นคว้าข้อมูลและปักหมุดไว้บริเวณใกล้เคียง ซึ่งแผนที่นี้ยังสามารถใช้ฟังก์ชั่น street view พานักเรียนลงไปสำรวจพื้นที่ได้อีกด้วย นักเรียนจะได้เห็นความสัมพันธ์ของพื้นที่บางอย่างเช่น ในหนังสือระบุว่า "ลุมพินีวัน" อยู่กึ่งกลางระหว่าง "กรุงกบิลพัสดุ์" และ "กรุงเทวทหะ" จริงหรือไม่ ? เจ้าชายสิทธัตถะ เดินทางไกลแค่ไหน หรืออาจเชื่อมโยงไปถึงเสาของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทำให้เราสามารถระบุตำแหน่งสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาเหล่านี้ได้


สามารถดูตัวอย่างแผนที่ได้ตามลิงก์นี้ครับ https://www.google.com/maps/d/u/0/edit?mid=1490rHKxZ1yQDpD_Ub45_3v-C-AU&usp=sharing อาจไม่ถูกต้องและข้อมูลยังไม่ครบถ้วนเนื่องจากภาระงานจะพยายามแก้ไขปรับปรุงเรื่อย ๆ ครับ ตำแหน่งสถานที่สำคัญบางแห่งอาจมีความคลาดเคลื่อนบ้างอาศัยอ้างอิงจากชื่อเมือง และเส้นทางปัจจุบันอาจไม่เหมือนเส้นทางเมื่อพุทธกาล หากท่านใดมีข้อมูลสามารถแนะนำได้นะครับ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: ใบงานเรื่อง พุทธประวัติ.docx

ดาวน์โหลดแล้ว 122 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(14)