การอ่านชื่อสารอินทรีย์ เป็นหนึ่งในเนื้อหาสาระของรายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม สาระเคมี ซึ่งในการศึกษาเคมีอินทรีย์ ในขั้นต้น จะต้องทราบเกี่ยวกับการอ่านชื่อสารอินทรีย์ตามระบบ IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) ซึ่งถือว่าเป็นสากล และเป็นที่ยอมรับ การอ่านชื่อสารอินทรีย์อย่างถูกต้องนั้น จะทำให้สามารถทราบรูปร่างโมเลกุล และคุณสมบัติทางเคมีบางประการได้ แต่เงื่อนไขในการอ่านชื่อนั้นมักจะทำให้นักเรียนรู้สึกจดจำได้ยาก ดังนั้นในที่นี้เมื่อนักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านชื่อสารอินทรีย์ได้บ้างแล้ว จึงจำเป็นต้องเสริมความชำนาญในการอ่านชื่อสารอินทรีย์ในกับนักเรียน ในที่นี้จะใช้เป็นเกมใบ้คำ "Charades in organic chemistry nomenclature"ที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถจำกฎเกณฑ์การอ่านชื่อสารอินทรีย์ตามระบบ IUPAC ได้ดีขึ้น พร้อมทั้งเร้าความสนใจในเนื้อหาของนักเรียนมากขึ้น
1. เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านชื่อสารอินทรีย์ในระบบ IUPAC ได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อสร้างความชำนาญให้นักเรียนในการอ่านชื่อสารเคมีอินทรีย์
- ม.6/4 เขียนสูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่างๆที่มีหมู่ฟังก์ชันไม่เกิน 1 หมู่ตามระบบ IUPAC
- ขั้นนำ : ครูอธิบายหัวข้อ และเนื้อหาการเรียนอย่างคร่าวๆเกี่ยวกับการอ่านชื่อสารอินทรีย์ในระบบ IUPAC
- ขั้นสอน : ครูทำการสอนเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวกับการอ่านชื่อสารอินทรีย์ในระบบ IUPAC แล้วหลังจากนั้นเสริมความเข้าใจให้นักเรียน โดยใช้เกม "Charades in organic chemistry nomenclature"
-วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ : กระดาน/ชอล์ก กระดาษ A4 บัตรคำที่มีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านขื่อสารอินทรีย์ในระบบ IUPAC (อาจทำเป็นคอมพิวเตอร์และฉายภาพ)/นาฬิกาจับเวลา
วิธีการเล่นเกม
1. นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน เป็นจำนวน 4-5 กลุ่ม ตามความเหมาะสมของจำนวนนักเรียนในชั้นเรียน
2. ให้นักเรียนต่อแถวลักษณะดังรูป โดยการส่งตัวแทนนักเรียน 1 คน เป็นคนตอบ ซึ่งจะมองไม่เห็นคำตอบ และนักเรียนที่อยู่ในแถว เป็นทีมซึ่งช่วยใบ้คำกัน
3. เมื่อเริ่มเกม นักเรียนในแถวจะต้องใบ้คำเพื่อให้นักเรียนที่ตอบซึ่งเป็นตัวแทนตอบให้ได้แล้ว เมื่อตอบถูก นักเรียนที่ตอบจะเข้าไปต่อแถวด้านหลัง ส่วนคนหน้าสุดก็จะมาเป็นคนตอบแทน
4. จากข้อ 3 กระบวนการทั้งหมด ครูผู้สอนจะจับเวลาให้เท่ากันในแต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่มละ 3 นาที ( ซึ่งครูจะต้องกำหนดตามความเหมาะสม) กลุ่มใดตอบถูกเยอะที่สุดจะเป็นฝ่ายชนะ
-ขั้นสรุป : ครูทำการสรุปเนื้อหาที่สอน รวมถึงกิจกรรมเกมให้กับนักเรียน
-ขั้นประเมินผล ในที่นี้ครูจะใช้วิธีการประเมินผลแบบใดก็ได้ ตามความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ภายในชี้นเรียนในขณะนั้น อาจประเมินผลเป็นกลุ่มโดยการใช้เกมก็ได้
1. ใช้วัสดุใกล้ตัวได้ไม่ยาก
2. กิจกรรมสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
1. ในการใช้เกมนี้ นักเรียนจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านชื่อสารอินทรีย์ในระดับหนึ่ง ซึ่งความเช้าใจนั้นอาจไม่ตรงกันได้
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!