จุดประสงค์การเรียนรู้
กิจกรรมเริ่มต้นโดยผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียน ด้วยการเชื่อมโยงความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับระบบศักราชที่สำคัญ นำเสนอภาพตัวอย่างการใช้ศักราชในหลักฐานต่าง ๆ และร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน ซึ่งส่วนใหญ่นักเรียนจะมีความรู้พื้นฐานจากการเรียนเกี่ยวกับระบบศักราชมาจากชะเน ม.ต้น และตอนเรียนประวัติศาสตร์ไทย ชั้น ม.4 มาบ้างแล้ว ทำให้ครูสามารถสรุปประเด็นและไปต่อได้เร็วขึ้น
จากนั้นครูจึงอธิบายเพิ่มเติมเเพื่อสรุปประเด็นให้นักเรียนมีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับระบบศักราช การคำนวณเวลา และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำกิจกรรมในขั้นต่อไป
จากนั้นจึงเริ่มทำกิจกรรม “เวลานั้น... สำคัญอย่างไร” โดยผู้สอนแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม จากนั้นผู้สอนอธิบายกติกาในการทำกิจกรรม ดังนี้
หลังจากนั้น ผู้สอนนำเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในกิจกรรมที่เรียงปีที่เกิดเหตุการณ์ และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง และร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเหตุการณ์ที่แต่ละกลุ่มเรียง
จากนั้นผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปกิจกรรมและบทเรียนโดยเน้นไปที่การอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของเวลาและการใช้ศักราชในการศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งในขั้นนี้ครูจะให้นักเรียนร่วมกันถอดบทเรียนจากกิจกรรม โดยพูดถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบในกิจกรรม อะไรบ้างที่ทำให้การเรียงลำดับเหตุการณ์ใช้เวลานาน หรือมีความยุ่งยาก สิ่งนี้ส่งผลต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร และด้วยเหตุนี้ทำไมเราจึงต้องรู้และเข้าใจระบบศักราช การเทียบศักราชเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์
จุดเด่น
- กิจกรรมนี้ นักเรียนเริ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนกับมากขึ้น โดยครูเน้นการใช้กระบวนการกลุ่มในการร่วมกันอภิปรายแบบกลุ่มย่อยและนำข้อสรุปมาเป็นของกลุ่ม ทำให้ได้ข้อคิดเก็น ประเด็นที่กว้าง และหลากหลายมากขึ้น
- นักเรียนได้มีโอกาสรู้จักกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ต้องเจอในการเรียนบทต่อ ๆ ไป ซึ่งจะให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงในภาพรวมของเหตุการณ์ต่าง ๆ เบื้องต้น
จุดควรพัฒนา
- ในขั้นของการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากข้อมูลในการ์ดที่มีความหลากหลายมาก จึงทำให้บางห้องการเรียงข้อมูลมีความผิดพลาด ใช้เวลานานซึ่งทำให้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ปีศักราช และยุคสมัยอาจเรียงผิดถูกไปบ้าง แต่ผู้สอนสามารถนำไปประเด็นสู่การอภิปรายเกี่ยวกับสภาพปัญหาแลความจำเป็นในการเทียบศักราชต่อไปได้
- ทักษะการคำนวณพื้นฐานของนักเรียนเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรม และส่งผลต่อการควบคุมเวลาในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนควรกำหนดเวลาการทำกิจกรรมและแสดงว่าที่ชัดเจน จะทำให้นัเกรียนบริหารจัดการเวลาและวางแผนได้ดีขึ้น
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!