ของเล่นกับเด็ก ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ขาดกันไม่ได้ ไม่ว่าเด็ก ๆ จะหยิบจับอะไรก็กลายเป็นของเล่นได้หมด แต่ในบางครั้งเด็ก ๆ กลับโดนเตือนว่า “อันนี้ไม่ใช่ของเล่นนะ อย่าเล่นไม่รู้เรื่องสิ!” งั้นแสดงว่าของบนโลกใบนี้มีบางสิ่งที่ “เป็นของเล่น” และ “ไม่ใช่ของเล่น” หรือเปล่านะ
การชวนพูดคุยในลักษณะนี้จะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ทำให้นักเรียนรู้สึกว่าโลกใบนี้เป็นพื้นที่ให้เขาได้ทดลอง “เล่น” อาจใช้คำถามต่อไปนี้ในการชวนพูดคุยต่อ เช่น “แล้วอากาศเป็นของเล่นได้ไหมนะ” “แล้วหมอนเป็นของเล่นได้ไหมนะ”
ไม่แน่ว่านักเรียนอาจจะมีมุมมองต่อโลกนี้ที่สนุกขึ้นก็ได้นะ!
แนวคิดเรื่อง “ความดี (good) - ความชั่ว (bad)” ของนักเรียนนั้นมักถูกแบ่งออกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสื่อต่าง ๆ ที่นักเรียนรับชม เช่น ตัวละครในภาพยนตร์ที่แบ่งออกเป็นคนดีและคนเลว
แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นเราอาจจะไม่สามารถบอกได้ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่ดี และเรื่องใดเป็นเรื่องที่ไม่ดีอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การโต้วาทีในหัวข้อนี้จะพานักเรียนไปสู่พื้นที่ที่มีเส้นแบ่งคั่นของความดีและความชั่วที่เลือนลาง นักเรียนจะได้ทดลองต่อสู้กับความคิดเชิงศีลธรรมที่ไม่สามารถแบ่งออกเป็นสองด้านอย่างที่เคยเป็นมาก่อน
แน่นอนว่าคุณครูทุกคนล้วนสอนให้นักเรียนรู้จักพูด “ขอบคุณ” เพื่อเป็นการแสดงความสุภาพต่อผู้อื่น คนที่ได้ฟังคำขอบคุณคงจะรู้สึกดีใจและปลื้มใจไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะ แต่ถ้าคนที่ได้รับคำขอบคุณไม่ใช่มนุษย์ล่ะ เรายังจำเป็นต้องพูดคำว่าขอบคุณอีกไหมนะ เพราะหุ่นยนต์ไม่มีความรู้สึกนี่นา
แล้วถ้าไม่ใช่หุ่นยนต์ล่ะ เราควรกล่าวขอบคุณกับสัตว์เลี้ยงหรือไม่ เราควรกล่าวขอบคุณกับสิ่งของหรือไม่ เราควรขอบคุณกระทะที่ทำให้เราสามารถทำอาหารได้หรือเปล่า นักเรียนจะมีความคิดเห็นอย่างไรกันนะ คำขอบคุณที่เราพูดกันเป็นประจำนั้นมีหน้าที่ไว้เพื่ออะไรกันนะ
.
ประเด็นเรื่อง “ความเป็นเจ้าของ” สำหรับนักเรียนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะเป็นพื้นฐานทางความคิดที่นำไปสู่เรื่อง “สิทธิ (right)” ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกายของตนเอง หรือสิทธิมนุษยชน สิทธิเหล่านี้เป็นของใคร นักเรียนมีสิทธิในตัวเองหรือไม่
แล้วถ้าพ่อแม่เป็นเจ้าของชีวิตเรา จะส่งผลต่อชีวิตเราอย่างไรบ้าง เราจะสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองหรือไม่ พ่อแม่สามารถซื้อขายลูกของตัวเองได้หรือไม่ พ่อแม่จะทำอะไรกับชีวิตเราก็ได้หรือไม่ หรือถ้านักเรียนมีแฟนขึ้นมา แฟนเป็นเจ้าของชีวิตของเราหรือเปล่าน้า
ประเด็นเขย่าความคิดเชิงศีลธรรมของนักเรียนและคุณครู พานักเรียนกลับมานิยามกันอีกครั้งว่ามนุษย์คืออะไร เด็กในท้องของแม่ถือว่าเป็นมนุษย์หรือไม่ และเมื่อไหร่ที่เราจะสามารถเรียกว่าเป็นมนุษย์ได้
นอกจากนี้ยังสามารถโยงไปถึงประเด็นการทำแท้งได้อีกด้วย เช่น “การทำแท้งถือว่าเป็นการปลิดชีวิตมนุษย์หรือไม่” แต่อย่างไรก็ตาม การโต้วาทีในหัวข้อนี้อาจจะต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ศีลธรรมเข้ามาตัดสินความถูกต้อง คุณครูควรที่จะสร้างข้อตกลงกับนักเรียนก่อนที่จะพูดคุยในประเด็นนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงภายในห้องเรียนนะ!
ประเด็นนี้เป็นประเด็นร้อนในวัยของนักเรียน เนื่องจากเป็นวัยที่ต้องการความรักและความสนใจจากผู้ปกครอง จริงหรือไม่ที่การมีพี่น้องหลายคนจะทำให้เราได้รับความรักน้อยลง ความรักสามารถแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้หรือไม่ แล้วถ้าพ่อแม่บอกว่ารักทุกคนเท่ากัน แล้วพ่อแม่เอาความรักเพิ่มมากจากไหน
การพูดคุยในหัวข้อนี้จะพานักเรียนไปรู้จักธรรมชาติของความรัก ความรู้สึก รูปแบบการแสดงความรัก ผู้มอบความรักและผู้รับความรัก ไม่แน่ว่านักเรียนอาจจะเปลี่ยนมุมมองความรักไปเลยก็ได้นะ!
ประเด็นนี้จะตั้งคำถามไปที่การ “เหมารวม (stereotype)” ลักษณะนิสัยที่ปรากฏขึ้นในสังคม หลายครั้งที่นักเรียนเสพสื่อต่าง ๆ เช่น การ์ตูน ภาพยนตร์ หรือละคร สื่อเหล่านั้นมักฉายให้เห็นว่า “ผู้ชายตัวใหญ่ที่กล้าหาญ” คอยปกป้องตัวละคร “ผู้หญิงตัวเล็กขี้หวาดกลัว” ทำให้นักเรียนคิดไปว่าความกล้าหาญย่อมดีกว่าความหวาดกลัวอย่างแน่นอน และยังมีประเด็นเรื่องการเหมารวมทางเพศอีกด้วย
แล้วถ้าความกล้าหาญนั้นถูกใช้ในทางที่ผิดและความหวาดกลัวถูกใช้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ล่ะ ตกลงแล้วอะไรคือสิ่งที่เราควรชื่นชมกันแน่ ลองหาคำตอบในห้องเรียนแต่ละคนได้เลย!
ใครมีหัวข้อโต้วาทีที่น่าสนใจอีก
สามารถคอมเมนต์ลงในโพสต์ได้เลยน้า
หรือใครมีไอเดียการโต้วาทีเจ๋ง ๆ
ลองแชร์ลงในเว็บไซต์ insKru ได้เลย!
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!