เมื่อกระแสรักสุขภาพกำลังมาแรง ในวงการธุรกิจอาหารได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง Kombucha น้ำชาหมักเพื่อสุขภาพอุดมไปด้วยโพรไบโอติกที่เป็นจุลินทรีย์ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้และระบบย่อยอาหาร
คอมบูชา คือชาหมักเพื่อสุขภาพ ทำมาจากชาดำหรือชาเขียว เติมน้ำตาล แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์และยีสต์ลงไป แล้วทำการหมักขั้นต่ำประมาณ 7 วัน รสชาติที่ได้จะมีความหวานอมเปรี้ยว ยิ่งถ้าเอาไปแช่เย็นจะมีความซ่ามากขึ้น ซึ่งรสชาติเปรี้ยว และความซ่าที่เกิดขึ้นนี้ (คอมบูชาเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ใน % ต่ำ) ครูสามารถเชื่อมโยงกับความรู้เรื่องกระบวนการหมักของยีสต์ จากบทเรียนเรื่องกระบวนการสลายสารอาหารระดับเซลล์ได้
การหมักแอลกอฮล์
น้ำตาล + ยีสต์ - ออกซิเจน ----------> Ethyl alcohol + แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ที่มาของภาพ: byjus.com/cbse/fermentation/?fbclid=IwAR3DDRyGXYNxV6xZrCFKr0FNrnPUfLypigm26XHPJ9HfkQyp7Ai4WjAscV8
การหมักกรดแอซิติก ในอุตสาหกรรมการทำน้ำส้มสายชู
Ethyl alcohol + ออกซิเจน ------------> Acetic acid
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์คอมบูชาที่วางจำหน่ายในท้องตลาด
กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM ศึกษา เรื่อง ชาหมักคอมบูชา เขียนเป็นแผนการสอนได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้
#ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
ผู้เรียนให้ความสนใจกับบทสนทนาในหัวข้อคอมบูชา ชาหมักเพื่อสุขภาพเป็นอย่างมาก มีการพูดคุย ซักถาม ว่ามีนักเรียนคนใดเคยดื่มผลิตภัณฑ์คอมบูชาที่วางจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อหรือไม่ และยิ่งเพิ่มความตื่นเต้นมากขึ้นไปอีกเมื่อครูได้นำตัวอย่างหัวเชื้อจุลินทรีย์ (SCOBY และน้ำตั้งต้น)ให้นักเรียนได้ดมกลิ่น นักเรียนบอกว่ามันมีกลิ่นเหม็นมาก แต่ก็ให้ความสนใจซักถามว่าคืออะไร มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักนี้อย่างไร ครูจึงให้นักเรียนลองสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ศึกษาใบความรู้ และทดลองทำน้ำชาหมักคอมบูชาด้วยตนเอง นักเรียนแต่ละกลุ่มสามารถทำน้ำชาหมักจนสำเร็จ และได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่ม โดยเชื่อมโยงกับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ช่วยกันวางแผนออกแบบจนเกิดเป็นธุรกิจน้ำชาหมักของตนเอง
#สิ่งที่ครูได้เรียนรู้หลังจากการสอน
ดิฉันพบว่า เราสามารถเปลี่ยนบทเรียนที่อาจจะดูน่าเบื่อในสายตาเด็กๆให้กลับมาสนุกอีกครั้งได้ เมื่อเชื่อมโยงความรู้นั้นๆ เข้ากับสิ่งที่นักเรียนรู้จักรอบๆตัวพวกเขา นำการจัดการเรียนรู้แบบ STEM ศึกษาเข้ามาช่วยส่งเสริมกระบวนการคิด กระบวนการทำงานเป็นทีม จุดประกายไอเดียและความคิดสร้างสรรค์นอกกรอบของนักเรียน ดิฉันดีใจที่เมื่อจบการเรียนการสอนในชั้นเรียนนี้ ขณะเก็บของ ทำความสะอาดห้องเรียน มีนักเรียนห้องอื่นได้เดินเข้ามาซักถามด้วยความสนใจใคร่รู้ว่า เราทำอะไรกัน นักเรียนสนใจซักถามลู่ทางอาชีพการทำงานในวงการอาหาร เริ่มสนใจสอบถามเกี่ยวกับคณะอุตสหากรรมเกษตร การที่นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ในห้องเรียนเข้ากับเส้นทางการทำงาน การประกอบอาชีพในอนาคตได้ทำให้พวกเขาตั้งใจเรียน มีจุดหมายในการเรียนมากขึ้น
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!