icon
giftClose
profile

ห้องเรียนกลับด้านกับการอ่านเพื่อความเข้าใจ

10020
ภาพประกอบไอเดีย ห้องเรียนกลับด้านกับการอ่านเพื่อความเข้าใจ

ห้องเรียนกลับด้านกับกลวิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

ศตวรรษที่ 21 เป็นโลกแห่งการเรีดยนรู้ที่ไร้พรมแดน ไร้ขีดจำกัด มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านผสานกลวิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการสอนไปจากเดิม บทบาทหน้าที่ของครูและนักเรียนเปลี่ยนไป


บทบาทครู

  1. เป็นนักออกแบบกิจกรรม
  2. เป็น Coach ที่คอยให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะเมื่อผู้เรียนเกิดปัญหา
  3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนให้ทันสมัย
  4. ใช้เทคโนโลกยีเข้ามาเป็นหลักในการสร้างสื่อการสอน


บทบาทนักเรียน

  1. มีความรับผิดชอบมากขึ้น
  2. ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  4. สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้


กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจ

กลวิธีการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจ มีหลายกลวิธีด้วยกัน แต่ละกลวิธีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ต่างกันไป เพียงแต่มีจุดประสงค์ปลายทางเดียวกันนั่นคือ การให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในการอ่าน

ข้าพเจ้าได้ศึกษาและสังเคราะห์กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษจากกลวิธีต่างๆ ได้แก่กลวิธี PLAN, กลวิธี SCROL, กลวิธี DR-TA, กลวิธี START และกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ CSR 

ซึ่งข้าพเจ้าได้สังเคราะห์ขั้นตอนได้เป็น กลวิธี PSQ3R 

มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้

ขั้นที่ 1 การทำนายล่วงหน้า (Predicting = P) เป็นขั้นตอนที่กระตุ้นความสนใจด้วยการให้นักเรียนดูรูปภาพ อ่านชื่อเรื่อง และบอกความหมายของชื่อเรื่อง พร้อมทั้งคาดเดาเรื่องราวก่อนอ่าน ผู้เรียนใช้ความรู้เดิมในการคาดการณ์เหตุการณ์

           ขั้นที่ 2 อ่านคร่าวๆ (Survey = S) เป็นการอ่านเพื่อหาจุดสำคัญของเรื่อง อ่านเพื่อหาคำศัพท์ใหม่ การอ่านในขั้นนี้ใช้เวลาไม่นาน เป็นการอ่านที่ช่วยให้ผู้อ่านเรียบเรียงแนวคิดต่างๆได้

           ขั้นที่ 3 ตั้งคำถาม (Question = Q) เป็นการตั้งคำถามที่จะทำให้ผู้อ่านมีความอยากรู้อยากเห็น เป็นการเพิ่มความเข้าใจในการอ่านมากยิ่งขึ้น คำถามจะช่วยให้ผู้อ่านระลึกถึงความรู้เดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน คำถามจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้เร็ว และผู้เรียนจะต้องถามตนเองว่าต้องการรู้อะไรในเรื่องที่อ่านบ้าง คาดหวังอะไรกับบทอ่านบ้าง

           ขั้นที่ 4 อ่านอย่างละเอียด (Read = R1) เป็นขั้นการอ่านข้อความในบทหรือตอนนั้นๆ ซ้ำอย่างละเอียดและในขณะเดียวกัน ก็ค้นหาคำตอบสำหรับคำถามที่ได้ตั้งไว้ ในขั้นนี้จะเป็นการอ่านเพื่อค้นหาตอบของคำถามและจับประเด็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมการอ่านร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม

           ขั้นที่ 5 สรุปใจความสำคัญ (Recite = R2) ให้ผู้เรียนสรุปใจความสำคัญโดยผู้เรียนสามารถนำเสนอเป็นชิ้นงานหรือการตอบคำถาม

           ขั้นที่ 6 วิเคราะห์และนำไปใช้ (Reflect = R3) เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ วิจารณ์ บทอ่านที่ผู้เรียนได้อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ผู้เรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องหรือความคิดเห็นไม่สอดคล้อง บางครั้งอาจขยายความสิ่งที่ได้อ่านโดยการเชื่อมโยงความคิดจากบทอ่านกับความรู้เดิมโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง

           โดยกลวิธีการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจดังกล่าว มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ใน 3 ขั้นตอนแรกคือ ขั้นที่ 1 การทำนายล่วงหน้า (Predicting = P), ขั้นที่ 2 อ่านคร่าวๆ (Survey = S) และ ขั้นที่ 3 ตั้งคำถาม (Question = Q) เป็นขั้นตอนการสอนที่อยู่ในกิจกรรมนอกชั้นเรียนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ที่ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูออกแบบขึ้น และขั้นที่ 4 อ่านอย่างละเอียด (Read = R1), ขั้นที่ 5 สรุปใจความสำคัญ (Recite = R2) และขั้นที่ 6 วิเคราะห์และนำไปใช้ (Reflect = R3) จะเป็นขั้นตอนการสอนในชั้นเรียนปกติ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาต่อไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(3)