icon
giftClose
profile

ชุมชนเก่าเล่าเรื่อง

18430
ภาพประกอบไอเดีย ชุมชนเก่าเล่าเรื่อง

#ถ้าวันหนึ่งนั่งรถไฟ ฉันจะ… กิจกรรม Active learning แนวคิด Gamification ที่ใช้เทคนิคในรูปแบบของเกมเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน+มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่สนุกสนาน โดยใช้การเปิด Mystery box เพื่อตะลุยทำภารกิจให้สำเร็จ ซึ่งจะมี Pocket money (คะแนนสะสมให้เกิดการขับเคลื่อน)

ภายใต้กิจกรรม

“ชุมชนเก่าเล่าเรื่อง : นักสืบน้อยย้อนรอยประวัติศาสตร์พิจิตร”

Active learning แนวคิดแบบ Gamification ที่ใช้เทคนิคในรูปแบบของเกม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่สนุกสนาน


องค์ประกอบที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้

🔺 Goals เป้าหมาย

🔺 Rules กฎ

🔺 Times เวลา

🔺 Reward รางวัล

🔺 Learning การเรียนรู้

🔺 Point คะแนน

🔺 Build Teams ทำงานเป็นทีม

🔺 Track เก็บข้อมูล

🔺 Challenge ความท้าทาย

ในแต่ละจุดจะมีการให้องค์ความรู้ต่างๆ แบบบูรณาการกับศาสตร์วิชาต่างๆ ที่มีจุดร่วมเดียวกัน รวบตัวชี้วัดที่คล้ายกัน เพื่อเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เช่น สังคม ภาษาไทย ศิลปวัฒนธรรม นาฏศิลป์ เชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดพิจิตร 

โดยสลับกับการเปิด Mystery box เพื่อตะลุยทำภารกิจให้สำเร็จ ซึ่งจะมี Pocket money เป็นคะแนนสะสมเป็นตัวกระตุ้นให้ขับเคลื่อนการเรียนรู้ เช่น


  • ภารกิจ เปิด Mystery box :สำรวจ/สัมภาษณ์/เก็บข้อมูลหลักฐาน โดยให้ทุกคนแยกย้ายกันสำรวจชุมชน ในแต่ละซอกซอย และบันทึกเรื่องราวที่เจอ ประเด็นที่น่าสนใจ หลังจากนั้นแชร์ประสบการณ์/เรื่องเล่าที่เจอ ว่าประเด็นไหนน่าสนใจหรือสงสัยหรืออยากรู้ต่อ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม


ในขั้นนี้นักเรียนจะวางเป้าหมาย/วางแผนการเรียนรู้ของทีมตนเอง ซึ่งอาจจะเป็น วิถีชีวิต อาชีพของคนในชุมชน ร้านขายของชำ พิธีกรรม วัฒนธรรมพื้นถิ่น เป็นต้น


ขั้นต่อไปเป็นขั้นการรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เช่น การสัมภาษณ์บุคคลในชุมชน การสืบค้นบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ เก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวที่น่าสนใจ

ซึ่งในขั้นนี้นักเรียนต้องใช้ทักษะของการประเมินคุณค่าจากสิ่งที่ตนเองคนพบ อาจเป็นคำบอกเล่า ตำนาน เช่น ตำนานคุ้งน้ำท้องมังกร มีอยู่จริงไหมเมื่อไปสอบถามจากคนเฒ่าคนแก่พบว่าเป็นเพียงคำบอกเล่าที่บอกต่อกันมาจนกลายเป็นความเชื่อ ทั้งที่จริงแล้วไม่มีอยู่จริง เป็นต้น


การวิเคราะห์ข้อมูล นักเรียนกลับมาแชร์ พูดคุยถึงประเด็นที่กำหนดในกลุ่ม หากข้อมูลยังไม่พอให้เดินกลับไปสืบค้นเพิ่มเติม


ในการนี้ทุกทีมจะต้องนำข้อมูลที่ได้มาวาดเป็นแผนที่เดินเท้า หรือ แผนที่ชุมชน ต่อไป

————-

  • ภารกิจสุดท้าย เปิด Mystery box : special ให้ทุกคนแปลงกายเป็น youtuber ตามหาร้านเด็ดห้ามพลาดในย่านเก่าวังกรด


🤩ไอเดียมาจาก…

การใช้ชุมชนเป็นฐาน ฝึกการใช้ทักษะกระบวนการทางประวัติศาสตร์ (สำรวจชุมชน/สืบค้นหลักฐาน/สัมภาษณ์/สร้างแผนที่เดินเท้าหรือแผนที่ชุมชน)


การใช้เส้นทางคมนาคมทางบก เป็นสื่อเชื่อมให้เกิดความตื่นเต้น และลงสัมผัสกับวิถีชีวิตชุมชนย่านเก่าริมทางรถไฟ ถือว่า เป็นการคมนาคมในอดีตที่สำคัญ เมื่อมีการตัดผ่านเส้นทางรถไฟในพิจิตร ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้า วิถีชีวิตของคนในชุมชน พร้อมทั้งการประกาศ “ชุมชนย่านเก่าวังกรดเป็นมรดกจังหวัดพิจิตร”


ทั้งนี้เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรียนรู้วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมผ่านประสบการณ์จริงยึดโยงกับบริบทของชุมชนย่านเก่า


สิ่งที่เป็นอุปสรรค คือ แดด 5555


ฟีดเบรค …ทุกคนตื่นตัวในการออกนอกสถานที่ (หลังจากช่วงโควิดที่ยาวนาน) รอคอยการเรียนรู้ในแต่ละ past ในการเปิด Mystery box ทำภารกิจเกินคาดเดา ทุกคนวางแผนเป็นทีมเพื่อทำภารกิจให้เสร็จทันเวลา และเก็บข้อมูลหรือประเด็นที่เราเองยังไม่เคยพบ การเจอบุคคลในชมชนที่มีน้ำใจและให้ความช่วยเหลือให้ข้อมูลกับเด็กๆ ในการทำภาจกิจสุดท้ายเด็กๆได้ Relax

เป็นมุมของตัวเองตามวัยของเขา ทุกคนเต็มที่และเห็นถึงความตั้งใจ ซึ่งท้ายกิจกรรมมีการสรุปและเลือกกล่องของรางวัลให้เพื่อนกลุ่มอื่น สุดท้ายของในกล่องเป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชนของจังหวัด ที่แต่ละทีมต้องออกแบบไอเดียต่อยอดเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรม


#เรียนประวัติศาสตร์byครูชุ

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(2)