icon
giftClose
profile

การ์ดเกม ชุด “ผีไพร่ฟันขาวกับชาวอโยธยา”

32453
ภาพประกอบไอเดีย การ์ดเกม ชุด “ผีไพร่ฟันขาวกับชาวอโยธยา”

กิจกรรมการสอนเรื่อง "ความสัมพันธ์ของคนในสังคมกรุงศรีอยุธยา" ผ่านการ์ดเกม ชุด “ผีไพร่ฟันขาวกับชาวอโยธยา”

• กิจกรรมการสอนเรื่อง “สังคมและผู้คนในสมัยอยุธยา” ผ่านการ์ดเกม ชุด “ผีไพร่ฟันขาวกับชาวอโยธยา”


กลไกและระบบของเกมได้แรงบัลดาลใจ(ก๊อป)มาจาก “แวร์วูฟ” ครับ โดยใช้สอนเด็กๆ ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น “ผู้ปกครอง และ ผู้ถูกปกครอง” หรือ ”มูลนาย-ไพร่” ในอยุธยา


• ไอเดียได้แรงบัลดาลใจจากความเชื่อที่ว่า “ฟันดำเป็นคน ฟันขาวเป็นผี” หยิบเอาตรงนี้มาสร้างสตอรี่ ว่าในกรุงศรีอยุธยานั้นมีข่าวลือการออกไล่ฆ่าคนของ “ผีไพร่ฟันขาว” ที่อาละวาด เอาชีวิต มูลนายและไพร่ในสังกัดมูลนาย


• ที่นี้ระบบของเกม คือการแจกบทบาทให้กับนักเรียน ผ่านการ์ดเกม ซึ่งแต่ละบทจะมีสกิลที่ต่างกันไป … ระบบคือแวร์วูฟนั้นแหละครับ

> ผีไพร่ฟันขาว = ในตอนกลางคืนเลือกฆ่า 1 คน

> มูลนาย = เลือกไพร่หรือคนอื่นในเกมไปทำงาน คนๆ นั้นจะไม่ถูกผีฆ่า

> พระ = เลือกตรวจดูในตอนกลางคืนว่าใครเป็นผี

> ไพร่ = ไม่มีสกิลพอเศษอะไร


ก่อนเริ่มเกม ... ครูชวนนักเรียนพูดคุยถึง "สังคมและคนในยุคหรืออาณาจักรกรุงศีรอยุธยา" โดยให้แลกเปลี่ยนนำเสนอจากสื่อที่เคยดู เช่นละคร ภาพยนตร์ ก่อนนำเข้าสู่กิจกรรมการเล่นเกม


ครูสุ่มแจกการ์ด ... ให้นักเรียน อาจจะสุ่มตัวแทนมา 8 คน หรือแล้วแต่บริบทและความเหมาะสมของห้องเรียน


ระบบของเกม การแพ้ชนะ ... ง่ายๆ คือแวร์วูฟเลยครับ ฝ่ายผีจะชนะเมื่อฆ่าคนได้ (จะกำหนดให้ต้องฆ่าจนเกือนบหมดหรือยังไงก็ตามบริบทเวลาอีกที) ฝ่ายคน (มูลนาย ไพร่ พระ) จะชนะก็เมื่อโหวตและหาผีเจอ โดยเล่นเป็นช่วงกลางคืน ให้หลับตาแล้วทำแอคชั่น ส่วนช่วงกลางวันคือการประกาศและรันเกม ว่าใครตายไม่ตาย จะโหวตไม่โหวต


เมื่อเล่นจบครูจึงชวนนักเรียนคุยและตั้งคำถาม เช่น

- สกิลที่ มูลนายเรียกไพร่ไปทำงาน ในความเป็นจริง มูลนายกับไพร่มีความสัมพันธ์อย่างไรในสังคมอยุธยา

- สกิลของพระที่เป็นการตรวจหาผีในช่วงกลางคืนและให้ข้อมูลคนอื่นในตอนกลางวัน เป็นการเปรียบว่าพระในสังคมอยุธยาน่าจะมีบทบาทอย่างไร

ส่วนประเด็นอื่นๆ ก็เป็นหน้าที่ที่ครูจะอธิบายต่อยอดตามเนื้อหาต่อไป



จุดเด่น > การแปลงเนื้อหาเป็นเกมและให้เด็กเล่นไปตามบทบาทและลองตีความตามสกิลหรือแอคชั่นของเกมจะทำให้เด็กจดจำและเห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนที่เป็น มูลนาย - ไพร่ และพระ ในสังคมอยุธยา ได้ง่ายเมื่อเขานึกถึง สกิลของแต่ละบทที่เด็กๆ ได้เล่นผ่านเกม


จุดที่ต้องพัฒนาต่อไป > สกิล ของตัวละครในเกมอาจจะตัองพัฒนาให้ชัดและสะท้อนซึ่งบทบาท ความสัมพันธ์มากขึ้น เพราะการสรุปและอธิบายในช่วงท้าย เวลาอาจน้อยหรือความสนใจของเด็กอาจหลุดไปตอนเล่นเกมไปแล้ว


สรุปแล้วใช้สอนจริง เด็กๆ ได้ความบันเทิงและจับใจความประเด็นเนื้อหาได้ดีแต่ก็มีจุดที่ต้องพัฒนากันต่อ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้นำมาใช้สร้างความบันเทิงให้กับวิชาประวัติศาสตร์ไทยได้ดีเลย


ขอบคุณไอเดียและแรงบัลดาลใจจาก ..

- บอร์ดเกมแวร์วูฟ

- หนังสือ มนุษย์อยุธยา ของ สำนักพิมพ์ มติชน


ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 2

ชื่อไฟล์​: 290752173_10209941667335432_5264323665062687176_n.jpg

ดาวน์โหลดแล้ว 189 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(18)
เก็บไว้อ่าน
(8)