inskru
gift-close

เครื่องวัดอารมณ์ (Mood Meter)

2
2
ภาพประกอบไอเดีย เครื่องวัดอารมณ์ (Mood Meter)

เครื่องวัดอารมณ์จะช่วยให้ครูและนักเรียนรู้เข้าใจอารมร์ความรู้สึกของตนเอง ณ ขณะนั้นๆ และเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ทันท่วงที

เครื่องวัดอารมณ์ (Mood Meter)

เครื่องวัดอารมณ์จะช่วยให้ครูและนักเรียนรู้เข้าใจอารมร์ความรู้สึกของตนเอง ณ ขณะนั้นๆ และเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ทันท่วงที

---

กิจกรรม: การสังเกตอารมณ์ผ่านเครื่องมือ เครื่องวัดอารมณ์ (Mood Meter)

จุดประสงค์:

  1. เพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันตนเอง (Self-awareness)
  2. เพื่อให้รู้คำที่ใช้ระบุอารมณ์ ทำให้บอกความรู้สึก หรืออารมณ์ได้ชัดเจนขึ้น

---

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

  1. ครูเริ่มต้นโดยการอธิบายความสำคัญของการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง ว่ามีประโยชน์อย่างไร และมีความสำคัญต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร
  2. ครูอธิบาย เครื่องวัดอารมณ์ (Mood Meter) ที่ประกอบไปด้วย 2 แกน คือ แกนพลังงาน (Energy) และแกนความพอใจ (Pleasantness) โดยยิ่งเลขมากหมายความว่ามีพลังงานมากหรือมีความพอใจมาก ส่วนเลขที่น้อยหรือติดลบ คือมีระดับพลังงานน้อยหรือความพอใจน้อยมาก / พร้อมแจก เครื่องมือวัดอารมณ์ตามไฟล์ moodmeter_student.png
  3. ครูอธิบายตัวเองของสถานการณ์และอารมณ์แต่ละสี โดยดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ตามไฟล์ moodmeter_teacher.png โดยพยายามยกตัวอย่างให้เห็นภาพและอธิบายความหมายของแต่ละคำอย่างละเอียดเพื่อที่นักเรียนจะได้เข้าใจความหมายของแต่ละคำ และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
  4. ตัวอย่างของระดับพลังงาน
  5. คิดถึงเมื่อเช้าตอนตื่นนอน แล้วรู้สึกตื่นเต้น มีพลังงานอยากจะไปทำงาน แสดงว่าค่าพลังงานก็จะเป็น +
  6. แต่ถ้าเมื่อเช้าพอตื่นนอน รู้สึกหมดแรง นอนไม่พอ อยากนอนต่อ แสดงว่าค่าพลังงานก็จะเป็น -
  7. ตัวอย่างของระดับความพอใจ
  8. ความรู้สึกตอนไปโรงเรียนแล้วได้คุยกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน แสดงว่าความพอใจก็จะเป็น +
  9. ความรู้สึกตอนปิดเทอมแล้วต้องอยู่บ้านไม่ได้เจอเพื่อน ความพอใจก็จะเป็น -
  10. อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสังเกตอารมณ์ เช่น ดูอัตราการเต้นของหัวใจ ถ้าเต้นเร็วแสดงว่าพลังงานสูง เต้นช้าหรืออัตราปกติแสดงว่าระดับพลังงานต่ำ
  11. พยายามส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักเท่าทันอารมณ์ของตนเอง โดยไม่ต้องรู้สึกผิดหรือกังวงหากครั้งแรกยังไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากเป็นทักษะที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน รวมไปถึงการรู้สึกในอารมณ์ในแง่ลบก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ดีเสมอไป เพียงแค่ต้องตระหนักถึงสาเหตุของอารมณ์นั้นๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และหากเกิดขึ้นแล้วควรรับมืออย่างไร หรือจัดการกับความรู้สึกนั้นอย่างไร

---

ที่มา:ส่วนหนึ่งของคอร์ส Managing Emotions in Times of Uncertainty & Stress โดย Yale University (Week 2)

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    แนะแนวกิจกรรมเสริมกิจกรรมในโรงเรียนเกมและกิจกรรมประถมมัธยมต้นมัธยมปลายอาชีวะกศน.ทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    2
    ได้แรงบันดาลใจ
    2
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    knot

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ