เครื่องเคาะสัญญาณเวลา (Ticker Timer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการหาอัตราเร็วของวัตถุในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยทั่วไปเครื่องเคาะสัญญาเวลาจะเคาะด้วยความถี่ตามความถี่ของระบบไฟฟ้ากระแสสลับในประเทศนั้นๆ (สำหรับประเทศไทย 50 Hz เครื่องเคาะสัญญาญเวลาก็จะเคาะด้วยความถี่ 50 ครั้ง/วินาที) ทำให้เกิดจุดบนแถบกระดาษที่นำไปติดกับวัตุที่กำลังเคลื่อนที่
ในหนังสือและคู่มือวิชาฟิสิกส์ก็จะมีการทดลองนี้ปรากฏโดยปกติ แน่นอนว่าในการทดลองชั้นเรียนปกติ ย่อมไม่มีปัญหามากนัก (จะมีก็แต่อุปกรณ์ไม่พอ เพราะชำรุดตามกาลเวลา) แต่ในปีการศึกษา 2564 เราทำการทดลองที่โรงเรียนไม่ได้ ครูปอนด์จึงเสาะหาว่าพอจะมีการทดลองเสมือนแบบออนไลน์บ้างไหม จนไปเจอ https://javalab.org/en/ticker_timer_en/ ซึ่ง โอ้โห ใช่เลย ก็เลยได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมา โดยมีวิธีใช้งานเบื้องต้นตามรูปต่อไปนี้เลยครับ
บรรยากาศการจัดการเรียนการสอน จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ซึ่งใน Google Meet ที่ทางโรงเรียนใช้ ได้ซื้อเพิ่ม เลยมีแบ่งห้องประชุมย่อยได้ครับ
โดยเริ่มต้นก็แนะนำวิดีโอก่อน ของ InkLab ของเขาดีครับ เข้าใจง่าย ทุกวันนี้ก็ให้นักเรียนไปศึกษาก่อนเข้าชั้นเรียนมาก่อนด้วยครับ https://www.youtube.com/watch?v=jMh0Q88zMEE
แนะนำกิจกรรม
จากนั้นก็แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมแบบออนไลน์ ครูปอนด์ก็นั่งเฝ้า แวะเข้าห้องประชุมย่อยต่าง ๆ ก็ใช้เวลาพอสมควรเลยครับ แต่ก็พอไหว อันนี้เป็นตัวอย่างผลงานของนักเรียนครับ ก็จะมีปันทึกวิดีโอการประชุมกลุ่มย่อย และผลการคำนวณครับ
อันนี้ต่างจากเพื่อนครับ ทำเป็น Google slide มาเลย
ซึ่งจากการนำไปใช้จัดกิจกรรมกับนักเรียน ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่งครับ เพราะผลการทดลองในโปรแกรม แน่นอนว่าค่อนข้างตรงตัว แต่สิ่งที่นักเรียนจะขาดไปคือ การเรียนรู้จากความผิดพลาด และความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ เมื่อทำการทดลองจริง แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำการทดลองเพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์การเรียนรู้ครับ
แต่สิ่งที่เกิดกับนักเรียนแบบชัด ๆ เลยคือ ทักษะดิจิทัลและการใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ครับ หวังว่าไอเดียการสอนนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนครูบ้างนะครับ.
ครั้งต่อไป คงจะได้แชร์ไอเดียสำหรับความคลาดเคลื่อนที่มักเกิดกับการทดลองเครื่องเคาะสัญญาณเวลาแบบ OnSite ที่โรงเรียนให้ทราบกันครับ
ดาวน์โหลดใบกิจกรรมการทดลอง เรื่อง เครื่องเคาะสัญญาณเวลา แบบ OnLine ได้นะครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!