จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัด มาตรฐาน ว 2.1 ม.2/6 ผู้จัดทำเห็นว่าเป็นเนื้อหาส่วนที่สำคัญ ซึ่งเป็นการสรุปหน่วยการเรียนรู้เรื่องสารละลายและความเข้มข้นมีความสำคัญอย่างไร “ทำไมต้องเรียน เรียนแล้วเอาไปใช้อะไร”
แต่ทว่าเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ดังกล่าว ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการกล่าวถึงเนื้อหาส่วนนี้น้อยมาก (เพียง 1 หน้า จาก 48 หน้า) และไม่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียน
ดังนั้น ผู้จัดทำจึงสร้างนวัตกรรมเพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของเนื้อหาที่ได้เรียน สามารถใช้ความรู้แก้ปัญหาที่พบจริงในชีวิตประจำวัน
1. บอกความเข้มข้นของสารละลายโดยประมาณ จากการสังเกตและเปรียบเทียบกับแถบสีมาตรฐาน
2. ประยุกต์ใช้ความรู้ เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
3. ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้ เรื่อง ความเข้มข้นของสารไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมต่าง ๆ เป็นการเชื่อมโยงความรู้ เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย และการนำไปใช้ประโยชน์ตามบริบทของท้องถิ่น ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 4 กิจกรรม ดังนี้
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้นักเรียนใช้การสังเกตในการเรียงลำดับความเข้มข้นของสารละลาย โดยมีสารตัวอย่าง คือ คอปเปอร์(II)ซัลเฟต สารละลายแอลกอฮอล์ และสารละลายน้ำแป้งสุก
ขั้นตอนการทำกิจกรรม :
1. ตอบคำถามเกี่ยวกับการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส
2. ทดลองเรียงลำดับความเข้มข้น โดยการสังเกต
3. ตอบคำถามสรุปกิจกรรม ชี้ให้เห็นประโยชน์จากสีของสารละลาย
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้นักเรียนใช้แถบสีมาตรฐานวัดความเข้มข้นของสารละลายได้
ขั้นตอนการทำกิจกรรม :
1. ตอบคำถามเปิดประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสีของสารละลายความเข้มข้น
2. ทดลองการวัดความเข้มข้น โดยใช้แถบสีมาตรฐาน
3. ตอบคำถามสรุปผลการทดลอง
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้นักเรียนสังเกตความเข้มข้นของสารละลายไม่มีสี โดยการย้อมสีสารละลาย
ขั้นตอนการทำกิจกรรม :
1. ตอบคำถามเปิดประเด็นเกี่ยวกับการฟอกสีให้สารละลาย
2. ทดลองเรียงลำดับสารละลายน้ำแป้งสุก หลังย้อมสีด้วยไอโอดีน
3. ตอบคำถามสรุปผลการทดลอง
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลายในชีวิตประจำวัน
ขั้นตอนการทำกิจกรรม :
1. เรียนรู้ความสำคัญของความเข้มข้นของแร่ธาตุในน้ำ
2. บันทึกผลตรวจสอบความเข้มข้นแร่ธาตุในน้ำ
3. ตอบคำถามสรุปผลการทดลอง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!