inskru
gift-close

👋 ไอเดียการจัดการชั้นเรียนง่าย ๆ ด้วยสัญญาณมือ

0
0
ภาพประกอบไอเดีย 👋 ไอเดียการจัดการชั้นเรียนง่าย ๆ ด้วยสัญญาณมือ

เมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องเรียน หลายครั้งจะเกิดปัญหาที่นักเรียน “แย่งกันพูด” “ไม่มีใครฟังกัน” หรือ “พูดขัดจังหวะกัน” ชวนคุณครูมากำหนดสัญญาณมือร่วมกับนักเรียน เพื่อทำให้บทสนทนาและกิจกรรมลื่นไหลมากขึ้น มาลองใช้สัญญาณมือในรูปแบบต่าง ๆ กันเถอะ!

 สัญญาณมือที่ 1 : “ฉันเห็นด้วย”

-ยกนิ้วก้อยขึ้นฟ้าและยกนิ้วโป้งตั้งฉาก-

ใช้แสดงความคิดเห็นขณะที่มีผู้พูดในห้องเรียน

เช่น แสดงความคิดเห็นหรือนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ทำสัญญาณมือเพื่อเป็นการสนับสนุนความคิดของผู้พูด


 สัญญาณมือที่ 2 : “ฉันไม่เห็นด้วย”

-กำมือแล้วยกนิ้วชี้ข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมา-

เมื่อได้ฟังข้อคิดเห็นหรือข้อแลกเปลี่ยนในห้องเรียน

และตนเองรู้สึกไม่เห็นด้วยกับความเห็นที่ได้รับฟัง

ทำสัญญาณเพื่อแสดงจุดยืนของตนเองว่าไม่เห็นด้วย

เมื่อเกิดสัญญาณมือดังกล่าวขึ้น ให้คุณครูลองเปิดพื้นที่

ให้นักเรียนที่ไม่เห็นด้วยได้ลองแสดงความคิดเห็นของตนเอง

เพื่อเป็นสร้างการเรียนรู้ในมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น


 สัญญาณมือที่ 3 : “ขอพัก 5 นาที”

-กำมือแล้วชูนิ้วโป้งข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมา-

โดยธรรมชาติแล้ว ความสามารถในการจดจ่อของนักเรียนนั้น

จะมีสมาธิอยู่กับการเรียนได้อย่างต่อเนื่องเพียง 25-30 นาที

ลองใช้สัญญาณมือนี้ในช่วงเวลาที่นักเรียนรู้สึกเหนื่อยล้า

ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับบทเรียนได้ อยากขอเวลาเพื่อพักเบรก

หรือคุณครูเองก็สามารถใช้สัญญาณมือได้เหมือนกันนะ!


 สัญญาณมือที่ 4 : “มีข้อสงสัย”

-ทำมือเป็นกำปั้นสองข้างแล้ววางซ้อนกัน-

ในระหว่างที่มีคนนำเสนอความคิดในห้องเรียน

การพูดหรือถามขึ้นมาในขณะที่เพื่อนกำลังพูดนั้น

อาจจะทำให้ผู้พูดต้องหยุดชะงักและเสียสมาธิได้

ลองใช้สัญญาณมือเพื่อแสดงให้ผู้พูดได้รับรู้

ว่าตนเองมีข้อสงสัยและอยากอภิปรายเพิ่มเติม

ทำให้ผู้ที่กำลังพูด สามารถควบคุมจังหวะการนำเสนอ

และบริหารเวลาสำหรับการคลายข้อสงสัยของเราได้


 สัญญาณมือที่ 5 : “ตรงนี้คือส่วนสำคัญ”

-ชูนิ้วชี้และนิ้วกลางทั้งสองข้างขึ้นมา-

สำหรับคุณครูที่อยากเน้นย้ำให้กับนักเรียน

ว่าเนื้อหาที่กำลังจะพูดนั้นเป็นส่วนที่สำคัญ

เช่น เป็นหัวใจสำคัญของเนื้อหาในบทเรียนนั้น

หรือเป็นส่วนสำคัญที่คุณครูจะนำไปออกข้อสอบ


 สัญญาณมือที่ 6 : “มีเพื่อนสงสัย มาฟังกันก่อน”

-กำมือแล้วชูนิ้วก้อยข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมา-

สำหรับคุณครูที่เห็นนักเรียนเกิดข้อสงสัย

แล้วใช้สัญญาณมือที่ 4 ด้วยการซ้อนกำปั้นสองข้าง

ทำสัญญาณมือเพื่อให้นักเรียนทราบว่าคุณครูรับรู้แล้ว

และหาจังหวะหยุดพัก เพื่อตอบข้อสงสัยของนักเรียน


นอกจากตัวอย่างสัญญาณมือที่ได้กล่าวไปข้างต้น

คุณครูสามารถออกแบบสัญญาณมือได้ด้วยตัวเอง

ด้วยการพูดคุยและกำหนดสัญญาณมือร่วมกับนักเรียน

การจัดการชั้นเรียนก็จะเป็นเรื่องสนุกขึ้นมาทันที!


เรียบเรียงจากบทความ

Using Hand Signals for More Equitable Discussions

https://www.edutopia.org/.../using-hand-signals-more...


 จัดการชั้นเรียนให้เป็นไปอย่างที่ครูคาดหวัง

ด้วย Buddy Kru เพื่อนซี้ที่รู้ใจคุณครู พัฒนาโดยทีมงาน insKru

ลงชื่อแสดงความสนใจใช้งานได้แล้ววันนี้

คลิก https://forms.gle/6WXQZZLefdAiJqBf8

inspotlightinsKruพื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ