สวัสดีค่ะ คุณครูทุกคน
วันนี้นีทอยากจะชวนคุณครูทุกคนมา สุ่มเปิดโหล “พฤติกรรมของเด็ก ๆ” ครั้งที่ 3 กัน หากทุกคนพร้อมกันแล้ว มาเราสุ่มเปิดโหลพฤติกรรมที่เราจะใช้พูดคุยกันในวันนี้เลยนะคะ
สาม! สอง! หนึ่ง! พฤติกรรมของเด็กในวันนี้คือ!
นักเรียนคนที่ 1
“เป็นเด็กที่ชอบวิชาวิทยาศาสตร์มาก เข้าร่วมทุกกิจกรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นเด็กที่ตั้งใจเรียนมาก แต่พอเป็นวิชาสังคมทีไร กลับกลายเป็นคนละแบบ จะไม่ตั้งใจเรียน หลับบ้าง เป็นต้น”
นักเรียนคนที่ 2
“เป็นนักเรียนที่ไม่กล้าลองอะไรใหม่ ๆ เลย เวลาที่มีวิชาโครงงาน นักเรียนคนนี้มักจะไปค้นข้อมูลโครงงานต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นแล้วทำตาม แบบเหมือนเป๊ะ ๆ”
นักเรียนคนที่ 3
“เธอเป็นเจ้าแม่ซีรีส์มาก ๆ พร้อมอัพเดททุกซีรีส์มาใหม่ของทุกสัญชาติ จำได้ทุกฉาก แม้กระทั่งคำพูดก็ยังจำได้ว่าใครพูด และเป็นเจ้าแม่ TikTok รีวิวซีรีส์ใหม่ ๆ ด้วย ถ้าตั้งใจเรียนได้แบบที่ติดซีรีส์ได้ก็คงดี”
และนี่คือพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่เราจะนำมาพูดคุยกันนะคะ โดยนีทอยากจะให้คุณครูมาช่วยนีทคิดค่ะว่า พฤติกรรมทั้ง 3 อย่างนี้ มีอะไรที่คล้ายกันไหมคะ เช่น เป็นเด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน ? เป็นปัญหาเฉพาะกลุ่มแน่ ๆ เลย?
ก่อนเฉลย!
นีทอยากจะชวนคุณครูมองเพิ่มเติมอีกสักนิดนึงว่า บางพฤติกรรมในการสุ่มเปิดโหลครั้งที่ 3 อาจจะไม่ใช่พฤติกรรมที่น่าปวดหัวก็ได้นะ เช่น ในพฤติกรรมของนักเรียนคนที่ 3 นีทมองว่า ถึงแม้ว่านักเรียนจะเป็นคนที่ติดซีรีส์มาก (ความชอบส่วนตัว) แต่ถ้าเขาแบ่งเวลาเรียนได้ดี นีทว่า “เขาก็โอเคเลยนะคะ”
ได้เวลาเฉลย!
จุดร่วมของพฤติกรรมคือ “การเปิดใจเพื่อเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่”
โดยเราจะเห็นเลยว่า นักเรียนคนที่ 1 นั้น เขาจะเปิดใจให้เฉพาะกับวิชาที่เขาชอบเท่านั้น” นักเรียนคนที่ 2 เขาอาจจะยังไม่กล้าลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ แต่นักเรียนคนที่ 3 นี้ เขาเปิดใจรับทุกซีรีย์ที่เข้ามา ไม่ว่าจะของสัญชาติใดก็ตาม ซึ่งการเปิดใจนี้ตรงกับคำว่า “Open-mindedness” ที่หมายถึง “การที่คนเราอยากเรียนรู้ มีความสงสัย และอยากสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาตนเอง” (Primi และคณะ 2016) ซึ่งถือว่า เป็นหนึ่งข้อที่สำคัญของ "ทักษะทางอารมณ์และสังคม (Social-Emotional Skills)"
ในงานวิจัยของ Valdivia, Primi, John, Santos, และ De Fruyt (2021) ได้ทำการศึกษาเรื่องทักษะทางอารมณ์และสังคม แล้วพวกเขาได้พูดไว้ว่า การเปิดใจเพื่อเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ที่พวกเขามองนั้น มีด้วยกันอยู่ทั้งหมด 3 หัวข้อ คือ
แล้วเราจะทำอย่างไรให้นักเรียนของเราสามารถเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้ละ?
นีทเชื่อว่า หากเราแชร์หรือแบ่งปันความรู้ เราจะรู้มากขึ้น หากเราแชร์ เราจะเจอเพื่อนร่วมอุดมการณ์มากขึ้น ดังนั้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่อยากจะชวนคุณครูและเด็กนักเรียนในห้องมาแชร์กันสั้น ๆ ถึงเรื่องราวความอิน กิจกรรมสุดรัก ไม่ว่าจะเป็นสายใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิชาการ หรือความเอนเตอร์เทนสุด ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายเข้าวัดเข้าวา หรืออื่น ๆ อีกมากมาย
โดยเราจะมีวิธีการเล่นกิจกรรมดังนี้
โดยนีทมองว่า กิจกรรมนี้ เป็นเสมือนการให้เด็ก ๆ ค่อยเปิดใจทำความรู้จักกับสิ่งใหม่ ๆ ที่ตนเองอาจจะยังไม่รู้จัก หรือไม่ได้อยู่ในความสนใจ (So Wow!) ผ่านการเล่าเรื่องของเพื่อน และเป็นการลองท้าทายตนเองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ตนเองชอบดู (So Love!)
ตัวอย่างเช่น
ในกิจกรรมแรก เราพูดถึงการสร้าง “การเปิดใจ” แบบภาพกว้าง ๆ ไปแล้ว นีทก็เชื่อว่า คุณครูหลาย ๆ ท่าน อาจจะกำลังคิดว่า แล้วเรามีกิจกรรมอะไรไหมนะ ที่นำมาใช้ในห้องเรียน แล้วช่วยผลักดันให้นักเรียน “เปิดใจเรียน เปิดใจสนุก” กับวิชาของเรานีทตอบเลยค่ะว่า “มีค่ะ!” โดยนีทใช้ชื่อว่า กิจกรรม “ปุจฉา” ซึ่งปุจฉานั้นแปลว่าการถาม หากคุณครูหลาย ๆ คนคิดว่า บางทีเราก็ทำอยู่แล้วนะ ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง วันนี้นีทมี 2 เทคนิดดีๆ มาฝากคุณครูเพื่อให้เราสามารถถามแบบสนุก ๆ ได้มากขึ้น
เทคนิคที่ 1 ถามแบบ “gameshow”
การถามแบบ gameshow นั้น เป็นการใส่กฎ ใส่อุปกรณ์ ใส่วิธีการแพ้ชนะ ใส่ความรู้สึกเข้าไป ใส่ตัวช่วย เพื่อทำให้คำถามที่เราจะถามเด็ก ๆ นั้น ดูน่าสนใจ น่าเล่น น่าตอบ น่าลุ้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกๆ รูปแบบของการถามคำถามเลย ไม่ว่าจะเป็น ข้อไหนถูกต้อง, เรียงลำดับเหตุการณ์ให้หน่อย, เปิดภาพทายคำ, Hangman และอื่น ๆ เช่น
สมมติว่าเราสอนวิชาสังคม เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ เราอาจจะเอาเนื้อหาต่าง ๆ มาสร้างเป็นกิจกรรมปุจฉา
คำถาม: ให้นักเรียนทั้งห้องลองคิด ลองเดามาสิว่า ประเทศอะไรอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ให้เวลา 5 นาที เริ่ม!
ในตอนที่เราเล่นเกม ก็ให้เราใส่ความ gameshow เข้าไป เช่น ถูกต้องน้าคร้าบบ, อุ้ย ๆ อันนี้ไม่ใช่, (ใส่ฟีลลิ่งหรือความรู้สึกเข้าไป) หรือใส่การใบ้เข้าไปว่า นักเรียนลืมประเทศนี้ได้ไง ประเทศที่มีนักฟุตบอลหล่อ ๆ อ่า เก่งอ่า พี่เมสซิไง ประเทศอะไร ประเทศอะไร (เด็ก ๆ ก็อาจจะตอบได้ว่า อาร์เจนตินา)
เทคนิคที่ 2 ถามแบบให้ทดลองทำ ลงมือทำ
คำถามประเภทนี้จะเป็นคำถามที่ประมาณว่า “จริงไหม เชื่อไหม อ่ะ เรามาลองกัน” โดยคำถามประมาณนี้ จะช่วยทำให้เด็กได้ลงมือทำ ได้เริ่มหาคำตอบจากการลองผิดลองถูก และมาเฉลยผ่านการเรียน โดยส่วนใหญ่ มักจะเกิดขึ้นในวิชาวิทยาศาสตร์เป็นหลัก แต่นีทเชื่อว่า จริง ๆ มันใช้ได้ทุกวิชา อาทิ “สวัสดีนักเรียน วันนี้เราจะมาพูดเรื่องอุปสงค์-อุปทาน กัน ซึ่งครูว่าเด็ก ๆ เข้าใจมันอยู่แล้ว (เด็กอาจจะทำหน้างง จากนั้นให้เราบอกว่า) ไม่เชื่อว่าลองดูกัน! แล้วเราอาจจะสมมติกิจกรรม “ประมูลสินค้า” อาจจะประมูลรูปไอดอลเกาหลี โดยตั้งโจทย์ว่า ครูมีเงินให้ทุกกลุ่ม X บาท มีภาพให้ประมูล 10 ภาพ กลุ่มไหนได้ภาพมากที่สุด จะเป็นผู้ชนะ โดยเรามีเวลาเล่นกิจกรรมนี้ 10 นาที”
โดยหลังจากที่เล่นกิจกรรมนี้เสร็จ เราก็ค่อย ๆ มาสอนเด็ก ๆ ถึงอุปสงค์และอุปทาน จากนั้น เนื้อหาใดที่เราสามารถยกตัวอย่างจากกิจกรรมที่เล่นไปเมื่อกี้มาได้ ก็ให้เรายกมา แล้วปิดท้ายว่า “จริงไหม เชื่อยัง” เป็นต้น กิจกรรมนี้จะพานักเรียนไปเรียนรู้ในสิ่งที่เขาคิดว่าเขาไม่น่าจะทำได้โดยที่เขาไม่รู้ตัว และเมื่อพอรู้ตัวอีกทีก็เข้าใจในสิ่งนั้นไปซะแล้ว
นีทมองว่า “การเปิดใจเพื่อเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่” หรือ Open-mindedness จะเป็นประตูบานแรกที่ทำให้นักเรียนสนใจในสิ่งต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่เคยรู้จัก หรือเป็นสิ่งที่รู้จักอยู่แล้ว แต่อยากรู้ให้ลึกมากขึ้น ซึ่งน่าจะช่วยทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้มากขึ้นค่ะ
อ้างอิง
Pancorbo Valdivia, G., Primi, R., John, O. P., Santos, D., & De Fruyt, F. (2021). Formative assessment of social-emotional skills using rubrics: a review of knowns and unknowns. In Frontiers in Education (Vol. 6), 1-12.
Primi, R., Santos, D., John, O. P., & Fruyt, F. D. (2016). Development of an inventory assessing social and emotional skills in Brazilian youth. European Journal of Psychological Assessment, 32(1), 5-16.
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!