icon
giftClose
profile

Smart Teaching กับการสอนการวางแผนดูแลสุขภาพ

25094

ตัวอย่างการออกแบบการสอนเพื่อให้สอดรับกับเกณฑ์การประเมิน ว PA ทั้งในเรื่องของ Smart Teaching และ Learing Outcome

Smart Teaching กับการสอนการวางแผนดูแลสุขภาพ

การพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพตามหลัก Performance Appraisal (PA) ตามที่ กคศ. ได้กำหนดตามหลักสำคัญของ Smart Teaching ใน 7 ประการ เพื่อเตรียมตัวทำคลิปวิดีโอ ได้แก่

  1. ทำอย่างไรให้เกิดความเชื่อมโยงการเรียนรู้เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
  2. ทำอย่างไรให้เด็กสร้างองค์ความรู้จากการเรียนรู้นั้นทั้งเจตคติและองค์ความรู้
  3. ออกแบบการสอนอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
  4. ทำอย่างไรที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดการพัฒนา อยากเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  5. ครูนำเด็กลงสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิด Feedback
  6. ทำอย่างไรให้นักเรียนได้พัฒนา ตั้งคำถามให้คิด สร้างบรรยากาศในห้องเรียน
  7. ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้ของตนเองให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง


การออกแบบหน่วยการเรียนรู้เรื่องการวางแผนดูแลสุขภาพ

ในการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งต้องเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา สัปดาห์ละ 1 คาบ จึงต้องทำให้ผู้สอนต้องบูรณาการการสอนเรื่อง การวางแผนดูแลสุขภาพและระบบโครงสร้างร่างกาย และกล้ามเนื้อ โดยใช้แบดมินตันเป็นกิจกรรมที่นักเรียนนำไปปฏิบัติในการเรียนวิชาพลศึกษา โดยผู้สอนได้ออกแบบดังนี้

คาบเรียนที่ 1

1.1 วัดองค์ประกอบด้านร่างกายของนักเรียน โดยใช้เครื่องวัดองค์ประกอบด้านร่างกาย ตามวิธีนี้ ประกอบด้วย

  1. ส่วนสูง
  2. น้ำหนัก
  3. ค่า BMI
  4. เปอร์เซ็นไขมันในร่างกาย
  5. เปอร์เซ็นไขมันในช่องท้อง
  6. เปอร์เซ็นกล้ามเนื้อ
  7. อายุร่างกาย
  8. อัตราเผาผลาญพลังงานขณะพัก 

ครูบันทึกผลเพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลเริ่มต้นก่อนการวางแผนการพัฒนาสุขภาพของตนเอง

1.2 ให้นักเรียนวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหา และวางแผนการดูแลสุขภาพ จากผลการทดสอบวัดองค์ประกอบด้านร่างกาย เป็นเวลา 1 เดือน จะวัดองค์ประกอบด้านร่างกายเป็นครั้งที่ 2



คาบเรียนที่ 2

2.1 ให้นักเรียนทำแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตามหลัก 3อ 2ส ก่อนเรียน

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfKE_pIdzO2RcVQU37_e-Ml0eT_B3aHxU7DZNXMID4hxyfYHQ/viewform

2.2 ครูสอนเรื่องระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ


2.2 แบ่งนักเรียนออกเป็น 10 กลุ่ม เพื่อนำเสนองานปัญหาการบาดเจ็บและวิธีสร้างเสริมความแข็งแรง ตามหัวข้อที่กำหนด ดังนี้

2.2.1 หมอนรองกระดูก

2.2.2 กล้ามเนื้อสะบัก

2.2.3 กล้ามเนื้อก้น

2.2.4 กล้ามเนื้อต้นขา

2.2.5 กล้ามเนื้อน่อง

2.2.6 ไหล่เอียง

2.2.7 หลังแอ่น ก้นงอน

2.2.8 เท้าแบน

2.2.9 กระดูกหลังคด

2.2.10 กล้ามเนื้อสะโพก


คาบที่ 3 นักเรียนนำเสนองานตามหน้าที่ของตนเองที่ตนเองเลือกตามความสามารถ โดยใช้ภาพของนักเรียนในกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่

3.1 การนำเสนอหน้าชั้น อธิบาย สาธิต และให้เพื่อนออกกำลังกายตาม 5 นาที

3.2 การทำสไลด์ ไม่เกิน 6 สไลด์

3.3 การทำคลิปวิดีโอ ไม่เกิน 5 นาที

3.4 การทำโปสเตอร์ออนไลน์

3.5 การทำแผ่นพับออนไลน์

ชมผลลัพธ์ของนักเรียน ในห้องส่งงาน




คาบที่ 4 การนำเสนองาน จำนวน 5 กลุ่มที่เหลือ พร้อมทำใบงานวิเคราะห์โครงสร้างร่างกาย และโครงสร้างเท้า




คาบที่ 5 นักเรียนแต่ละกลุ่่มออกข้อสอบคนละ 1 ข้อ ครูคัดเลือกข้อสอบเหลือ 20 ข้อ นำมาให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

คาบที่ 6-10 เรียนแบดมินตัน

คาบที่ 11

11.1 วัดองค์ประกอบด้านร่างกายครั้งที่ 2 นักเรียนวิเคราะห์ผลการวางแผนการดูแลสุขภาพที่ผ่านมา และวางแผนการดูแลสุขภาพอีก 1 เดือน ก่อนวัดองค์ประกอบด้านร่างกายเป็นครั้งที่ 3 เพื่อเก็บคะแนนการพัฒนาสุขภาพตนเอง

11.2 ทำแบบประเมินหลังการนำเสนองาน แบบประเมิน

คาบที่ 12 - 16 เรียนแบดมินตัน

คาบที่ 17 วัดองค์ประกอบด้านร่างกายครั้งที่ 3 สรุปผลการพัฒนาเพื่อนำไปสู่วิจัยในชั้นเรียน แบบประเมิน



แบบบันทึกการวัดค่าองค์ประกอบด้านร่างกาย และ การวางแผนการดูแลสุขภาพ ในไฟล์แนบ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 2

ชื่อไฟล์​: เกณฑ์การประเมินตามการวิเคราะห์ผลจากข้อมูลองค์ประกอบร่างกาย.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 24 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(2)